นอกจากไข้เลือดออก ยังมีโรคชิคุนกุนยา ที่ต้องระวังในฤดูฝนด้วย

นอกจากไข้เลือดออก ยังมีโรคชิคุนกุนยา ที่ต้องระวังในฤดูฝนด้วย

ในฤดูฝนของทุกปีนั้น เรามักจะตื่นตระหนักและเฝ้าระวังแต่โรคไข้เลือดออก แต่ความจริงแล้วยังมีอีกหนึ่งโรคที่มีอาการใกล้เคียงกับไข้เลือดออกแล้วยังมียุงลายเป็นพาหะเช่นเดียวกันด้วย โรคนั้นก็โรคชิคุนกุนยานั่นเอง แม้ชื่อจะคล้ายภาษาญี่ปุ่น แต่ความจริงแล้วโรคนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา และชื่อชิคุนกุนยาก็เป็นภาษาของชาวพื้นเมืองของประเทศแทนซาเนียและโมซัมบิกแปลว่า ปวดเข้ากระดูก

โดยโรคนี้พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาในปะ 2498 และระบาดไปหลายประเทศ โดยการแพร่เชื้อจากลิงบาบูนสู่คน และคนสู่คน โดยมียุงลายเป็นพายหะของโรค เริ่มระบาดเข้ามาในทวีปเอเชียราวปีด 2506 และยังแพร่กระจายเข้าไปในปากีสถาน สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยสันนิษฐานว่ามีจากการแรงงานชาวอินเดีย ที่มาค้าแรงงานข้ามชาติ

อาการของโรคชิคุนกุนยาจะค่อนข้างคล้ายกับไข้เลือดออก คือ มีไข้สูงเฉียบพลัน มีผื่นตามตัว ตาแดง ปวดตามข้อหรือข้ออักเสบ ส่วนมากเป็นข้อเล็ก ๆ เช่น ข้อมือข้อเท้า บางคนก็ปวดมากจนขยับไม่ได้ มักจะหายไปเองใน 1-2 สัปดาห์และสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีกในป 2-3 สัปดาห์ต่อมา โดยอาการปวดจะเรื้อรังเป็นเดือน แต่ก็ไม่พบว่ามีอาการช็อกหรือรุนแรงหรือมีเลือดออกแต่อย่างใด

โรคชิคุนกุนยานี้เคยมีการระบาดมาแล้วในประเทศไทย ยังเป็นโรคที่ไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษาได้ แพทย์จะทำได้เพียงรักษาไปตามอาการเท่านั้น พบมาในฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ยุงลายเพิ่มจำนวนขึ้น การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุดก็คือการเข้าจัดการกับต้นตอของยุงลายก็คือทำลายลูกน้ำยุงลายและป้องกันการกำเนิดเสีย ด้วยปิดภาชนะใส่น้ำด้วยฝาให้มิดชิด รวมไปถึงแทงน้ำ โอ่งน้ำ ถังน้ำ หากไม่คว่ำก็ต้องปิดให้มิด จัดการแหล่งน้ำขังตามธรรมชาติ เปลี่ยนน้ำในแจกันและขารองตู้ทุกอาทิตย์หรือหยอดเกลือป้องกันยุงวางไข่ โรคนี้แม้จะไม่ถึงตายแต่ก็ทำให้ทรมานไม่น้อยเลย อาการปวดจะมากไม่แพ้กับปวดข้อโรคเกาต์หรือรูมาติซึมหรือข้ออักเสบ ซึ่งผู้ที่เคยเป็นคงจะซาบซึ้งดีว่ามันเจ็บปวดขนาดไหน


Comments

22 responses to “นอกจากไข้เลือดออก ยังมีโรคชิคุนกุนยา ที่ต้องระวังในฤดูฝนด้วย”

  1. おしろいとして粉砕し粉状にしたものが用いられる(主にフランス・ モーフィングの動物の顔の中間状態から誰の顔かを早押しで当てる。 4月8日、3月1日 – 3月31日間のサッカー欧州リーグ日本代表コンテンツの1か月の累計視聴者数が560万人を突破した。 4 芸人もストライキを始める!機密を要すると判断される書類は、三木が一読した上で暖炉で焼却された。 「医師の許可を得たから」と自己判断せず、必ず保険会社にも一報を入れましょう。

  2. 2月16日 – 京都議定書発効から10年。 5月16日 – 麻原彰晃逮捕。 6時10分頃、東京都千代田区のJR東日本山手線神田駅 – 秋葉原駅間で、架線を支える柱が倒れているのを、並走する京浜東北線の運転士が発見、撤去作業のため、9時間以上にわたり両線の運転を一部区間で見合わせ、電車715本が運休し約41万人に影響。

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *