Tag: oxytocin

  • ฮอร์โมนออกซิโทซิน ในการเจ็บท้องคลอด ทารกอาจเสี่ยงต่อโรคออติสซึ่มมากขึ้น

    ฮอร์โมนออกซิโทซิน ในการเจ็บท้องคลอด ทารกอาจเสี่ยงต่อโรคออติสซึ่มมากขึ้น

    ฮอร์โมนออกซิโทซิน ในการเจ็บท้องคลอด ทารกอาจเสี่ยงต่อโรคออติสซึ่มมากขึ้น ผลการวิจัยสุขภาพชิ้นล่าสุดชี้ว่าการชักนำให้เจ็บท้องคลอดด้วยฮอร์โมนออกซิโทซิน เพื่อให้ทารกคลอดเร็วขึ้นในกรณีที่มารดาคลอดลูกยาก อาจไปเพิ่มความเสี่ยงให้ทารกเกิดความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสมองประเภทออติสซึ่มได้ ราวหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของเด็กในสหรัฐมีความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสมองแบบอออติสซึ่ม ซึ่งมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านการสื่อสารและการเข้าสังคของตัวเด็กเอง ผลการศึกษาเรื่องนี้บางชิ้นพบว่าความบกพร่องนี้เกี่ยวพันกับปัจจัยของการเกิด อาทิ อายุของมารดา และ เด็กอาจคลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม สาเหตุของออติสซึ่มยังเป็นปริศนาอยู่ ทีมนักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลของการทำคลอดทารกหกหมื่นรายในรัฐนอร์ทแคโรไลน่า แล้วนำไปเทียบกับข้อมูลของโรงเีรียนเกี่ยวกับเด็กแต่ละคนเพื่อดูว่าเด็กคนไหนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออติสซึ่ม ทีมนักวิจัยพบว่าเด็กที่คลอดด้วยวิธีการเร่งคลอดเป็นออติสซึ่มมากกว่าเด็กที่คลอดปกติ แต่นักวิจัยไม่รู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อาจจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เรียกว่า ออกซิโทซิน (Oxytocin) ที่ให้เเก่หญิงท้องเพื่อทำให้มดลูกหดตัวเพื่อให้ทารกคลอดเร็วขึ้น นักวิจัยกล่าวว่าฮอร์โมนชนิดนี้เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางสังคมที่พบในเด็กที่เป็นออติสซึ่ม แพทย์ผู้ทำคลอดมักแนะนำวิธีทำคลอดเเบบใช้ฮอร์โมนเพื่อให้มดลูกหดตัว ก็ต่อเมื่อเห็นว่าชีวิตของมารดาหรือทารกกำลังตกอยู่ในอันตราย เขาย้ำว่าการรักษาชีวิตของมารดาและทารกสำคัญมากที่สุด สำคัญมากกว่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มในเด็ก ที่อาจจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากการชักนำให้เจ็บท้องคลอดด้วยการใช้ฮอร์โมนออกซิโทซิน

  • เชื่อหรือไม่ การมีคนใกล้ชิดนอนข้างตัว เป็นผลดีต่อสุขภาพและจิตใจ

    เชื่อหรือไม่ การมีคนใกล้ชิดนอนข้างตัว เป็นผลดีต่อสุขภาพและจิตใจ

    เชื่อหรือไม่ การมีคนใกล้ชิดนอนข้างตัว เป็นผลดีต่อสุขภาพและจิตใจ นักวิจัยการศึกษาการนอน ชี้ว่า ถ้าคนในครอบครัว หรือ คนใกล้ชิดได้นอนร่วมเตียงเดียวกัน จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย และในสมัยก่อนการนอนก่อนกัน ยังเป็นการช่วยป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายหรือศัตรู ซึ่งปัจจุบัน คนที่ได้นอนใกล้ชิดกันจะรู้สึกถึงความปลอดภัย และส่งเสริมให้สุขภาพจิตดี ผู้เชี่ยวชาญชี้ด้วยว่า การสัมผัสหรือโอบกอดระหว่างการนอน ทำให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมน Oxytocin หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนแห่งความรักออกมา และฮอร์โมนนี้มีผลในการช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดความดันโลหิต ส่งเสริมกระบวนการซ่อมแซมของร่างกาย รวมทั้งช่วยให้เกิดความรู้สึกรัก ผูกพัน และมีความมั่นคงของจิตใจด้วย อย่างไรก็ตามผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้แสดงถึงความสัมพัน์ระหว่างคุณภาพของการนอน กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสที่มีลักษณะสวนทางกันระหว่างสองเพศ คือสำหรับในเพศชายแล้วหากการนอนช่วงกลางคืนเป็นไปได้ดีและมีคุณภาพ เรื่องนี้ก็จะมีผลช่วยให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสในช่วงวันถัดไปเป็นไปอย่างราบรื่น แต่สำหรับในเพศหญิง หากความสัมพันธ์กับคู่สมรสในช่วงกลางวันเป็นไปได้ดีไม่มีปัญหา เรื่องนี้ก็จะช่วยให้ฝ่ายหญิงนอนหลับได้ดีอย่างมีคุณภาพในคืนนั้น

  • นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า ฮอร์โมน oxytocin มีส่วนช่วยบำบัดเด็กที่เป็นโรค autism

    นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า ฮอร์โมน oxytocin มีส่วนช่วยบำบัดเด็กที่เป็นโรค autism

    นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า ฮอร์โมน oxytocin มีส่วนช่วยบำบัดเด็กที่เป็นโรค autism ทีมนักวิทยาศาสตร์อเมริกันเปิดเผยว่าฮอร์โมน oxytocin  น่าจะมีส่วนช่วยปรับปรุงการทำงานของสมองในเด็กที่มีความบกพร่องของพัฒนาการทางสมองที่เรียกว่า autism ที่ทำให้เด็กขาดความสามารถในสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น การศึกษาวิจัยที่ค้นคว้าผลของ oxytocin ต่อเด็กที่เป็น autism เป็นผลสืบเนื่องมาจากการศึกษาหนูนาขนาดเล็กในสหรัฐและในแคนาดา ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า oxytocin มีบทบาทช่วยสร้างความสัมพันธ์ด้านจิตใจระหว่างแม่หนูและลูกหนู นักวิจัยพบว่าหนูนาที่อาศัยอยู่เป็นคู่จะมีระดับฮอร์โมน oxytocin ในระดับที่่สูง ในขณะที่หนูนาที่อยู่โดดเดี่ยวจะมีระดับฮอร์โมนตัวนี้ในระดับที่ต่ำกว่า เด็กในการทดลองกึ่งหนึ่งได้รับฮอร์โมน oxytocin ในรูปของสเปรย์ฉีดจมูกจำนวนหนึ่งครั้ง และเด็กจำนวนที่เหลือได้รับฮอร์โมนหลอก ทีมนักวิจัยทำการวิเคราะห์ภาพถ่ายสมองของเด็กในการศึกษาด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อดูการทำงานของระบบประสาทสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และพฤติกรรมทางสังคม โดยทั่วไป การทำงานของสมองส่วนนี้จะบกพร่องในเด็กที่เป็นออติสซึ่ม แต่ทีมนักวิจัยพบว่าในกลุ่มเด็ก autism ที่ได้รับฮอร์โมน oxytocin สมองส่วนนี้กลับเริ่ม ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นและเริ่มแสดงอาการตอบสนองเมื่อมองเห็นหน้าผู้อื่น อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ายังไม่สามารถนำการบำบัดแบบนี้ไปใช้ได้ทั่วไป