กระดูกพรุน ภัยร้ายที่คืบคลานอย่างเงียบงัน

กระดูกพรุน ภัยร้ายที่คืบคลานอย่างเงียบงัน

ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น เพราะวิธีการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น จึงไม่ค่อยได้ใช้ร่างกายด้วย ประกอบกับที่อายุขัยของคนยุคนี้ยืนยาวขึ้นจึงพบโรคกระดูกพรุนมากตามไปด้วย โรคกระดูกพรุน ไม่ได้หมายถึงกระดูกมีรูพรุน ๆ นะคะ แต่หมายถึงมวลกระดูมีความหนาแน่นที่น้อยลง มักไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า จะทราบได้ก็คือผู้ป่วยมักกระดูกหันไปแล้ว ซึ่งก็มักจะสายเกินไปสำหรับการรักษา

สาเหตุของโรคกระดูกพรุนหลัก ๆ ก็ได้แก่
– เชื้อชาติเอเชียและคอร์เคเชี่ยน จะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุ่นได้ง่ายกว่าคนผิวดำ
– ไม่ยอมออกกำลังกาย หรือมีชีวิตที่สะดวกสบายมากเกินไป
– โรคบางชนิดที่ทำให้ขาดการเคลื่อนไหว เช่น อัมพฤกษ์อัมพาต
– ทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ
– ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนไม่สามารถรักษาให้กระดูกลับมามีสภาพเดิมได้ แต่การทานยาและการเสริมแคลเซียมช่วยให้กระดูกดีขึ้นได้ โดยยาตัวใหม่ ๆ ที่ใช้ในการรักษากระดูกพรุนก็คือยาในกลุ่ม Bisphophonate

ในส่วนของการป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้น
ในผู้หญิงจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชายถึงสี่เท่า เพราะผู้หญิงจะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วความหนาแน่นของกระดูกจึงลดลง ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปจึงควรทานแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 1 กรัม เพื่อป้องกันไว้ก่อน นอกจากนี้ยังควรออกกำลังกายด้วยการวิ่งหรือเดินลงน้ำหนักบนพื้นราบ ทานปลาทะเลและปลาที่ทอดกรอบได้ทั้งตัวเพื่อเสริมแคลเซียม รวมทั้งควบคุมน้ำหนักตัวมิให้อ้วนเกินมาตรฐาน เพราะน้ำหนักตัวที่กดทับจะยิ่งเพิ่มปัจจัยให้กระดูกพรุนได้เร็วขึ้น