อาการร้อนจัด ระวังโรคหวัดแดด

อาการร้อนจัด ระวังโรคหวัดแดด

ช่วงนี้อากาศในเมืองไทยร้อนจนแผ่นดินแทบเดือนกันเลยทีเดียว นอกจากแสงแดดจะทำร้ายทำลายผิวแล้ว ความร้อนจากอากาศยังอาจทำให้เสียสุขภาพได้อีกด้วย เพราะอุณหภูมิสูง ๆ ของแดดร้อน ๆ ทำให้ร่างกายมีอาการเพลียแดด แม้จะเป่าพัดลมหรือดื่มน้ำแล้ว ความร้อนก็ดูจะไม่ยอมจางลงเลย แต่ทำท่าจะสะสมอยู่ข้างในเหมือนคนเป็นไข้เข้าไปอีก ยิ่งคนที่ทำงานกลางแจ้งยิ่งต้องระวัง ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัดเพื่อดับร้อนทันที ควรดื่มน้ำธรรมดาดีกว่า และพยายามใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าเข้าจะช่วยบรรเทาอากาศร้อนได้นะคะ

แม้แต่คนที่ทำงานนั่งห้องแอร์ก็ไม่ควรชะล่าใจนัก เพราะถ้าออกไปปะทะกับอากาศร้อนแล้วจะทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน มีอาการเหมือนจับไข้ได้ แม้จะดูไม่หนักหนาแต่ก็ไม่ยอมหายขาดเสียที ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อย ๆ โอกาสติดเชื้อจากโรคอื่น ๆ ก็มากขึ้น

ซึ่งอาการของโรคหวัดแดดนั้นเป็นดังนี้ค่ะ
1. มีไข้ต่ำ ๆรุม ๆ ปากแห้งแข็ง แต่ไม่แตกลอก
2. ปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ
3. ปวดศีรษะ แต่บางท่านที่ร้อนจัด ๆ อาจะรู้สึกเหมือนถูกกระตุก
4. ขมปากทานอาหารไม่อร่อย เบื่ออาหาร
5. นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ
6. ขับถ่ายไม่ปกติ ถ่ายยาก ไม่เป็นเวลา กะปริบกะปรอยเวลาปัสสาวะจะรู้สึกมีความร้อนสูงออกมาด้วย
7. บางท่านอาจรู้สึกปวดแสบกระบอกตาเหมือนน้ำตาแห้ง ควรระวังมากเพราะท่านอาจเป็นคนธาตุเย็น แม้ร่างกายจะดูเหมือนปกติ แต่จะปวดเมื่อย เนือย ๆ อยากนอน ซึ่งนี่คือพิษความร้อนสะสมเพราะร่างกายระบายได้ไม่หมดนั่นเอง

บางคนอาจสับสนระหว่างไข้หวัดกับหวัดแดด เพราะมีอาการที่คล้ายคลึงกันมาก เพราะมีไข้ ปวดศีรษะและอ่อนเพลียเหมือนกัน แต่ไข้หวัด จะมีอาการน้ำมูลไหล ไอ มีเสมหะเข้ามาด้วยซึ่งเกิดจากเชื้อไว้รัส ในขณะที่หวัดแดด จะมีอาการเนื้อตัวร้อน ตาแดง จากการตากแดดหรืออยู่ในที่ที่มีความร้อนจัดเป็นเวลานาน

อาการหวัดแดดนั้นแม้จะไม่รุนแรง แต่การสะสมพิษร้อนชื้นไว้ในร่างกายเป็นเวลานานย่อมส่งผลเสียต่อม้ามและกระเพาะอาหารได้ จึงควรใส่ใจกับสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อยู่ในภาวะโลกร้อนเช่นนี้

ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำก็คือ
1. เลี่ยงการเผชิญแสงแดด หรืออากาศที่ร้อนจัด ๆ
2. หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ต้องเผชิญความร้อนจากแดดเปรี้ยง เลี้ยงที่จะเข้าที่เย็นที่มีอุณหภูมิที่แตกต่างกันทันทีอย่างห้างสรรพสินค้า เพราะอาจทำให้คุณป่วยได้
3. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนจำนวนมากหรือแออัด นอกจากร้อนแล้วยังอบอ้าวทำให้วิงเวียนได้
4. หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะจเป็นการสร้างภาระให้กับม้ามมากขึ้น ควรทานอาหารย่อยง่าย เช่น ถั่วแดง ฟัก แตงโม ผักกาดขาด ลดของที่เย็นจัดหรือน้ำเย็น ๆ

สำหรับผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัดแดดแล้วก็ให้รักษาร่างกายเหมือนผู้ที่เป็นไข้หวัดปกติเลยนั่นก็คือ
– พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
– ดื่มน้ำอุ่นให้มากๆ
– รับประทานอาหารร้อน ๆ
– ทายาลดไข้
– และเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ก็จะช่วยให้หายป่วยได้เร็วขึ้นค่ะ