โรคไข้หวัดใหญ่ อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

โรคไข้หวัดใหญ่ อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

ไข้หวัดใหญ่ (influenza) เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์  นอกจากเชื้อไข้หวัดใหญ่จะมีชนิด A, B, C แล้วแต่ละชนิด ยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ ออกไปอีกมากมาย แต่ละครั้งที่เป็นโรค จะเกิดจากพันธุ์ย่อยเพียงพันธุ์เดียว เมื่อเป็นแล้ว ก็จะมีภูมิต้านทานต่อพันธุ์นั้น แต่ไม่สามารถต้านทานพันธุ์อื่นๆ ได้ จึงอาจติดเชื้อจากพันธุ์ใหม่ได้ ติดต่อกันได้โดยการหายใจ ไอหรือจามรดใส่กัน พบได้บ่อยมากในทุกเพศ ทุกวัย และอาจจะเป็นมากในช่วงฤดูฝน ระยะฝักตัวของโรค จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับเชื้อมา 1-4 วัน อาการถึงจะแสดงออกมา  สามารถติดต่อกันได้ง่าย ถ้าหากในบ้าน ในโรงเรียน หรือที่ทำงานมีคนเป็นโรคนี้ ก็จะสามารถติดต่อกันได้ง่ายมาก บางปีพบว่า ไข้หวัดใหญ่ จะมีการระบาดไปทั่วประเทศ

อาการของไข้หวัดใหญ่
อาจจะเกิดขึ้นได้ทันที  คนที่เป็นไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการไข้ขึ้นสูง  (38.5-40 องศาเซลเซียส) ตัวร้อนจัด หน้าแดง เปลือกตาแดง น้ำมูกใส คอแดง หรือไม่แดงเลย มีอาการหนาวๆ ร้อนๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อนมากตามแขน ขาและบริเวณกลางหลัง ปวดหัวหนัก อ่อนเพลียมาก มักจะมีอาการเบื่ออาหาร ขมในคอ

ข้อสังเกตของโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการหวัดเพียงเล็กน้อย แต่ในส่วนของไข้หวัดธรรมดานั้น มักจะมีอาการของหวัดมาก แต่ไข้หวัดใหญ่มักจะมีไข้สูง และปวดเมื่อยมากกว่าไข้หวัดธรรมดา

การรักษาไข้หวัดใหญ่
– ใช้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ในผู้ใหญ่ทานครั้งละ 1-2 เม็ด, เด็กโตทานครั้งละ ครึ่งเม็ด, และในเด็กเล็ก ให้รับประทานยาชนิดน้ำเชื่อม ครั้งละ 1-2 ช้อนชา และถ้าหากยังมีไข้สูงให้กินซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง ควรกินยาเมื่อมีอาการปวดเมื่อยเท่านั้น เมื่อบรรเทาอาการแล้ว ก็ไม่ต้องกินทานซ้ำ
– ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องใช้กับทุกราย เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่นี้มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น

การปฏิบัติตัว
– นอนพักผ่อนให้เต็มที่ เนื่องจากการนอนพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
– ห้ามอาบน้ำเย็น เมื่อมีไข้สูง ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา เช็ดตัวได้บ่อยๆ เมื่อไข้ลดสามารถอาบน้ำอุ่นได้ อย่าอาบน้ำเย็นเลยเมื่อไข้ลด เพราะอาจทำให้ไข้กลับได้
– ดื่มน้ำให้มากๆ ประมาณชั่วโมงละ 1-2 แก้ว
– ทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย อย่างเช่น ข้ามต้ม โจ๊ก

เมื่อดูแลตนเองดังกล่าวแล้ว โดยทั่วไป อาการไข้จะบรรเทาลงเองได้ภายใน 3-5 วัน แต่อาจจะยังมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยร่างกายร่วมอยู่ได้ ควรนอนพักผ่อนและบำรุงอาหาร ดื่มน้ำอุ่นให้มากๆ หากเสมหะขาวแล้วก็ไม่ต้องทานยาอะไรอีก

วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่
– ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง
– สวมหน้ากากอนามัย ในที่ๆมีคนเยอะ อย่างเช่น โรงพยาบาล ตลาด หรือสถานที่ๆแออัด หรือสวมหน้ากากอนามัยในช่วงที่มีโรคระบาด
– พยายามอยู่ห่างจากคนที่เป็นไข้หวัด อย่าให้ถูกไอ จาม หายใจรด หลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกาย หรือสิ่งของจากคนที่เป็นไข้หวัด
– หมั่นล้างมือ หรือ ชโลมมือด้วยแอลกอฮอล์บ่อยๆ

อาการอย่างไรควรไปพบแพทย์
1. มีอาการหายใจหอบ หรือเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
2. ปวดท้องมาก
3. อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
4. มีอาการซึม กระสับกระส่าย หรือไม่ค่อยรู้สึกตัว
5. มีไข้สูง หนาวสั่นมาก
6. มีอาการปวดหัว ปวดหู หูอื้อ
7. มีจุดแดง จ้ำเขียวขึ้นตามตัว หรือมีรอยแผลเหมือนถูกบุหรี่จี้
8. มีไข้นานเกิน 7 วัน ดูแลตนเองเกิน 7 วันแล้ว ยังไม่มีอาการทุเลาลง
9. มีการระบาดของไข้เลือดออกในละแวกบ้าน ที่ทำงาน หรือโรงเรียน

เมื่อไปพบแพทย์แล้ว หากไม่มีอาการอะไรมากและคิดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ แพทย์อาจจะให้นอนโรงพยาบาล ให้น้ำเกลือ และรักษาด้วยยาแก้ปวดลดไข้ ในบางรายแพทย์อาจจะมีการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และจะให้การรักษาตามอาการที่พบ สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปอดอักเสบ แพทย์ก็จะให้ยาต้านไวรัส ส่วนในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น แพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะ กินประมาณ 7-10 วัน

สรุปแล้วคนที่มีอาการคล้ายไข้หวัด หากมีอาการไข้สูง ปวดเมื่อยมาก เบื่ออาหาร ควรสงสัยว่าอาจจะเป็นไข้หวัดใหญ่ ต้องพิจราณาดูว่า มีอาการเสี่ยงต่อโรคปอดแทรกซ้อนหรือไม่ หรือมีอาการติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือไม่ ถ้าหากมั่นใจแล้วว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ให้รีบดูแลรักษาตนเอง หรือไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการให้แน่ชัด เพื่อจะได้ทำการรักษาต่อไป