มารู้จักโรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังที่เป็นโรคเรื้อรัง.. แต่ไม่ใช่โรคติดต่อ

มารู้จักโรคสะเก็ดเงิน  โรคผิวหนังที่เป็นโรคเรื้อรัง.. แต่ไม่ใช่โรคติดต่อ

โรคสะเก็ดเงิน แม้จะไม่ได้พบเห็นบ่อยมากนัก แต่ก็เป็นโรคเรื้อรังที่สร้างปัญหากับชีวิตผู้ป่วยไม่น้อย  อาการของโรคจะมีลักษณ์ผิวเป็นปื้นแดง  มีสะเก็ตสีเงินวาวและมีขุยหนา  โดยบริเวณที่มักเกินโรคก็คือส่วนที่มีความด้านของร่างกายอย่างเช่น หัวเข่า ข้อศอก หรือแม้แต่แผ่นหลัง และแขนขา  รวมทั้งหนังศรีษะและเล็บด้วยเช่นกัน  โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดทั้ง แต่ปัจจัยที่น่าสงสัยอาจเป็นในเรื่องของพันธุกรรม การติดเชื้อที่ทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ผิวหนังเร็วกว่าปกติก็เป็นได้  และจะมีอยู่ร้อยละ 10-30 ที่จะมีอาการปวดข้อนิ้ว ปวดข้อสะโพกและกระดูกสันหลัง  อีกทั้งยังพบว่าผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมักมีอาการอ้วนลงพุงอีกด้วย  ด้วยสามารถวินิจฉัยจากความผิดปกติจาก 3 ใน 5 ก็คือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.ในเพศชายและ 80 ซม. ในเพศหญิง,  มีความดันเลือดมากกว่า 130/85 มม.ปรอท  รวมทั้งได้รับยารักษาความดัน, มีระดับของไตรกรีเซอไรด์มากกว่า 150 มก.ต่อเดซิลิตร หรือมีไขมันในเลือดสูงและได้รับยาลดไขมัน, มีระดับไขมันดีน้อยกว่า 40 มก.ต่อเดซิลิตรในเพศชายและน้อยกว่า 50 มก.ต่อเดชิลิตรในเพศหญิง หรือเป็นผู้มีไขมันในเลือดสูงและได้รับยาลดไขมัน รวมไปถึง มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มก.ต่อเดซิลิตรหรือเป็นเบาหวานระดับที่ 2

การเป็นโรคสะเก็ดเงินนั้นไม่ทำให้ถึงแก้ชีวิต ยกเว้นในรายที่มีผื่นมากกว่าร้อยละ 90 ของร่างกายที่อาจทำให้เสียชีวิตได้  อีกประการที่สำคัญคือโรคสะเก็ดเงินไม่ได้เป็นโรคติดต่อ  ผู้ที่เป็นสามารถใช้ชีวิตกับสังคมได้ตามปกติ  แต่หากมีอาการมี  อาจมีเศษขุยร่วงตามที่นั่งที่นอนซึ่งอาจรบกวนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยอยู่บ้าง  แต่โรคนี้มีการศึกษาพบว่ามีโอกาสถ่ายทอดผ่านไปยังลูกได้ด้วย  และเนื่องจากโรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุจึงยังรักษาให้หายขาดไม่ได้แต่ช่วยกันควบคุมโรคและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ในส่วนของการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยสะเก็ดเงินควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ไวน์ เหล้า และอาหารหมักดองต่าง ๆ รวมทั้งยาบางอย่างเช่น ยาลิเทียม, ยาต้านมาลาเรียล, ยาลดความดันกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ อีกทั้งยาลดต้านความอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ที่จะกระตุ้นให้เป็นโรคได้ ในส่วนของการรักษาขึ้นอยู่กับอาการของโรค อาจใช้การทายาสำหรับผู้ที่มีอาการของโรคไม่รุนแรง อาจใช้การทานยา การฉายแสง การฉีดยา ฯลฯ ซึ่งแล้วแต่การประเมินของแพทย์

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงิน ควรดูแลตัวเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  ดูแลตัวเองอย่างให้เครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหากเป็นแผลหรือคัน อย่าเกา แต่ให้รีบรักษาผิวโดยด่วน หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน เลือกใช้สบู่ที่มีความอ่อนโยน เลี่ยงสบู่ที่ผสมน้ำหอม และมีค่า pH 5-7  หลังอาบน้ำควรทาครีมหรือโลชั่นน้ำ หรือน้ำมันเพื่อให้ความชุ่มชื่นกับผิวหลังอาบน้ำทันทีด้วย