นักวิจัยอเมริกันพบว่า หากโปรตีนในรกของมารดาต่ำ อาจส่งผลต่อระบบประสาทของเด็กได้
นักวิจัยค้นพบว่า ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ มีระดับโปรตีนในรกอยู่ในระดับต่ำ หรือมีความเครียด อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางระบบประสาท หรือสาเหตุของการเกิดโรคออทิสซึ่มและโรคจิตหลอนได้
ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ออฟเพนซิลเวเนีย รัฐฟิลลาเดลเฟีย เปิดเผยว่าผู้หญิงที่เครียดในขณะกำลังตั้งครรภ์จะส่งผ่านโปรตีนพิเศษชนิดหนึ่งไปสู่ทารกในครรภ์ในระดับต่ำกว่าปกติ ซึ่งมีผลให้เกิดความผิดปกติทางพัฒนาทางสมองในทารก ระดับโปรตีนชนิดนี้ในระดับต่ำที่สุดพบในสายรกของทารกเพศชาย
เนื่องจากยีนที่ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ยีนเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะเเวดล้อมในรกที่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้นกับตัวมารดา อาหารที่มารดารับประทาน รวมถึงการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของมารดาและกิจกรรมอื่นๆ
สำหรับโรคจิตหลอนเป็นอาการทางระบบประสาทที่ผู้ป่วยสร้างมโนภาพขึ้นมาเอง ส่วนผู้ป่วยโรคออทิสซึ่มมีความผิดปกติในด้านการสื่อสารและการเข้าสังคม ทีมนักวิจัยให้เหตุผลว่ายีนตัวที่มีบทบาทในการเกิดโรคด้อยพัฒนาทางสมองอาจจะเกี่ยวข้องกับโครโมโซมเอ็กซ์ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศหญิง
ทีมนักวิจัยค้นพบว่าเกิดระดับโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโปรตีน OGT ในรกของลูกหนูตัวเมียสูงกว่าในรกของลูกหนูตัวผู้ นอกจากนี้ ระดับโปรตีนตัวนี้ยังมีระดับต่ำในรกของหนูตั้งท้องที่อยู่ในภาวะเครียดเมื่อเทียบกับหนูตั้งท้องที่ปลอดจากความเครียด
หัวหน้าทีมวิจัยไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าโปรตีนโอจีทีมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองในมนุษย์ แต่ชี้ว่าการตรวจหาระดับของโปรตีนโอจีทีในรกทารกในครรภ์อาจจะช่วยให้ระบุได้ว่าทารกคนไหนมีความเสี่ยงสูงต่อโรคออทิสซึ่มและโรคจิตหลอนที่เป็นผลสืบเนื่องจากความเครียดของมารดาขณะตั้งครรภ์ และ
Leave a Reply