ดูแล…อาการปวดศีรษะด้วยตัวคุณเอง

ดูแล…อาการปวดศีรษะด้วยตัวคุณเอง

การปวดศีรษะเป็นอาการป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พบเห็นได้บ่อย ๆ อยู่แล้ว ซึ่งสามารถก็ได้แก่ การใช้สายตานานและมากเกินไป นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดหรือมีปัญหาจากไมเกรน ซึ่งการดูแลอาการปวดศีรษะเหล่านี้แบบเบื้องต้นก็คือการให้ยาหม่องทาถูกนวดบริเวณจุดที่ปวด หากยังไม่หายดีก็ให้ทานยาพาราเซตามอลตามขนาด แล้วหากยังไม่หายขาดก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที แต่หากเป็นอาการปวดหัวที่เกิดจากความเครียดควรผ่อนคลายตัวเองลง แล้วหาทางพักผ่อน อาจเป็นการทำจิตใจให้ผ่อนคลาย นอนหลับให้เพียงพอ อาบน้ำสบาย ๆ แล้วพักผ่อนก็จะช่วยได้ด้วย หรือในบางกรณีอาจปรึกษานักจิตวิทยาเพื่อช่วยกันหาทางออกก็ได้

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน ซึ่งก็ไม่มีอันตรายร้ายแรงมาก โรคปวดหัวไมเกรนนี้มักเกิดกับผู้ท่มีอายุตั้งแต่ 15-55 ปี โดยเริ่มปวดครั้งแรกเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยทำงาน โดยเริ่มจากตาพร่า เวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ แล้วจะจะปวดตุบ ๆ ตรงขมับข้างเดียวหรือสองข้าง และจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ระยะเวลาการปวดอาจนานเป็นชั่วโมงหรือนานถึง 1-2 วัน อาจเป็น ๆ หาย ๆ ตามสิ่งที่กระตุ้น ซึ่งหากท่านมีอาการไมเกรนควรดูแลตนเองดังต่อไปนี้

1. เมื่อเริ่มปวดหัว ให้ทานยาพาราเซตามอลทันที 1-2 เม็ด เพราะหากปล่อยไว้เกินครั้งชั่วโมง ยาแก้ปวดจะใช้ไม่ได้ผล เมื่อทานยาแล้วควรทานพักในห้องเย็น ๆ มืด ๆ อาการปลอดโปร่ง หายใจเข้าออกลึก ๆ ผ่อนคลาย หากได้นอนหลับอาการปวดก็จะหายไปได้
2. สังเกตสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ปวด แล้วหลีกเลี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการใช้สายตาเพ่งมากเกินไป การถูกแสงแดดหรือแสงจ้า ๆ มากเกินไป นอนไม่พอ อาการร้อนหรือเย็นเกินไป ช่วงใกล้มีประจำเดือน มีความเครียดอารมณ์ขุ่นมัว ทานยาคุมกำเนิด ดื่มเหล้าหรือแอลกอฮอล์อื่น ๆ ทานช็อกโกแลต ถั่ว หรือยานอนหลับ ฯลฯ ลองสังเกตดูเพราะสิ่งเหล่านี้สามารถกระตุ้นอาการปวดศีรษะได้ เมื่อพบแล้วก็ควรหลีกเลี่ยงเสีย เพื่อมิให้อาการกำเริบได้อีก
3. หากมีอายุเกิน 40 ปี แล้วปวดศีรษะบ่อย ๆ หรือปวดข้างเดียวควรรีบไปพบแพทย์
4. หากปวดมากอย่างที่ไม่เคยปวดมาก่อน หรือมีอาการร่วมกับการอาเจียน ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน มีอาการปวดร้าวลงมาที่แขน มือ เท้าชาหรืออ่อนแรง หรือมีอาการปวดติดต่อกันเกินสองวัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้ายแรงชนิดอื่น ๆ