ป้องกันหลับใน ก่อนเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน
การหลับใน เป็นอาการทางร่างกายที่แม้เกิดขึ้นเพียงช่วยแว่บเดียว แต่อาจทำให้เกิดอุบัติสูญเสียชีวิตได้ในขณะขับรถเลยทีเดียว ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องขับรถทุกคนควรหาทางป้องกันอาการหลับในไว้ทุกคนนะคะ
ในช่วงระยะเวลาที่มีวันหยุดยาว ๆ หลาย ๆ วันอย่างในช่วงหน้าร้อนของประเทศไทยนี้ เป็นช่วงที่มีคนขับรถเพื่อไปท่องเที่ยวทางไกลกันมากที่สุดระยะหนึ่งของประเทศ นอกจากทางจะไกลและเที่ยวกันจนเพลียพักผ่อนไม่เพียงพอแล้ว การที่รถติดในเส้นทางไกล ๆ ด้วยอาการเหนื่อยก็เลยทำให้หลับในกันได้ไม่ยาก
คนที่หลับใจจะเหมือนคนที่หูหนวกตาบอดไปชั่วอึดใจหนึ่ง เพราะว่าสมองภายในของคุณหลับไปแว่บหนึ่ง แล้วก็ยังไม่เรื่องที่ไม่สามารถบังคับกันได้ด้วย หากง่วงนอนมาก ๆ การหลับในเพียงชั่วไม่กี่วินาที นานพอที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตได้
การหลับในจึงเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุที่ค่อนข้างน่ากลัว วิธีที่ดีที่สุดก็คือการจับสังเกตอาการหลับในเพื่อหาทางป้องกัน พร้อมทั้งวิธีแก้ง่วงเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางดังวิธีต่อไปนี้
อาการหลับใน มาสังเกตดูซิ !
– หาวบ่อย ๆ และหาวอย่างต่อเนื่อง
– เริ่มใจลอยและไม่มีสมาธิ
– หงุดหงิดกระวนกระวาย และอ่อนล้า
– เริ่มจำไม่ได้ว่าขับรถผ่านอะไรมาในระยะ 2-3 กิโลเมตรล่าสุด
– หนักหนังตา ลืมตาไม่ขึ้น มองภาพเบลอ ๆ ไม่ชัด
– รู้สึกมึนและหนักศีรษะ
– ขับรถเริ่มส่ายไปมา หรือออกนอกเส้นทาง
– มองข้ามป้ายจราจรและสัญญาญไฟจราจร
อาการข้างต้นนี้หากเกิดขึ้นเพียงข้อดใข้อหนึ่งหรือมีหลายข้อรวมกัน ถือเป็นสัญญาณอันตราย! ให้เราทำอะไรซักอย่างก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ
วิธีการปฏิบัติเหตุการณ์ข้างต้นขึ้นกับผู้ขับขี่ยานพาหนะ
1. ทานผลไม้รสเปรี้ยว เพราะความเปรี้ยวจะกระตุ้นประสาทให้สดชื่นขึ้น
2. อมน้ำแข็ง หรือนำน้ำแข็งถูขยับ รวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มเย็น ๆ จะช่วยให้สดชื่นตื่นตัวมากขึ้น
3. ปิดแอร์ในรถ แล้วเปิดกระจกให้อากาศถ่ายเท ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในรถ และสายลมจากธรรมชาติจะทำให้คนขับรู้สึกสดชื่นมากขึ้น
4. เปิดเพลงดัง ๆ เร็ว ๆ แล้วร้องตามไปด้วยช่วยแก้ง่วงได้ดี อย่างเปิดเพลงช้าฟังสบายล่ะ เดี๋ยวง่วงไปกันใหญ่
5. หากไม่ไหวแล้วจริง ๆ ให้หาที่จอดรถนอนพักซัก 5-10 นาที ดูให้แน่ใจด้วยว่าเป็นที่ปลอดภัย แล้วจึงค่อยขับเดินทางต่อ อย่าฝืนเพราะอันตรายมาก
6. หาคนอื่นมาช่วยขับแทน สลับกันไปตลอดเส้นทาง
7. ควรพักจอดรถทุก ๆ 150 กิโลเมตรหรือทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงเพื่อมิให้ร่างกายอ่อนล้ามากเกินไป
การเตรียมตัวก่อนการเดินทางเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการหลับใน นอกเหนือจากการสังเกตอาการซึ่งเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ
– ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออ 7-8 ชั่วโมงขึ้นไป อย่างน้อย 2 วันก่อนการขับรถเดินทาง สำหรับการเดินทางไกลนั้น หากคุณนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้การทำงานของสมองช้าลง อีกทั้งสมองยังต้องการการนอนชดเชยชั่วโมงที่สูญเสียไป ทำให้มีอาการง่วง และวูบไประหว่างขับรถอยู่ได้
– ทานอาหารแต่พอดี โดยต้องทานมื้อเช้า เพราะเป็นส่วนที่สำคัญต่อการทำงานของสมองมากที่สุด สำหรับในมื้อเที่ยงหรือบ่ายนั้น การทานอิ่มมากเกินไปจะทำให้ง่วงเหงาหาวนอนได้ง่าย
– จิบน้ำบ่อย ๆ อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ร่างกายออนเพลียและเหนื่อยล้าได้ง่าย
– ผู้ที่ขับรถไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งคืนก่อนการเดินทาง และขณะขับรถด้วย
– งดเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน ไม่ว่าจะเป็น กาแฟ ชา โกโก้ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ฯลฯ เพราะในคาเฟอีนจะทำให้คุณนอนหลับไม่สนิท ควรหลีกเลี่ยงอย่างน้อย 2-3 วันก่อนการเดินทาง แต่อย่างไรก็ดี ระหว่างที่ขับรถ คาเฟอีนอาจช่วยกระตุ้นให้สมองตื่นตัวขึ้นได้ ซึ่งอยู่ในช่วงปริมาณ 100-200 มิลลิกรัมหรือเท่ากับกาแฟประมาณ 1-2 แก้ว
– ก่อนการเดินทางไม่ควรกินยาแก้แพ้ ยาแก้หวัด หรือแก้ปวดบางประเภทที่ทำให้ง่วงซึมได้ เช่น ยาแก้ปวดทรามาดอล (Tramadol) ยาแก้ปวดอะมิทริปทัยลีน (Amitriptyline) ยาโทลเพอริโซน (Tolperisone) ยาออเฟเนดรีน (Orphenadrine) ฯลฯ ซึ่งยาเหล่านี้จะทำให้เกิดความเบลอ ง่วงซึม ทำให้การตัดสินใจในระหว่างขับรถช้าลง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หากจำเป็นต้องทานยา ให้ผู้อื่นขับรถให้จะดีกว่า
– ถ้าจะดีก็คือควรหาเพื่อนร่วมทางไปด้วยกัน การพูดคุยระหว่างกันจะช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานเพิ่มขึ้นได้
– หลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงเวลา 24.00-07.00 น. และ 14.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่เราง่วงและเป็นช่วงเวลาที่คนเรามักจะหลับในจนเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
Leave a Reply