มาทำความรู้จักกับโรคที่เกิดจากความร้อนกัน
ความร้อนทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้หลายแบบ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงระดับที่ทำให้เสียชีวิตได้ มีหลายโรคหลายอาการได้แก่
– ผดผื่นร้อน เกิดจากการอักเสบของท่อเหงื่อ เพราะการอุดตันจากเศษขี้ไคล ท่อเหงื่อจึงขายตัวภายใต้แรงดันจนแตกในที่สุดเกิดตุ่มแดงบนผิวหนัง มีอาการคันบรรเทาได้ด้วยยาแก้แพ้ การโรยแป้งไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนัก สามารถป้องกันผดผื่นคันได้ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่สะอาด เบาและหลวมเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เหงื่อออกมาก
– บวมจากความร้อน บวมหรือตึงบริเวณมือเท้าที่มักเกิดขึ้นภายใน 1-2 วันหลังจากสัมผัสความร้อน และลุกลามไปยังบริเวณอื่นได้อีก เช่น หน้าแข้ง ข้อเท้า เปลือกตา สามารถหายได้เองใน 1-2 วัน
– ลมแดด มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่เคยชินกับสภาพความร้อน มักจะหน้ามืด เป็นลมจนหมดสติได้ ให้รีบออกจากแหล่งความร้อน ให้ดื่มน้ำ และพักผ่อน
– ตะคริวแดด มักจะปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อน่อง ต้นขา และไหล่ได้ เกิดกับผู้ที่เสียเหงื่อเป็นจำนวนมากและได้รับการทดแทนด้วยน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีเกลือแร่ การแก้ไขให้ออกจากแหล่งความร้อนนั้น นอนพักในที่ร่มแล้วดื่มเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่เข้าไปทดแทน
– เพลียแดด มักมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน มึนงง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ แต่รู้สึกตัวตามปกติ เกิดจากการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง
อาการเจ็บป่วยจากความร้อนเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดย
– เตรียมร่างกายให้พร้อมรับความร้อนด้วยการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป
– ดื่มน้ำ 1-2 แก้วก่อนออกจากบ้านในวันที่อากาศร้อนจัด
– หากต้องอยู่ในที่ร้อน ๆ นาน ๆ ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละประมาณ 4-6 แก้ว แม้ไม่หิวน้ำเลยก็ตาม
– สวมเสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และระบายความร้อนได้ดี
– ใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 30 ขึ้นไป หลีกเลี่ยงการเชิญแดดจัดในช่วงเวลา 10.00 – 15.00 น.
– หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องออกกำลังกายหรืออยู่กลางอากาศร้อน
– หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดทุกชนิด
– เด็กและคนชราคนได้รับการอยู่อาศัยในห้องหรือสภาพแวดล้อมที่มีการระบายอากาศได้ดี อย่าให้เด็กวิ่งเล่นนานเกินไป แล้วให้ดื่มน้ำบ่อย ๆ ด้วย อย่าปล่อยให้เด็กหรือคนแก่อยู่ในรถที่ปิดตายเด็ดขาดด้วยนะคะ
Leave a Reply