ทำความเข้าใจ การศัลยกรรม ในผู้ป่วยมะเร็ง จากแพทย์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

ทำความเข้าใจ การศัลยกรรม ในผู้ป่วยมะเร็ง จากแพทย์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

ศัลยกรรม ในผู้ป่วยมะเร็ง โดยทั่วไปแล้ว คำว่า”ศัลยกรรม”หมาย ถึง การรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด ดังนั้น ศัลยกรรมในผู้ ป่วยมะเร็ง จึงหมายถึง การรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดที่ ใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นมีหลายลักษณะ แบ่งออกตามวัตถุประสงค์ของการ ผ่าตัดได้ ดังนี้

1. การผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย (Biopsy) เป็น กาตัดหรือขลิบ ชิ้นเนื้อจากก้อน เนื้องอก หรืออวัยวะที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง ส่งตรวจทางพยาธิ วิทยา เพื่อการพิสูจน์และ วินิจฉัยโรค วิธีนี้จะสามารถยืนยันได้ ว่าเนื้องอก หรืออวัยวะนั้น ๆ เป็นเนื้องอก ธรรมดา หรือ มะเร็ง การ ตัดชิ้นเนื้อ เพื่อพิสูจน์ ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
ก. ตัดชิ้นเนื้อ เพียงบางส่วน (Incisional Biopsy) วิธีนี้เลือกใช้ ในกรณีที่เนื้อ งอก มีขนาดใหญ่มากหรือเป็นกลุ่มก้อน ทั้งนี้เพื่อนำผล พิสูจน์นั้นเป็น แนวทางในการวาง แผนการรักษาต่อไป
ข. ตัดเนื้องอกออก ทั้งก้อน (Excisional Biopsy) ใช้ใน กรณีที่ก้อนเนื้อ ดังกล่าว มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถตัดออกได้ทั้งก้อนและไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียง

2. การผ่าตัดเพื่อการรักษา ใช้ใน กรณีที่ผู้ป่วย เป็นมะเร็งระยะ เริ่มแรก หรือ กรณีที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่ โดยหวังผลในการ รักษาคือ ให้ผู้ป่วยหายขาดเมื่อได้รับ การผ่าตัด 

3. การผ่าตัดแบบการรักษาแบบประคับประคอง วิธีนี้ใช้ในกรณี ที่ที่โรคลุกลาม มาก หรือกรณีที่ต้องการลดขนาดของก้อนมะเร็ง เพื่อการรักษาแบบ ผสมผสาน กับวิธีอื่น ต่อไป เช่น การฉายรังสี หรือ การให้ยาเคมี บำบัด เป็นต้น สำหรับวิธีนี้สามารถเพิ่ม คุณภาพชีวิตให้ กับผู้ป่วยโรค มะเร็งได้ คือ ลดความทุกข์ทรมานอันเกิดจากความ เจ็บปวด หรือแผลเน่าเหม็นได้