4 เคล็ดลับป้องกันการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
แก๊สที่อยู่ในกระเพาะหรือทางเดินอาหารของเรานั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการที่เรากลืนลงท้องไปนั่นเอง อาจจะติดตามไปกับการกลืนอาหาร กลืนน้ำ กลืนน้ำลาย และอีกส่วนก็คือการเกิดแก๊สในร่างกายจากย่อยอาหารในลำไส้ เช่น พวกนมหรือถั่วเป็นต้น การระบายแก๊สในกระเพาะส่วนมากก็จะเป็นการเรอออกมา หากเป็นแก๊สในลำไส้นั้นสามารถซึมผ่านผนังลำไส้ใหญ่ได้ แต่หากดูดซึมไม่ทันก็อาจเกิดสิ่งที่เรียกว่า การผายลมออกมาได้
การผายลมและการอุจจาระนั้นต้องนับว่าเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเป็นการระบายของเสียออกจากร่างกายด้วยการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ เพียงแต่การผายลมจะเป็นแก๊ส หากไม่มีการผายลม แก๊สก็จะสะสมอยู่ในทางเดินอาหารจนรู้สึกอึดอัด ปวดมวนแน่นท้อง ทำให้ท้องอืดขึ้นจึงควรป้องกันปัญหาเหล่านี้โดย
– เวลาทานอาหารให้เคี้ยวให้ละเอียดที่สุด เพื่อให้อาหารถูกย่อยได้ง่ายขึ้น ไม่ควรพูดคุยมากเกินไปเพราะจะทำให้อากาศเข้าสู่ทางเดินอาหารมากเกินไปด้วย
– หลีกเลี่ยงการอมลูกอม สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมเคี้ยวหมากฝรั่ง เพราะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้
– กินอาหารที่หลากหลาย และให้ครบหมู่ จะทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น ไม่ควรกินเนื้อสัตว์มากไปเพราะจะเกิดการหมักหมมและเกิดแก๊สมากขึ้น รวมไปถึงถั่วชนิดต่าง ๆ กะหล่ำปลี ดอกกะล่ำ ขนมปังสด กาแฟ ช็อกโกแลต แตงกวา ของทอด นม ก็ทำให้เกิดแก๊สได้มากเช่น การ ดื่มนมโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวจะช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ลดการเกิดแก๊สได้
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้น ช่วยขับลมด้วย ซึ่งจะออกมาทั้งในรูปแบบของการเรอและการผายลมนั่นเอง
ผู้ที่มักมีปัญหาอึดอัดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ บ่อย ๆ อาจเป็นภาวะบ่งชี้ถึงโรคทางเดินอาหารต่าง ๆ ได้ หากมีอาการเพิ่มเติมได้แก่ น้ำหนักลดมากผิดปกติ อ่อนเพลีย ซีด ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ ควรรีบพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาจะดีกว่านะคะ
Leave a Reply