เดินลุยน้ำช่วงหน้าฝน ระวังโรคฉี่หนู

เดินลุยน้ำช่วงหน้าฝน ระวังโรคฉี่หนู

ในหน้าฝนของทุกปีนั้น นอกจากโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออกทั้งหลายแล้ว โรคที่ควรระวังอีกโรคหนึ่งก็คือ โรคฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรสิส นั่นเอง เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คนได้ โดยสัตว์ที่เป็นพาหะพบได้บ่อยก็คือหนูทุกชนิด โดยเชื้อโรคจะมาจากปัสสาวะของหนู แต่ก็สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นด้วยเช่น หมู วัว ควาย ม้า แกะ แพะ นก กระรอก หมา แมว ฯลฯ เมื่อสัตว์ที่มีเชื้อเหล่านี้ฉี่ลงในแหล่งน้ำที่เราไปเหยียบย่ำเข้า เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผลหรือเยื่อบุอ่อน ๆ หรือจากการกินน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน รวมไปถึงการหายใจเอาละอองเชื้อเข้าไป โรคนี้ยังไม่พบการติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อนี้ไปแล้วจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1-2 อาทิตย์ แล้วแสดงอาการสองแบบ แบบแรกก็คืออาการไม่รุนแรงนัก มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หนาวสั่น มีไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด ปวดหัวมาก มีเลือดออกที่เยื่อบุตา คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะปวดน่องสองข้าง และอาจปวดท้องและหลังด้วย สามารถรักษาให้หายได้

แต่แบบที่สองนั้นจะรุนแรงจนสามารถเสียชีวิตได้เลย จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ราว 5-15% ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตับและม้ามโต ตับวายไตวายเฉียบพลัน ตับอ่อนอักเสบรุนแรง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ระบบหายใจล้มเหลว เกิดผื่น จุดเลือดออกที่ผิวหนัง ไอมีเสมหะปน เลือดออกในทางเดินอาหาร ฯลฯ และเสียชีวิตได้ในที่สุด

หากในฤดูฝนที่จะถึงนี้ พบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ และรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว

การป้องกันโรคนี้นั้นก็ไม่ควรเดินย่ำน้ำ เดินเท้าเปล่าน้ำ หรือแช่ในน้ำที่ท่วมขัง หากจำเป็นต้องสวมรองเท้าบูทยาง หรือถุงมือยางป้องกันไว้ หากสัมผัสกับน้ำท่วมขังให้รีบอาบน้ำหรือล้างผิวด้วยสบู่ทันที หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคนี้ ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และน้ำสะอาดจากภาชนะที่มิดชิดเท่านั้น

 


Comments

One response to “เดินลุยน้ำช่วงหน้าฝน ระวังโรคฉี่หนู”

  1. Hi! Do you know if they make any plugins to assist with SEO?

    I’m trying to get my website to rank for some targeted keywords but I’m not seeing very good success.
    If you know of any please share. Thank you! You can read similar blog here: Eco bij

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *