รู้ไว้ก่อนไปบริจาคเลือด
นับเป็นมหากุศลนะคะสำหรับการบริจาคโลหิต แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยไปบริจาคโลหิตเลยอยากลองไปซักครั้งของชีวิต ก็มีเรื่องต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมเหมือนกัน ทั้งก่อนและหลังการบริจาค ลองอ่านกันดูค่ะ
คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิตได้แก่
– น้ำหนักตัวตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพดีแข็งแรง พร้อมที่จะบริจาคโลหิต
– มีอายุระหว่าง 17 – 70 ปี อยู่ที่มีอายุ 17 ปีต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง หากเป็นผู้บริจาคครั้งแรกอายุต้องไม่เกิน 55 ปี
การเตรียมตัวก่อนมาบริจาคโลหิตนั้น..
– ควรนอนหลับพักผ่อนให้พออย่างน้อย 6 ชั่วโมงขึ้นไป ในคืนก่อนที่จะมาบริจาค
– มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นไข้หวัดหรืออยู่ระหว่างการทานยาแก้อักเสบใด ๆ
– ทานอาหารมื้อหลักมาก่อนบริจาค แต่ให้หลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ของทอดของหวานต่าง ๆ
– ดื่มน้ำ 3-4 แก้วและเครื่องดื่มอื่น ๆ เพิ่มไม่ว่าจะเป็น น้ำหวาน น้ำผลไม้ นม เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิต และป้องกันอาการ มึนงง อ่อนเพลีย วิงเวียนหลังบริจาคโลหิตได้
– งดดื่มเครื่องแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาคและ งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
– สวมเสื้อผ้าที่มีแขนเสื้อที่สามารถถลกขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
– หากแพ้ยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
– ทำตัวตามสบาย ไม่ต้องเกร็ง หรือวิตกกังวล ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
– ขณะบริจาคควรบีบลูกยางให้สม่ำเสมอเพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น คล้ายจะเป็นลม ชา หรือเจ็บผิดปกติ ต้องรีบแจ้งพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่บริเวณนั้นทราบทันที
– หลังบริจาคโลหิตแล้วควรนอนพักบนเตียงสักครู่ ไม่ควรลุกจากเตียงทันที เพราะอาจทำให้เวียนศีรษะเป็นลมได้ เมื่อรู้สึกดีแล้วจึงลุกไปดื่มน้ำและทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
หลังการบริจาคโลหิต
– ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ แล้วดื่มน้ำมากกว่าปกติตลอดทั้งวัน
– หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย ซาวน่า หรือกิจกรรมที่ต้องเสียเงินมาก งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมงหลังการบริจาค เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
– ไม่ควรรีบกลับ ควรนั่งพักให้แน่ใจว่าปกติ หากมีอาการวิงเวียนเหมือนจะเป็นลมหรือรู้สึกผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที
– หากมีโลหิตซึมออกมาผ้าก๊อซไม่ต้องตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกข้างกดลงบนผ้าก๊อซให้แน่นแล้วยกแขนสูงไว้ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
– ควรหยุดพักการปีนป่ายที่สูงและการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร 1 วัน
– ทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ดจนหมดเพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
Leave a Reply