ดวงตาที่สาม ตั้งอยู่บริเวณกลางหน้าผากหว่างคิ้วทั้งสอง

ดวงตาที่สาม ตั้งอยู่บริเวณกลางหน้าผากหว่างคิ้วทั้งสอง

บริเวณกึ่งกลางหน้าผากกลางหว่างคิ้วทั้งสองข้างนั้น ชาวอินเดียโบราณเรียกตำแหน่งนี้ว่า ตาที่สาม ของคนเรา ซึ่งหากอธิบายในด้านของการทำงานของสมองส่วนหน้าแล้ว ดวงตาที่สามจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. สมองส่วนหน้าช่วงกลางช่วยปรับสมดุลของการทำงานของร่างกาย ระหว่างประสาทซิมพาเทติก (ประสาทคันเร่ง) และประสาทพาราซิมพาเทติก (ประสาทคันเบรก) ให้สามารถทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉงแต่เป็นไปอย่างเรียบสงบ เมื่อประสาทซิมพาเทติก หรือประสาทคันเร่งทำงานมากไป จะทำให้มีแต่ความแข็งขันเคร่งเครียด หงุดหงิด โมโหง่าย หากประสาทเบรกทำงานมากไปจะเฉื่อนชา นอนไปวัน ๆ เบื่อ ซึมเศร้า

2. สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น สื่อสารทางจิตกับผู้อื่นได้ดี

3. มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ผ่านกลไกของประสาทที่ชื่อว่า เซลล์กระจกเงา หรือ มิร์เร่อ นิวร่อน ทำให้มีความรัก ความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือผู้คน

4. ควบคุมอารมณ์ไว้ไม่ทำให้เกิดความหุนหันพลันแล่น มีความนิ่ง สงบ

5. ควบคุมความกลัวอย่างไร้เหตุผลหรือมีอาการตื่นตูม

6. รู้จักยับยั้งช่างใจ คิดก่อนพูด คิดก่อนทำ

7. มีความรู้แจ้ง รู้ทันจิตใจของตนเอง เข้าใจพื้นเพความเป็นมาของตนเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็งและเป้าหมายของชีวิตตนเอง

8. มีความหยั่งรู้ความรู้สึกของตนเอง โดยเฉพาะเมื่อเครียด ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หายใจไม่ทั่วท้อง จึงรู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกตัวเอง

9. ควบคุมศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม ด้วยตนเองทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกมากขึ้น

การพัฒนาดวงตาที่สาม สามารถฝึกฝนได้ง่าย ๆ ด้วยการเจริญสติ ฝึกสมาธิเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะสารอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง นอกจากนี้การฝึกควบคุมอารมณ์ ฝึกความรู้สึกรู้ตามจริง เท่าทันอารมณ์และจิตใจตนเอง ก็จะเป็นการช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าของคุณให้เป็นผู้มีจิตใจที่ดีงามขึ้นมาได้ค่ะ