วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น
ในฤดูร้อนและฤดูฝนที่บางครั้งก็มีฝนตกหนักจนน้ำท่วมนั้น เป็นระยะที่มีการระบาดของโรคท้องเดิน อาหารเป็นพิษ อหิวาห์ ไข้ไทฟอยด์ได้ ซึ่งอาการของโรคเหล่านี้ได้แก่ ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นถ่าย ถ่ายมีมูกเลือด มักปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้ร่วมด้วย ไข้ไทฟอยด์นั้นมักจะมีไข้สูงตลอดเวลานานเป็นอาทิตย์ ปวดหัวและนอนซม ซึ่งโรคติดต่อทางเดินอาหารเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วย
– ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด ไม่บูดเสีย ไม่กินอาหารที่มีกลิ่นบูด หรือทิ้งค้างคืนและอาหารที่มีแมลงวันตอม
– ให้ดื่มแต่น้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก น้ำดื่มบรรจุขวด
– หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร เตรียมอาหาร ก่อนทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ
– หากต้องติดอยู่ในที่น้ำท่วม ห้ามถ่ายอุจจาระลงน้ำ ควรถ่ายลงส้วมดัดแปลงหรือถ่ายใส่ถุงพลาสติกแล้วใส่ปูนขาวลงไปจำนวนพอสมควรแล้วปิดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปใส่ไว้ในถุงดำ หรือถุงขยะ
แต่หากมีอาการท้องเดินแล้ว ให้รักษาตัวเบื้องต้นดังต่อไปนี้
– ดื่มน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส หรือน้ำข้าวต้มใส่เกลือ น้ำอัดลมใส่เกลือ หรือจะปรุงเองโดยใช้น้ำตาลทราย สองช้อนโตะ และเกลือครึ่งช้อนชาเล็ก ดื่มบ่อย ๆ ครั้งละครึ่งแก้วให้เพียงพอกับที่ถ่ายออกไป จะสังเกตได้ว่าปัสสาวะจะมากและใส
– ให้ทานยาแก้ไข้พาราเซตามอลหากมีไข้สูง
– สำหรับเด็กเล็กนั้นให้ดื่มนมแม่ตามปกติ ถ้ากินนมผงให้ผสมนมให้จางลงครึ่งหนึ่งจากที่เคยชงจนกว่าอาการจะเริ่มทุเลา หากเป็นเด็กโตและผู้ใหญ่ให้ทานอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม งดอาหารรสจัดและย่อยยากจนกว่าอาการจะดีขึ้น
– และควรรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วนหากมีอาการดังต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดท้องมาก อาเจียนหนัก ถ่ายเป็นน้ำมากและบ่อย ๆ หน้ามืดเป็นลม ดื่มสารเกลือแร่ไม่ได้ ขาดน้ำรุนแรง ปากแห้ง คอแห้ง ตาลึก ปัสสาวะออกน้อย ใจหวิวสั่น ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด มีไข้สูงหรือมีไข้เกิน 48 ชม. ท้องเดินไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชม. หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีอหิวาต์ หรือโรคบิดระบาด รวมทั้งมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่ทำให้วิตกกังวล ควรรีบนำไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาให้ถูกวิธีค่ะ
Leave a Reply