ตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?!
ปัจจุบันนี้โรคซึมเศร้า เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น แต่ประชากรที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าก็ยังมักจะไม่ทราบว่าตนเองมีอาการของโรคนี้อยู่ มีมากด้วยนะคะเป็นจำนวนถึงร้อยละ 5-7 ของจำนวนประชากรเลยทีเดียว เป็นโรคร้ายแรงที่ให้ผู้ป่วยที่ไม่มากรักษาถึงกับฆ่าตัวตายได้เลยทีเดียว และส่วนหนึ่งของสาเหตุที่สำคัญก็คือมาจากพันธุกรรมด้วย คือหากในครอบครัวหรือพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย คู่แฝดเป็นโรคซึมเศร้าขึ้นมา ก็มักจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมศร้ามากกว่าคนอื่น ๆ ยิ่งถ้าเป็นคู่แฝดกันด้วยแล้ว จะมีโอกาสมากถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว
โรคซึมเศร้านี้ไม่จำเป็นว่าชีวิตต้องได้รับความทุกข์เศร้าอะไรก็ป่วยได้ บางคนชีวิตดีทุกอย่าง หน้าที่การงานดี ครอบครัวดี ลูกดี การเงินดี จู่ ๆ ก็เศร้าขึ้นมาได้ ซึ่งก็คือเกิดจากยีนหรือพันธุกรรมนี่แหล่ะ แต่ปัจจัยภายนอกก็มีผลเช่นกัน บางคนมียีนอยู่แล้วมาเจอกับมรสุมชีวิตอีกก็ยิ่งกระตุ้นให้ป่วยได้มากขึ้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นโรคนี้หรือยัง ก็ให้สังเกตจากอาการดังต่อไปนี้ หากมีอาการห้าข้อขึ้นไป ติดต่อกันนานเกินสองอาทิตย์ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว
– อารมณ์ซึมเศร้า ก้าวร้าว หงุดหงิด
– ไม่สนใจสิ่งรอบตัว
– รู้สึกไม่ค่อยมีสมาธิทำอะไร
– อ่อนเพลีย
– ทำทุกอย่างชื่องช้าไปหมด
– ทานอาหารมากขึ้นหรือทานน้อยลง
– นอนมากขึ้นหรือนอนน้อยลง
– ตำหนิตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและพบได้มากในคนที่เป็นโรคซึมเศร้า
– ฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย ก็สามารถตั้งข้อสงสัยได้ว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าด้วย
สำหรับสาว ๆ ที่มีอาการหงุดหงิดแบบนี้หรือซึมเศร้าในช่วงมีรอบเดือนนั้น หากกินระยะเวลาไม่ถึงสองสัปดาห์แล้วก็ยังไม่ถือว่าเป็นโรคซึมเศร้า แต่เป็นความซึมเศร้าหรือหงุดหงิดจากฮอร์โมน ซึ่งจะเป็นอยู่แค่ไม่กี่วันเท่านั้น
โรคนี้แม้จะร้ายแรงถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ แต่ก็รักษาได้ไม่ยากเย็นเช่นกัน หากคุณผู้อ่านสงสัยว่าตนเองจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าก็สามารถขอเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ตามคลินิกหรือโรงพยาบาลได้ ไม่ได้เป็นเรื่องน่าอายแต่อย่างใด ซึ่งบางคนใช้เวลาในการรักษาเพียงสองสัปดาห์ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้แล้ว โรคนี้ไม่ควรปล่อยไว้นาน ๆ เพราะหากอาการหนักขึ้นอาจทำอัตวินิบาตโดยไม่รู้ตัวได้ค่ะ
Leave a Reply