โรคกรดไหลย้อน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

โรคกรดไหลย้อน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

โรคกรดไหลย้อน (Gastro-esophageal Reflux Disease, GERD) คือภาวะของการที่มีกรด หรือ น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาที่บริเวณหลอดอาหาร เนื่องจากหลอดอาหารนั้นเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรดได้ จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยปกติแล้วหลอดอาหารจะทำการบีบตัวไล่อาหารลงไปสู่ด้านล่าง และหูรูด จะทำหน้าทีป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำย่อย กรด หรืออาหารต่างๆ ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร พบได้ในคนทั่วไป ทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

ภาวะของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
– ระดับแรก ผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนบ้างในบางครั้ง เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง แล้วก็หายไป ไม่มีผลต่อสุขภาพมากมาย (Gastro-Esophageal Reflux : GER)
– ระดับสอง ผู้ป่วยจะมีอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาเฉพาะที่บริเวณหลอดอาหาร (Gastro-Esophageal Reflux Disease : GERD)
– ระดับสาม ผู้ป่วยมีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาก จนไหลขึ้นไปถึงกล่องเสียง หรือหลอดลม (Laryngo-Pharyngeal Reflux : LPR)

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
นอกจากโรคเกิดไหลย้อนจะเกิดจากการผิดปกติของหูรูด หรือความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้อีก เช่น
– รับประทานเสร็จอิ่มๆ หรือรับประทานอาหารยังไม่ถึง 4 ชม. แล้วนอน
– สูบบุหรี่
– ดื่มสุรา หรือ ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และการดื่มน้ำอัดลมมากๆ
– รับประทานอาหารประเภทของทอด ของมัน หรืออาหารจำพวกที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด

อาการของโรคกรดไหลย้อน
อาการที่เกิดในหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้
– เสียงแหบกว่าตอนที่ปกติ และไม่ได้เป็นโรคอะไรที่เกี่ยวกับกล่องเสียง
– ปวดแสบปวดร้อนที่ทรวงอก Heart Burn เนื่องจากกรดได้ทำให้หลอดอาหารอักเสบ
– มีอาการจุกเสียด แน่นหน้าอก หรือเหมือนมีก้อนอะไรติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ค่อยออกเวลานอนหลับ
– กลืนอาหารได้ลำบาก ถ้าในผู้ป่วยที่เป็นมาก อาจจะเจ็บคอมากจนไม่สามารถกลืนอาหารได้
– คลื่นไส้ เวียนหัว
– มีอาการเรอเปรี้ยว รู้สึกขมในคอ หรือรู้สึกเปรี้ยวจากน้ำดีในปากและลำคอ

อาการนอกหลอดอาหาร ในบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้
– มีอาการไอเรื้อรัง เจ็บคอมาก เจ็บคอเรื้อรัง
– เสียงแหบ โดยเฉพาะในตอนเช้า ซึ่งเกิดจากเวลาที่เรานอน กรดได้ไหลย้อนขึ้นมามาก
– เป็นโรคหลอดอักเสบ มีอาการเจ็บหน้าอกมาก

การรักษากรอดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อนนั้น สามารถหายได้ โดยการรับประทานยา ที่มีตัวยาลดกรด (Antacids) เช่น ยาลดกรดในกลุ่มโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ (Proton pump inhibitors) ซึ่งเป็นยาที่นิยมใช้ในการรักษา และมีประสิทธิภาพที่ดี โดยการใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ถ้าหากทานยาแล้ว ยังมีอาการเหมือนเดิม ไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ และแพทย์จะตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีการ กลืนแป้งเพื่อตรวจกระเพาะอาหาร หรือ การส่องกล้องตรวจกระเพาะ หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแล้วยังไม่ดีขึ้นอีก แพทย์จะทำการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดผูกหูรูดกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้กรดสามารถไหลย้อนขึ้นมาได้อีก

สำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาแล้ว ก็ควรจะรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วย เช่นกัน เพราะการรักษาโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันนั้นสำคัญมา และยังเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยได้อีก เช่น
– งดการสูบบหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ
– ลดอาหารมัน ของทอด ของหวาน
– รับประทานอาหารให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
– ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี

อาการต่างๆ อาจไม่ดีขึ้นเร็ว ต้องใช้เวลาในการหาย เมื่ออาการต่าง ๆ ดีขึ้น และผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันข้างต้นดังกล่าวได้ และได้รับประทานยาต่อเนื่อง แพทย์จะปรับลดขนาดยาลงเรื่อยๆ ทีละน้อย ที่สำคัญไม่ควรซื้อยารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น