ป้องกันการฆ่าตัวตายของคนใกล้ชิด

ป้องกันการฆ่าตัวตายของคนใกล้ชิด

เชื่อหรือไม่คะ แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายถึงปีละกว่า 1 ล้านคนหรือเฉลี่ย 1 คนทุก ๆ 40 วินาทีเลยนะคะ นี่ยังไม่นับว่ายังมีคนพยายามฆ่าตัวตายอีกประมาณ 10-20 ล้านคนจากทั่วโลกตัว  แม้แต่ในประเทศไทยเองจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตนั้น มีคนไทยฆ่าตัวตายกันกว่าปีละหกแสนคนเลยทีเดียว  นับเป็นปัญหาสำคัญมากในระดับโลก จนทำให้องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ทุกวันที่ 10 กันยายนของทุกปีเป็นวัน

ป้องกันการฆ่าตัวตายโลก World Suicide Prevention Day   แม้สาเหตุการฆ่าตัวตายจะซับซ้อนและมีหลากหลายปัจจัย แต่นักจิตวิทยาก็ยืนยันว่าปัจจัยที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายทุกเพศทุกวัยคือโรคซึมเศร้าค่ะ

จากข้อสังเกตของ พญ. อภิสมัย  ศรีรังสรรค์  จิตแพทย์โรงพยาบาลศรีธัญญา  ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่าผู้ที่มีความเสี่ยงคิดฆ่าตัวตายมักเป็นคนโสด มีนิสัยหุนหันพลันแล่น, คนที่เป็นโรคร้าย  โดยผู้ชายจะมีอัตราการฆ่าตัวตายแล้วสำเร็จมากกว่าผู้หญิง และเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยรุ่นและผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น ๆ

ญาติและผู้อยู่ใกล้ชิดควรเปลี่ยนความเชื่อที่มองว่า การฆ่าตัวตายเป็นการเรียกร้องความสนใจ เปลี่ยนเป็นมองว่านั่นคือสัญญาณขอความช่วยเหลือ  ซึ่งจะทำให้เอาใจใส่และให้ความดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น  หากพบสัญญาณดังกล่าวควรแสดงการดูแล และให้ความช่วยเหลือด้วยการเข้าไปสอบถามก่อน และให้เขาได้รู้ว่าคนรอบข้างก็เจ็บปวดไปกับเขาด้วยเช่นกัน  เท่านี้ก็จะช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายได้ หากคนรอบข้างคุณแสดงอาการที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือโรคซึมเศร้าออกมา ควรดูแลใกล้ชิดและพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาและป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า