โรคหนองใน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

โรคหนองใน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

หนองใน (Urethritis) เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โรคหนองในแท้ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhea เชื้อแบคทีเรียนี้จะทำให้เกิดเยื่อเมือก Mucous Membrance เช่น เยื่อเมือกในท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ท่อรังไข่ ทวารหนัก เยื่อบุตา คอ เป็นต้น โดยเชื้อนี้มีระยะฟักตัวเร็ว คือประมาณ 1-10 วัน

ส่วนโรคหนองในเทียม ส่วนมาที่พบจะติดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis หรืออาจจะมีเชื้อแบคทีเรียอื่นๆอีก โรคหนองในทั้ง 2 ชนิด มักจะชอบอยู่ในที่อุ่นและชื้น เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก และช่องคอ มักจะมีอาการตกขาวเป็นหนองสีเหลือง แสบขัดเวลาถ่ายปัสสาวะ อาจจะมีอาการที่รุนแรงจนต้องเข้าพบแพทย์ หากทิ้งไว้ไม่ได้ทำการรักษา อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ได้แก่ ภาวะมีบุตรยากทั้งหญิงและชาย ปวดท้องน้อยเรื้อรัง และการตั้งครรภ์นอกโพรงมดลูก

การติดต่อของโรคหนองใน
สำหรับโรคหนองในนั้น ไม่ว่าจะเป็นโรคหนองในแท้ หรือ หนองในเทียม จะติดต่อได้จาก
1. การมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางปาก ช่องคลอด ทางทวารหนัก
2. หากมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ลำคอได้
3. การเปลี่ยนคู่นอนเป็นจำนวนมาก ก็มีโอกาศติดเชื้อนี้จากคู่นอนได้เพิ่มขึ้น

สำหรับการจับมือหรือนั่งฝาโถส้วมนั้น ไม่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อนี้ได้ เพราะเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ เมื่อออกจากร่างกายคนเราแล้ว จะตายค่อนข้างง่าย ดังนั้นโอกาศที่จะติดต่อกันทางอื่น ที่ไม่ใช่เพศสัมพันธ์ จะมีโอกาศติดเชื้อได้ยากมาก

อาการของผู้ติดเชื้อหนองใน
พบว่าผู้ชายร้อยละ10 และผู้หญิงร้อยละ 50 จะไม่แสดงอาการ แต่จะแสดงอาการต่อเมื่อได้รับเชื้อไปแล้วประมาณ 1-14 วัน

ผู้ชาย : จะมีอาการปัสสาวะขัดอย่างรุนแรง มีหนองเหลือง หรือมูกใสๆ ไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ มีอาการปวดที่อัณฑะ และแสบเวลาปัสสาวะ อาจจะมีการอักเสบที่หนังหุ้มปลายองคชาติร่วมด้วย (พบได้น้อย) อาการจะเกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อไปแล้ว ประมาณ 2-5 วัน ถ้าหากไม่รีบทำการรักษา จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ อัณฑะอักเสบ และอาจจะทำให้เป็นหมันได้

ผู้หญิง : ในผู้หญิงส่วนมากมักจะไม่แสดงอาการ แต่หากติดเชื้อเกิน 10 วันไปแล้ว จะมีอาการตกขาวผิดปกติ มีหนองสีเหลือง หรือ สีเขียว และมีกลิ่นเหม็นรุนแรง ปัสสาวะแสบขัด เนื่องจากเกิดอาการอักเสบที่ท่อปัสสาวะ และปากมดลูก หากไม่รีบทำการรักษา จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ช่น ต่อมบาร์โธลินอักเสบ เป็นฝีบวมโต การอักเสบในอุ้งเชิงกราน ปีกมดลูกอักเสบ การอุดตันของท่อรังไข่ ซึ่งทำให้เป็นหมันหรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ นอกจากนี้ หากหญิงมีครรภ์เป็นโรคหนองใน เวลาคลอดอาจทำให้เด็กทารกติดเชื้อเกิดอาการตาอักเสบได้ และหากรักษาไม่ทัน จะทำให้เด็กตาบอดได้

สำหรับโรคหนองในเทียม ก็จะมีอาการคล้ายกับผู้ที่ติดเชื้อหนองในแท้ แต่ความรุนแรงมักจะน้อยกว่า ในผู้หญิงอาจจะไม่มีอาการแสดงเลย หรืออาจมีตกขาวบ้าง แต่ระยะการฟักตัวของโรคหนองในเทียม จะนานกว่าโรคหนองในแท้ หากไม่ได้รับการรักษาเชื้ออาจจะลามไปที่ท่อรังไข่ Fallopian tube เกิดช่องเชิงกรานอักเสบซึ่งจะมีอาการปวดท้องน้อย มีไข้ เจ็บท้องเมื่อมีเพศสัมพันธ์

การวินิจฉัยโรคหนองใน
การตรวจหาโรคหนองในนั้น แพทย์จะทำการนำหนอง หรือ ปัสสาวะ ไปทำการตวจ PCR เพื่อนำหนองไปย้อม หรือ เพาะหาเชื้อ เพื่อตรวจสอบและแพทย์อาจจะตรวจหาเชื้อโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่นร่วมด้วย

สำหรับการวินิจฉัยโรคหนองในเทียมนั้น แพทย์จะส่องกล้องและย้อมหาเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ ซึ่งจะต้องอาศัยการตรวจพิเศษมาร่วมด้วย

การรักษาโรคหนองใน
ผู้ที่เป็นโรคหนองในนั้น มักจะมีการติดเชื้อโรคหนองในเทียมร่วมด้วย ดังนั้นการรักษาจึงต้องรักษาอาการไปพร้อมๆกัน เมื่อรู้ว่าติดเชื้อแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด โดยยาที่ใช้รักษานั้น จะเป็นยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 95% โดยยาที่นิยมใช้ในการรักษา ได้แก่ Cefixime, Ceftriaxone, Ciprofloxacin, Ofloxacin, Levofloxacin อาจจะเป็นยาชนิดรับประทาน หรือ ฉีด ก็ขึ้นอยู่ตามอาการที่แพทย์วินิจฉัย

ยาปฏิชีวนะที่รักษาโรคหนองในนั้น จะมีผลต่อประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด ดังนั้นระหว่างที่ใช้ยาในการรักษา ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากมีเพศสัมพันธ์ควรใช้ถุงยางอนามัย การรักษาโรคหนองในจะได้ผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ติดเชื้อ ควรปฏิบัติตนและรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างครบถ้วน และแนะนำให้นำคู่สามี ภรรยา ไปตรวจรักษาด้วย

** หากได้รับยาปฏิชีวนะที่รักษาโรคหนองในแล้ว มีอาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว มีผื่นขึ้นตามตัว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้
ผู้ชาย
– เกิดการอักเสบของอัณฑะ Epididymitis ซึ่งหากไม่รักษาอาจจะทำให้เป็นหมัน ข้ออักเสบ Reiter’s syndrome (arthritis)
– เยื่อบุตาอักเสบ Conjunctivitis
– ผื่นที่ผิวหนัง Skin lesions
– หนองไหล Discharge

ผู้หญิง
– อุ้งเชิงกรานอักเสบPelvic Inflammatory Disease (PID) อาจจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก
– ปวดท้องน้อยเรื้อรัง Recurrent PID อาจจะทำให้เป็นหมัน
– ท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis
– ช่องคลอดอักเสบ Vaginitis
– แท้ง Spontaneous abortion (miscarriage)

วิธีป้องกันการติดเชื้อโรคหนองใน
การป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุดคือ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ หรือ เมื่อมีเพศสัมพันธ์ให้สวมถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคหนองใน และโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
เพราะสาเหตุหลักๆที่ได้รับเชื้อโรคมานั้น คือการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นที่ไม่สามี หรือ ภรรยาของตน และควรมีสามี ภรรยา เพียงคนเดียว เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆในการติดต่อโรคทางเพศสัมพั

 


Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *