โรคมะเร็งรังไข่.. ภัยคร่าชีวิตสตรีที่ต้องระวัง

โรคมะเร็งรังไข่.. ภัยคร่าชีวิตสตรีที่ต้องระวัง

มะเร็งทางนรีเวชที่ตรวจพบบ่อยเป็นอันดับหนึ่งก็คงเป็นมะเร็งปากมดลูก  แต่อันดับสองเป็นของมะเร็งรังไข่ที่ก็เป็นอันตรายไม่แพ้กัน หากตรวจพบต้องรีบรักษาในทันที สำหรับโรคมะเร็งรังไข่นี้จะเกิดขึ้นประมาณ 5 คน ต่อประชากรสตรี 1 แสนคนต่อปี   มีผู้ป่วยมะเร็งรังไข่รายใหม่ประมาณ 1,500 คนต่อปี ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นไปด้วย

มะเร็งรังไข่นั้น จะไม่ค่อยแสดงอาการนัก จะมีอาการแค่ท้องอืดท้องเฟ้อ จึงเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะไป จึงทำให้คนไข้พบแพทย์ช้า  โรคนี้หากวินิจฉันได้แต่เนิ่น ๆ ก็ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากพบเจอในระยะท้าย ๆ แล้วก็คงหายได้ยาก  ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคนี้ก็คือ มีญาติใกล้ชิดเป็นโรคนี้ หรือเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้หรืออื่น ๆ  โดยเฉพาะหากมีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป หรือชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือนมเนยมาก ๆ

โดยอาการของมะเร็งรังไข่ ก็คือ ท้องโตขึ้น เนื่องจากมีก้อนหรือน้ำในท้อง มีตั้งแต่น้ำน้อยจนถึงน้ำมาก มีลูกแตงโมในท้อง  ส่วนของผู้ป่วยจะมีอาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ขัด เนื่องจากก้อนของรังไข่ไปกดเบียด ผู้ป่วยจะผอมลง เป็นอาการของมะเร็งทั่วไป อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาการของมะเร็งรังไข่ไม่จำเพาะเจาะจงชัดเจน  ดังนั้นควรตรวจสอบความผิดปกติของตัวเองไว้อย่างสม่ำเสมอเพื่อความไม่ประสาท

หญิงที่อายุ 35 ปีขึ้นไปหรืออายุไม่ถึงแต่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรตรวจทุกปีแม้ไม่มีอาการผิดปกติ  สำหรับผู้ที่มีประวัติญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็ง ควรต้องเฝ้าระวังมะเร็งรังไข่ให้มากขึ้น  เพราะมีปัจจัยทางพันธุกรรมด้วยสำหรับโรคนี้  ซึ่งแพทย์จะตรวจด้วยการคลำหน้าท้อง ตรวจภายใน และอาจมีอัลตราซาวด์ร่วมด้วย

ผู้ที่มีก้อนในรังไข่อาจไม่ได้เป็นมะเร็งรังไข่ก็ได้ แต่อาจเป็นโรคอื่น ซึ่งแล้วแต่การวินิจฉัยและการรักษาของแพทย  ส่วนการวินิจฉัยที่จะทราบผลแน่นอนว่าเป็นมะเร็งรังไข่หรือไม่ก็ต้องส่งชิ้นเนื้อไปตรวจเท่านั้น  ส่วนของการผ่าตัดรักษาโรคนี้จะตัดทิ้งทั้งมดลูกและรังไข่ทั้งสอง นำน้ำในช่องท้องไปตรวจเซลล์มะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองด้วย  หากเป็นน้อยการผ่าตัดอย่างเดียวก็อาจเพียงพอ แต่หากเป็นมากแล้วอาจต้องรักษาต่อด้วยเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงหลายประการ  แต่ก็มีอยู่บางส่วนเหมือนกันที่หลังจากรักษาไปแล้วก็ยังมีโอกาสกลับคืนมาเป็นมะเร็งรังไข่ได้อีก 

หลังจากรักษาไปแล้วจึงจำเป็นต้องมีการติดตามผล เพื่อตรวจเช็คว่าโรคมะเร็งยังกลับมาอีกหรือไม่  ซึ่งแพทย์ก็จะรักษาต่อเนื่องไป โดยอาจหายจากโรคหรือไม่ก็ได้  หรือถ้าไม่หายก็ทำให้ยุบหรือคงขนาดไปชั่วขณะ จนกว่าแพทย์จะหยุดพิจารณาว่าควรหยุดรักษาก็จะแจ้งให้ผู้ป่วยทราบ หลังจากนั้นก็จะดูแลรักษาแบบประคับประคองไปตามอาการ  ญาติผู้ใกล้ชิดและผู้ป่วยจะมีส่วนช่วยเหลืออย่างมากทั้งร่างกายและจิตใจในช่วงเวลานี้