โรคไข้เลือดออก อาการ การรักษา วิธีป้องกัน
ไข้เลือดออก หรือ DHF คือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มียุงลายเป็นพาหะ เกิดขึ้นได้จากการที่ยุงลายจะกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกก่อน แล้วจึงไปกัดคนข้างเคียง รัศมีไม่เกิน 400 เมตร ก็จะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นๆต่อไปได้ โรคนี้พบบ่อยในฤดูฝน และจะพบมากในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้ และมักจะมีการระบาดใหญ่ในทุกๆ 3 ปี ยุงชนิดนี้ชอบเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำ หนองน้ำนิ่ง หรือในบ้านเช่น น้ำในตุ่ม จานรองตู้กับข้าว แจกัน ยางรถ และยังเป็นยุงที่กัดคนในเวลากลางวัน
อาการของคนเป็นไข้เลือดออก
– มีไข้ขึ้นสูงฉับพลัน ตัวร้อนจัด ตัวร้อนไม่สร่างตลอดทั้งวัน กินยาลดไข้แล้วก็ไม่หาย
– เบื่ออาหาร ดื่มน้ำน้อย ปากคอแห้ง
– หน้าแดง ตาแดง ปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวร่วมด้วย
– มีจุดแดงขึ้นตามผิวหนัง ลำตัว แขนขา
– ปัสสะวะไม่ออก หรือออกน้อย ใจหวิว ตัวสั่น หน้ามืด เป็นลม
– เลือดกำเดาไหล
– ในรายที่ช็อคจะมีอาการเมื่อไข้ลดลง ผู้ป่วยจะซึม มือเท้าเย็น เหงื่อออกเยอะ หมดสติ เป็นลม และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
การดูแลรักษาตนเองจากโรคไข้เลือดออก
หากมีอาการตามที่กล่าวไว้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที แต่ถ้าหากแพทย์ให้กลับมาสังเกตอาการที่บ้าน ควรดูแลตัวเองดังนี้
1. นอนพักผ่อนให้มากๆ
2. ห้ามอาบน้ำเย็น และควรเช็ดตัวบ่อยๆ
3. ดื่มน้ำให้มากๆ ให้ได้วันละ 3-5 ลิตร จะช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำและเกิดภาะวะช็อคได้
4. ถ้าหากมีไข้ ให้ทานยาลดไข้ หรือ ยาพาราเซตามอล
– ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด
– เด็กโต ครั้งละ ครึ่ง-1 เม็ด
– เด็กเล็ก ใช้ชนิดน้ำเชื่อม ครั้งละ 1-2 ช้อนชา
สำหรับโรคไข้เลือดออกนั้น ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคที่ใช้โดยตรง เพราะเป็นโรคติดเชื้อไวรัส การรักษาที่สำคัญก็คือ การให้ร่างกายได้รับน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำและช็อกตามมาในระยะวิกฤต ต้องดื่มน้ำให้มากๆ หรือให้น้ำเหลือทางหลอดเลือดดำ โรคไข้เลือดออก ถือว่าเป็นโรคร้ายที่ยังพบได้บ่อย ถ้าละแวกบ้านมีโรคระบาด เมื่อมีไข้เกิดขึ้น จะมีไข้ตลอดเวลาหรือไม่ ควรรีบไปพบแทย์ให้แน่ใจ หากพบว่าติดเชื้อให้รีบรักษาดูแลตนเองตามข้อแนะนำของแพทย์จนกว่าจะปลอดภัย
Leave a Reply