10 สาเหตุใหญ่ ๆ ของโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุ
เมื่อคนเราก้าวเข้าสู่วัยชรานั้น ความเสื่อมโทรมก็มาเยือนเป็นเรื่องธรรมดา แม้แต่ระบบประสาทก็เป็นจุดที่สามารถเสื่อมได้ไม่แตกต่างจากอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันขึ้นได้ ส่งผลให้เกิดอาการสั่นเกร็ง และเคลื่อนไหวได้ช้า มักมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ความเสื่อมชราของสมอง เซลล์สมองที่สร้างสารโดพามีนลดจำนวนลง พบมากในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปทั้งสองเพศ เป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะแน่นอนและเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดด้วย
2. ยากล่อมประสาท หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดการสร้างสารโดพามีน พบได้ในผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องรับยาชนิดนี้เพื่อป้องกันการคลุ้มคลั่งและอาการอื่น ๆ ทางประสาท
3. ยาลดความดันโลหิตสูง ในอดีตมียาลดความดันโลหิตที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลางทำให้สมองลดการสร้างโดพามีน แต่ยาลดความดันโลหิตในระยะหลัง ๆ จะมีฤทธิ์นอกระบบประสาทส่วนกลาง จึงไม่มีผลต่อสมองที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอีกต่อไป
4. หลอดเลือดสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างโดปามีนน้อยลงหรือหมดไป
5. ประสบกับสารพิษทำลายสมอง เช่น พิษจากคอร์บอนมอนอกไซด์ หรือสารแมงกานีนในโรงงานผลิตถ่ายไฟฉาย
6. สมองขาดออกซิเจน ไม่ว่าจะเป็นการถูกบีบคอ จมน้ำ หรือการอุดตันทางเดินหายจากเสมหะหรืออาหาร
7. ศีรษะถูกกระทบกระเทือน ไม่ว่าจะเป็นจากอุบัติเหตุ หรือการเล่นกีฬา
8. สมองอักเสบ
9. โรคทางพันธุกรรมบางชนิด
10. ยาต้านกลุ่มแคลเซียมที่ใช้กับโรคหัวใจ โรคสมอง ยาแก้วิงเวียนศีรษะ ยาแก้อาเจียนบางชนิดด้วย
แต่ไม่ว่าจะสาเหตุของโรคพาร์กินสันจะเพราะข้อใด หากมีอาการขึ้นมาแล้วควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาและฟื้นฟูด้วยกายภาพบำบัด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งของผู้ป่วยและผู้ที่ดูแลใกล้ชิดด้วยนะคะ
Leave a Reply