แนวทางในการมีสุขภาพจิตดีที่
คนที่มีสุขภาพจิตที่ดีนั้น คือคนที่มีความสุขได้ในทุกสถานการณ์ สามารถปรับตัวรับมือกับเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ดีหรือร้าย ซึ่งการมีสุขภาพจิตที่ดีได้นั้นก็มีแนวทางดังต่อไปนี้
1. สร้างครอบครัวให้เป็นปึกแผ่นร่มเย็น การช่วยกันทำครอบครัวให้เป็นสุข มีความรักต่อกันในครอบครัวเป็นเหมือนยาสมานชีวิต ที่ไม่ว่าเราจะมีประสบการณ์ดีร้ายใด ๆ มา เมื่อกลับไปหาครอบครัวก็รู้สึกอบอุ่นเสมอ หากเป็นผู้สูงอายุก็ยิ่งควรทำตัวให้เป็นที่พึ่งทางใจของสมาชิกในครอบคัว ช่วยชี้แนะลูกหลาน เป็นนำกิจกรรมในทางประเพณีวัฒนธรรมของครอบครัวและชุมชน จะช่วยให้ครอบคัวทุกคนมีสุขภาพจิตดที่ดี ผู้สูงอายุเองก็จำเป็นต้องรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อที่จะสามารถคุยกับผู้อื่นหรือคนในครอบครัวได้ เดี๋ยวนี้การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ก็ทำให้ไม่เหงาได้เช่นกัน อาจมีเพื่อนกลุ่มใหม่ ๆ ขึ้นมาที่มีอายุใกล้เคียงกัน ก็จะช่วยให้มีความสุข สุขภาพจิตดีขึ้น
2. มีเพื่อนไว้ปรึกษาและให้กำลังใจร่วมกัน ทุกคนทุกวัยของชีวิตต่างก็ผ่านการมีเพื่อนในวัยต่าง ๆ มาแล้วทั้งสิ้น การมีเพื่อนก็คือการที่มีคนช่วยแบ่งปันความสุขความทุกข์ระหว่างกัน บางทีเรื่องราวที่เป็นความทุกข์ในจิตเรา เมื่อได้แบ่งปันกับผู้อื่นก็ทุกข์น้อยลง บางครั้งกลับได้แนวคิดใหม่ในการแก้ปัญหาขึ้นมาอีกด้วย นอกจากนี้แล้วเพื่อนยังมีไว้เพื่อเราได้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ฝึกการให้ทานอีกด้วยค่ะ
3. เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไขปัญหา อย่าวิ่งหนี เพราะยิ่งวิ่งหนีก็ยิ่งไม่พ้นอยู่ดี แถมยังอาจมีปัญหาสะสมเพิ่มขึ้นไปอีก และควรใช้สติในการแก้ไข หากปัญหาแก้ไขไม่ได้ก็ขอให้ปรับตัวให้อยู่ให้ได้อย่างดีที่สุดก็แล้วกัน
4. รู้จักคำว่าพอ คนที่มีปัญหาสุขภาพจิตส่วนใหญ่เกิดจากความเครียด ความไม่รู้จักพอ เสียสุขภาพจิตรวมไปถึงสุขภาพกายด้วย
5. ทำงานตลอด ไม่ว่าจะเป็นงานที่ทำแล้วมีรายได้หรือไม่มีก็ตาม ขอให้เป็นงานที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อม เพราะการมีงานทำจะทำให้ไม่เหงาและไม่ฟุ้งซ้านจนเสียสุขภาพจิต ทั้งยังทำให้คนแก่รู้สึกว่าตัวเองยังมีค่าอีกด้วย
6. เข้าหาศาสนา เพราะศาสนาจะสอนให้เรารู้จักความดีงามของชีวิต สอนเรื่องของการมีสติวินิจฉัยไตร่ตรองปัญหา และยอมรับการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของทุกสิ่ง
Leave a Reply