นักวิจัย ศึกษา เรื่องโรคระบาดจากอูฐที่เคนยา ว่าสามารถติดต่อสู่คนได้หรือไม่
ในแถบแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งประเทศเคนยา “อูฐ” เป็นแหล่งน้ำนมของผู้อาศัยในพื้นที่แถวนั้น เนื่องจากพื้นที่แถวนั้นเป็นพื้นที่แห้งแล้ง แต่อูฐสามารถเก็บกักน้ำได้เป็นเวลาเป็นปีๆ ซึ่งปัจจุบันอูฐโหนกเดียวได้เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมาก นักวิจัยเลยได้ทำการศึกษาในเรื่องของโรคระบาด เพราะเกรงว่า การที่น้ำสัตว์ต่างถิ่นเข้าไปเลี้ยงในพื้นที่ใหม่ๆ อาจจะทำให้เกิดโรคระบาดกับสัตว์ที่มาต่างถิ่นได้
ปัจจุบมันมีชาวเคนยา และชาวแอฟริกา เป็นจำนวนมากที่ดื่มนมจากอูฐ โดยไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค นักวิจัยกล่าวว่า อูฐเป็นสัตว์ที่ผลิตน้ำนมได้แม้จะอยู่ในสภาพที่แห้งแล้ง ซึ่งต่างกับสัตว์ปศุสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่เมื่อเจออากาศที่แห้งแล้วจะเสียชีวิตลง แต่อูฐไม่ใช่
นักวิจัยที่เลือกศึกษาโรคในอูฐ ได้ทำการตรวจเช็คสุขภาพของอูฐเหล่านี้ ก็พบว่า นอกจากกจะสามารถติดต่อถึงคนผ่านการดื่มน้ำนมอูฐที่ไม่ได้รับการฆ่าเชื้อเเล้ว ยังเป็นโรคที่อาจจะเเพร่ไปสู่สัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์ของเคนยาได้ด้วยโดยเฉพาะม้าลายและช้างป่า
เชื่อว่าโรค Q fever ในอูฐจะเป็นโรคที่ต้องจับตามอง เพราะอาจทำให้คนเเละสัตว์ในพื้นที่เสี่ยงต่อโรคได้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าในขั้นต่อไป ทางทีมงานจะทำการศึกษาโรค Q fever ในแนวลึกเพื่อดูว่าโรคนี้มีผลกระทบต่อปศุสัตว์ ผู้คนและสัตว์ป่าในพื้นที่อย่างไร ผู้เชี่ยวชาญอเมริกันกล่าวปิดท้ายรายงายงานของ ผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเธอยังจะทำงานวิจัยนี้ร่วมกันกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ชาวเคนยาต่อไปเพื่อสร้างเเนวทางพื้นฐานในการดูแลอูฐให้เเข็งเเรงโดยเรียกแนวทางนี้ว่า ‘อูฐ 101’
Leave a Reply