อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และคำแนะนำในการดูแล

อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และคำแนะนำในการดูแล

ในผู้สูงอายุนั้นที่มักจะพบกันบ่อย ๆ นอกจากโรคประจำตัวอื่น ๆ แล้วก็ยังมีอาการข้อเสื่อมและกระดูกพรุนที่พบได้บ่อยด้วยเช่นกัน มักเกิดกับข้อใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ข้อต่อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง และข้อเข่า พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ขาดหายไป จนทำให้กระดูกพรุนและในวัยหนุ่มสาวไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกเอาไว้ พออายุมากเข้าจึงทำให้ข้อต่าง ๆ รับน้ำหนักส่วนเกินไม่ไหว เมื่อกล้ามเนื้ออ่อนแอลง ทำให้ข้อเสื่อมและเกิดความเจ็บปวดขึ้นมาได้ ซึ่งมีสัญญาเตือนด้วยอาการปวดดังต่อไปนี้

1. มักมีอาการเจ็บแบบขัด ๆ จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้เข่า แต่เมื่อได้พักจะรูสึกสบายขึ้น แต่หากทิ้งไว้ไม่ดูแล หรือยังคงใช้งานอย่างต่อเนื่องก็อาจปวดมากจนเดินไม่ไหวก็ได้
2. ข้อเข่าบวมขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อเข่าได้รับแรงกระแทกสูง เข่าจะปวดออกมาจนเห็นได้ชัด หากได้รับการรักษาก็อาจจะบรรเทาลง แต่หากกลับไปใช้งานหนักอีกก็สามารถบวมได้อีก
3. อาการเข่าอ่อน หรือเข่าฝืด มักจะเกิดขึ้นตอนที่เข่ายังไม่บวม ลุกนั่งลำบาก ต้องค่อย ๆ ยืดตัวยืน และค่อย ๆ ย่อตัวนั่งจึงจะนั่งลง บางรายเป็นมากจนหัวเข่าผิดรูปหรือเข่าโก่งก็มี

ดังนั้นเมื่อมีสัญญาเตือนอาการข้อเข่าเสื่อมแล้ว ควรรีบดูแลตัวเองและเข้ารับการรักษา ก่อนที่จะรักษาได้ยากดังนี้ค่ะ
– อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวมากหรืออ้วนเกินไป รักษาน้ำหนักให้สมดุ
– พยายามอย่าใช้เข่าทำงานมากเกินไป เช่น เดิน วิ่ง หรือแบกของนานและหนักเกินไป รวมไปถึงการกระโดดด้วย แต่การออกกำลังกายเบา ๆ อย่างการเดินจะทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบเข่าแข็งแรงขึ้น สามารถทำได้
– หลีกเลี่ยงอย่าให้เข่าถูกกดทับอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป เช่น นั่งพับเพียบ หรือคุกเข่านาน ๆ การนั่งห้องน้ำก็ควรใช้แบบนั่งราบ ไม่ควรนั่งยอง เพราะลุกยาก

ผู้สูงอายุควรดูแลตัวเองให้ได้ดังนั้น แม้แต่บุตรหลานที่อยู่ใกล้ชิดก็ควรช่วยเหลือเป็นหูเป็นตาและดูแลท่านดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ด้วยนะคะ เพราะอาการข้อเข่าเสื่อมจะได้ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายค่ะ