เพื่อความปลอดภัยควรตรวจต้อหินอย่างสม่ำเสมอ
ต้อหิน หรือ Glaucoma นั้นเป็นโรคตาที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคชนิดนี้ในระยะแรก มักจะทราบตอนตาใกล้บอดแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาอาจตาบอดในที่สุด แต่จะรวดเร็วขนาดไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในแต่ละคน
โรคต้อหิน นั้นแบ่งออกได้เป็นสี่แบบได้แก่
– ต้อหินชนิดมุมปิด พบได้ราวร้อยละ 10 เกิดความผิดปกติของโครงสร้างลูกตาทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา หากเกิดเฉียบพลันจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตา ตาดง ตามอง หรือมองไปที่ดวงไฟจะเห็นเป็นวงกลมจ้ารอบดวงไฟ อาจรุนแรงจนทำให้คลื่นไส้อาเจียน หากไม่รักษาตาจะบอดอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงข้ามวัน ส่วนแบบเรื้อรังนั้นผู้ป่วยมักจะไม่ทราบและไม่มีอาการ มักปวดเล็กน้อยเป็นครั้วคราว เป็น ๆ หายๆ อยู่หลายปี รักษาโรคปวดหัวอยู่หลายปีจนไม่ทราบว่าเป็นต้อหิน
– ต้อหิน ชนิดมุมเปิด ผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดตาหรือตาแดง แต่ตาจะค่อย ๆ มัวลง อาจเปลี่ยนแปลงในระยะเป็นเดือนหรือเป็นปี หากไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาทันท่วงทีจะตาบอดในที่สุด
– ต้อหิน ชนิดแทรกซ้อน มักเกิดจากความผิดปกติอย่างอื่นของดวงตา เช่น ตาอักเสบ ต้อกระจกที่สุกมาก อุบัติเหตุต่อดวงตา หรือเนื่องจากการใช้ยาหยอดตาบางชนิด การเปลี่ยนกระจกตา หรือการผ่าตัดต้อกระจก
– ต้อหิน ในเด็กและทารก จะพบความผิดปกติตั้งแต่แรกคลอด อาจมีความผิดปกติทางร่างกายร่วมด้วย และโรคนี้มักถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาจสังเกตได้ว่าเด็กมีขนาดลูกตาที่ใหญ่กว่าปกติ กลัวแสง กระจกตาหรือส่วนของตาดำไม่ใส่จนถึงขุ่นขาว มีน้ำตาไหลมาก
– ต้อหิน ชนิดเม็ดสี เป็นต้อหินชนิดมุมเปิดที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์เช่นกัน พบมากในคนที่มีสายตาสั้นอายุตั้งแต่ 20-30 ปี
เราจึงควรสังเกตอาการของตัวเอง ว่ามีอาการดังที่กล่าวมาบ้างหรือเปล่า และควรเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ เพราะโรคต้อหินบางชนิดไม่แสดงอาการเลย จนกว่าจะถึงระยะรุนแรง เพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะดวงตาของคุณมีคู่เดียว ไม่มีอะไหล่เปลี่ยนนะคะ
Leave a Reply