Tag: HIV
-
มี SEX ระหว่างมีรอบเดือนได้หรือไม่?
มี SEX ระหว่างมีรอบเดือนได้หรือไม่? ปัจจุบันนี้มีสตรีวัยรุ่นและวัยทำงานบางส่วนมีความเชื่อว่า การมีเซ็กซ์ระหว่างมีรอบเดือนนั้นจะสามารถป้องกันการมีบุตรได้ คุมกำเนิดไปได้ในตัว แถมเลือดยังช่วยหล่อลื่นได้ด้วย แต่ความจริงแล้วนี่เป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยงนะคะ เพราะการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการมีรอบเดือนนั้นจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เพิ่มโอกาสการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น พยาธิในช่องคลอด หนองใน หูดหงอนไก่ มากเป็นสามเท่ากว่าเวลาที่ไม่มีรอบเดือน เพราะในช่วงนี้ปากมดลูกจะเปิดออก ทำให้ได้รับเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ เข้าสู่โพรงมดลูกได้ง่าย อีกทั้งเลือดประจำเดือนเองยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเชื้อหนองในได้ดีด้วย การที่เยื่อบุโพรงมดลูกลอกหลุดนี้เองทำให้เชื้อสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้มากขึ้น เชื้อจึงลุกลามได้ง่าย สามารถเกิดการอักเสบได้จนถึงภายหลังการหมดรอบเดือนไปแล้ว 1-2 สัปดาห์ และที่ควรระวังมากก็คือ การติดเชื้อเอดส์ด้วย เพราะการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างมีเลือดหรือสารคัดหลั่งออกมา การติดเชื้อเอชไอวีจะเพิ่มสูงขึ้นทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง นอกจากเชื้อเอชไอวีแล้วก็ยังมีเชื้อเริมที่ปกติก็ติดต่อได้ง่ายอยู่แล้ว แต่หากเป็นช่วงมีรอบเดือนจะพบว่าโรคเริมกลับมาเป็นซ้ำมากกว่าเดิมทำให้แพร่เชื้อได้มากขึ้น สรุปว่าระหว่างการมีประจำเดือนควรเป็นช่วงที่งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ
-
เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เอดส์ ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งควบคุมได้
เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เอดส์ ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งควบคุมได้ แม้ว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์และเสียชีวิตจากโรคเอดส์จะเริ่มลดลงแล้วตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา แต่ปัจจุบันนี้กลับพบว่ากลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 21 ปี กลับมีการติดเชื้อมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นชายรักชาย และกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด ทั้ง ๆ ที่การป้องกันโรคเอดส์นั้นก็เป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย แต่เพราะความประมาท ความคึกคะนอง ความมึนเมา และความคิดว่าเอดส์เป็นเรื่องไกลตัว กลับเป็นความคิดอันตรายที่ทำให้เกิดผู้ติดเชื้อเอดส์มากขึ้น การมีเพศสัมพันธ์นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่หากจะมีเพศสัมพันธ์ให้ปลอดภัยและมีความสุขอย่างเต็มที่แล้ว การใช้ถุงยางอนามัยก็เป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ป้องกันการติดเชื้อเอดส์ได้ แล้วยังป้องกันการท้องไม่พึงประสงค์ สมัยนี้ถุงยางอนามัยถูกผลิตมาให้มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น การใช้ถุงยางจึงเป็นการเพิ่มสุขได้มากขึ้นด้วย นอกจากนี้แล้วการป้องกันเอดส์ที่ดีก็คือ ไม่ควรใช้เข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่นด้วย เพราะเอดส์สามารถติดต่อได้ทางเลือดเช่นกัน ในส่วนของยาต้านไวรัสในปัจจุบันนี้ สามารถระงับไม่ให้เชื้อมีการแบ่งตัวเพิ่มได้ แต่ต้องกินยาอย่างตรงเวลาและสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นเชื้อจะเพิ่มอย่างรวดเร็ว และเชื้อดื้อยาได้ ทำให้การรักษาต่อไปยุ่งยากมาก หรือไม่มียาที่รักษาได้อีกเลย ผู้ที่ติดเชื้อนั้นกว่าร้อยละ 90 หากมีวินัยในการกินยานานเกิน 6 เดือนแล้ว จะตรวจไม่พบเชื้อไวรัส HIV ในเลือด มีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคสูงขึ้น ไม่เจ็บป่วยและไม่แพร่เชื้อกับผู้อื่นรวมทั้งคู่นอนของตนเองด้วย ผู้ติดเชื้อที่เข้ามารับการวินิจฉัยและรักษาเร็วก็ยิ่งมีอายุยืนยาวได้กว่า 30-50 ปี ซึ่งต่างจากผู้ติดเชื้อที่ไม่รักษา อาจมีชีวิตต่อไปได้อีกแค่ 7…
-
ตระหนักถึงอันตรายจากวัณโรค
ตระหนักถึงอันตรายจากวัณโรค แม้ทุกวันนี้วิทยาการต่าง ๆ จะก้าวหน้าไปไกลมากแล้ว แต่วัณโรคก็ยังเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาของสาธารณสุขทั่วโลกอยู่ดี นั่นเป็นเพราะมีสาเหตุมาจากการระบาดของโรคเอดส์ ความยากจน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และการย้ายถิ่นฐานของประชากร วัณโรคจึงมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจากการคาดการณ์นั้นประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นถึงปีละกว่าแสนรายเลยทีเดียว วัณโรค มีต้นเหตุมาจากเชื้อที่ชื่อว่า Mycobacterium tuberculosis มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องดูได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น มักติดเชื้อได้กับอวัยวะทุกส่วนแต่ที่เป็นปัญหาและพบได้บ่อยที่สุดก็คือส่วนของปอดนั่นเอง สามารถติดต่อกันได้โดยเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม จะมีเชื้อออกมาปะปนกับละอองของเสมหะหรือน้ำลาย เมื่อผู้ที่อยู่คลกคลีใกล้ชิดสูดหายใจเข้าไปก็จะทำให้เกิดติดเชื้อวัณโรคได้ โดยผู้ป่วยวัณโรคจะสามารถแพร่กระจายเชื้อออกไปสู่ผู้อื่นได้ถึง 10-15 คนเลยเชียว! อาการที่เป็นที่สังเกตของวัณโรคก็คือ จะไอติดต่อกันถึงสองอาทิตย์ขึ้นไป มีไอออกมากับเสมหะ ร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก น้ำหนักลด เบื่ออาหาร และมักมีไข้ตอนบ่าย ๆ เมื่อพบว่ามีอาการเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยด่วน แต่ไม่ต้องหนักใจหรือกลัวไปเพราะโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เป็นเวลาหกถึงแปดเดือน ก็จะทำให้หายขาดจากโรคนี้ได้ องค์การอนามัยโลกเองก็เห็นความสำคัญในการรณรงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการหยุดยั้งวัณโรคนี้ แม้แต่ในส่วนของตัวผู้ป่วยเองก็มีส่วนร่วมในการหยุดยั้งได้โดยการพยายามรักษาตัวให้หายให้เร็วที่สุดและป้องกันการแพร่ระบาดไปสู่ผู้อื่น ในส่วนของผู้ให้บริการทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็น หมอ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ก็ต้องกระตือรือร้นในการค้นหาตัวผู้ป่วยจากผู้ที่น่าสงสัย รวมไปถึงการให้บริการรักษาให้ได้มาตรฐาน ในส่วนของภาคชุมชนทั้งตัวผู้นำชุมชนและประชาชนเองก็ควรมีควรรู้ความเข้าใจในเรื่องของวัณโรคนี้ ระดมถ่ายทอดความรู้ และนำมาช่วยกันควบคุมโรคภายในชุมชนด้วย จึงจะเป็นการช่วยกันป้องกันและหยุดยั้งการระบาดของวัณโรคได้อย่างเด็ดขาดค่ะ
-
ป้องกันภัยจาก…วัณโรค
ป้องกันภัยจาก…วัณโรค วัณโรค เป็นโรคติดต่อโรคหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเมื่อรับเชื้อมาแล้วจะยังไม่แสดงอาการทันทีทันใด และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเพราะผลกระทบจากโรคเอดส์ด้วย วัณโรคนี้สามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่คนอื่น ๆได้ด้วยการหายใจ จากผู้ป่วยที่มีเชื้อเสมหะอยู่ ไม่ว่าจะโดยการไอ จาม พูด โดยไม่ยอมปิดปากปิดจมูก เชื้อวัณโรคจะอยู่ในละอองที่ออกมาจากตัวผู้ป่วยและลอยอยู่ หากผู้ที่อยู่ใกล้หายใจเอาละอองฝอยนี้เข้าไปก็จะติดเชื้อวัณโรคและอาจป่วยเป็นวัณโรคได้ ผู้ที่รับเชื้อวัณโรคไม่จำเป็นต้องเป็นวัณโรคทุกคน เพราะทุกคนจะมีภูมิคุ้มกันที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคอยู่ เชื้อนั้นอาจถูกกำจัดออกไปด้วยภูมิคุ้มกันในร่างกาย แต่เมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ ก็จะเจ็บป่วยเป็นวัณโรค พบว่าผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ที่ทานยากดภูมิจะมีโอกาสเป็นวัณโรคได้มากกว่าคนทั่วไป วัณโรคนั้นสามารถเป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายได้ แต่ที่พบและเป็นปัญหามากที่สุดก็คือวัณโรคปอด อาการเริ่มต้นนั้นจะมีอาการไอติดต่อกันนานเกินกว่าสองอาทิตย์ รวมทั้งอาจมีอาการอื่นด้วยอาทิเช่น ไอมีเสมะเหลืองเขียว หรือมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก เป็นไข้ เหนื่อยหอบ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยด่วน ซึ่งการรักษาในปัจจุบันนี้ก็มียารักษาที่ใช้เวลารักษา 6-8 เดือนก็หายขาดได้ ขอให้มีวินัยในการกินยาทุกวันและทุกเม็ดให้ครบถ้วนก็สามารถรักษาให้หายได้แล้ว ผู้ป่วยควรรีบรักษาตัวให้หาย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ระหว่างการรักษาควรปิดปากจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม โดยการใส่หน้ากากอนามัยให้มิดชิด หรือใช้ผ้าปิดปากจมูกทุกครั้งที่อยู่ร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ยิ่งประชาชนในประเทศและในโลกนี้ร่วมมือกันหยุดยั้งวัณโรคมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งเป็นการควบคุมและหยุดยั้งวัณโรคได้มากขึ้นเท่านั้นค่ะ
-
ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอดส์ รวมทั้งการถูกข่มขืน
ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอดส์ รวมทั้งการถูกข่มขืน สถานการ์ของโรคเอสด์ในโลกขณะนี้นั้นมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้วสามสิบกว่าล้านคน และเสียชีวิตไปแล้วเกือบสองล้านคน แม้ในแต่ประเทศไทยเอง ก็มีผู้ป่วยโรคเอดส์ถึงกว่าสี่แสนคนแล้วด้วย ทั้งหมดนี้ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ถึงร้อยละ 84 ร้อยละ 4 เกิดจากการใช้ยาเสพติดชนิดฉีด และร้อยละ 3.6 เกิดจากการติดเชื้อจากแม่ลูกสู่ ในแต่ละปีประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่นับหมื่นคน และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ การป้องกันตนเองจากเชื้อเอดส์ที่ดีที่สุดนั้นก็คงไม่พ้นการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ แต่แม้จะใช้ทุกครั้ง ก็ยังพบว่ามีผู้ติดเชื้อเอดส์จากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเพิ่มขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการถูกข่มขืน การโดนมอมยา หรือเมาจนไม่ได้สติ ฯลฯ ดังนั้นแล้วเราจึงควรหาทางป้องกันตนเองจากเหตุไม่คาดคิดเหล่านี้ไว้ก่อนดีกว่า ด้วยการนำเอาข้อควรระวังเหล่านี้ไปใช้ค่ะ – ไม่ควรเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลม หลีกเลี่ยงการอยู่ตามลำพังกับเพศตรงข้ามในที่ลับตาคน เพราะอะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้เสมอ (แม้แต่เพศเดียวกันก็ตามที) – การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาจทำให้ขาดสติ เสี่ยงต่อการถูกมอมยา และการล่อลวงให้ใช้ยาเสพติด ฯลฯ เหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ไม่พึงประสงค์ และขาดสติในการมีเพศสัมพันธ์ด้วย – แม้แต่การไปเที่ยวในสถานเริงรมย์ที่มีบรรยากาศเป็นใจ ก็อาจเป็นชนวนยั่วยุให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ได้ ยิ่งหากดื่มเหล้าด้วย ความเสี่ยงก็ยิ่งสูง – สำหรับสื่อยั่วยุอารมณ์ทางเพศ หากดูคนเดียวแล้วบรรเทาความต้องการของตัวเองได้ก็โอเค แต่หากคุณดูกับคนอื่น มันก็เสี่ยงมากอยู่เหมือนกันที่อารมณ์จะเตลิดจนยับยั้งไม่อยู่ – สำหรับสาว ๆ…
-
ประมวลผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
—
by
ประมวลผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง จากสถิตินับถึงปีปัจจุบันพบว่าคนไทยนั้นเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และมีอัตราการตายจากโรคนี้เพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนตอนนี้โรคมะเร็งกลายเป็นสาเหตุการตายอันดับที่หนึ่ง แซงหน้าอุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งโรคปอดไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับหนึ่งก็คือ มะเร็งตับ รองลงมาเป็นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และก็มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งได้แก่ – ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก นั่นคือการได้รับสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนจากอาหาร, การได้รับรังสีเอกซ์, รังสียูวีจากแสงแดด, การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบทุกชนิด, การติดเชื้อไวรัสแพบพิลโลมา, พยาธิใบไม้ตับ รวมถึงการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ด้วย ฯลฯ – ปัจจัยจากความผิดปกติภายใน เช่น พันธุกรรม, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะทุพโภชนาการ ฯลฯ ซึ่งเราสามารถสรุปกลุ่มผู้ที่เสี่ยงต่อการมะเร็งได้ดังนี้ 1. กลุ่มที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ 2. กลุ่มที่สูบบุหรี่ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทางเดินหายใจ มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง แล้วหากดื่มเหล้าด้วยก็อาจเป็นมะเร็งช่องปากในลำคอได้อีก 3. กลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือทานอาหารที่ปนเปื้อนอะฟลาทอกซิล ที่เป็นเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหาร ทั้งพริกป่น ถั่วลิสงป่น ฯลฯ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ แล้วถ้าได้รับทั้งสองชนิดก็มีโอกาสในการเป็นมะเร็งตับเพิ่มมากขึ้น 4. กลุ่มที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ และทานอาหารที่ใส่ดินประสิว…
-
การป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วยโรคเอดส์
การป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วยโรคเอดส์ การป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงติดเชื้อได้ง่าย ผู้ดูแลจำเป็นต้องป้องกันผู้ป่วยมิให้รับเชื้อโรคซึ่งมีวิธีการดังนี้ 1. การล้างมือ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำลายเชื้อโรคให้ล้างมือบ่อยๆ ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ ล้างมือก่อนทำอาหาร ก่อนป้อนอาหาร ก่อนอาบน้ำให้ผู้ป่วย ต้องล้างมือทุกครั้งเมื่อจามหรือไอ หรือเอามือจับจมูก ปาก อวัยวะเพศ เมื่อคนดูแลเปลื้อนเลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิจะต้องล้างมือทันที วิธีการล้างให้ล้างด้วยน้ำอุ่นและสบู่ 15 วินาที 2. ปิดแผลของท่าน ถ้าท่านมีแผลหรือตุ่มน้ำที่ผิวหนังหรือ การอักเสบที่ผิวหนังต้องระวังเป็นพิเศษที่จะนำเชื้อไปติดผู้ป่วยและอาจจะติดเชื้อจากผู้ป่วย ท่านมีแผลต้องใช้พลาสเตอร์ปิดแผลสวมถุงมือ 3. แยกคนไม่สบายออกจากผู้ที่ติดเชื้อ หากมีสมาชิกในครอบครัวปวดเป็นไข้หวัดหรือโรคอื่นต้องแยกจากผู้ที่ติดเชื้อ HIV หากเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องสวมหน้ากาก ปิดปากและจมูก 4. ห้ามคนไข้สุกใสเข้าใกล้ผู้ป่วย ไข้สุกใสอาจจะทำให้ผู้ป่วย HIV เสียชีวิตได้ดังนั้นผู้ที่เป็นไข้สุกใสต้องไม่อยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยจนกระทั่งผื่นแห้ง สำหรับผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยที่เป็นไข้สุกใสหากจะไปเยี่ยมผู้ที่ติดเชื้อ HIV ต้องหลัง 3 สัปดาห์ ผู้ที่เป็นงูสวัดก็ไม่ควรเยี่ยมผู้ป่วยติดเชื้อ HIV และถ้าท่านอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคไข้สุกใสและท่านต้องดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ท่านต้องสวมหน้ากากปิดปากปิดจมูก ล้างมือก่อนที่จะไปช่วยเหลือคนไข้ และอยู่ในห้องคนไข้ให้น้อยที่สุด ถ้าหากผู้ที่ติดเชื้อ HIV สัมผัสผู้ป่วยไข้สุกใสหรือโรคงูสวัดต้องแจ้งแพทย์ทราบทันที 5. สมาชิกของผู้ที่ติดเชื้อ HIV ควรจะได้รับการฉีดวัคซีนให้ครบเพื่อป้องกันโรคติดต่อไปยังผู้ป่วยและเพื่อให้แน่ใจอาจจะต้องฉีดกระตุ้นอีกครั้ง…
-
รู้จักการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ HIV
รู้จักการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ HIV วิธีการป้องกันโรคเอดส์ที่ดีที่สุด และทุกๆคนสามารถทำได้ คือ การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และสิ่งที่ควรเลี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์นั้น ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของเราด้วย แต่ที่สำคัญ เราต้องลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคเอดส์ทั้งหมด เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และอีกหลายๆอย่าง ในสมัยก่อยผู้ที่เป็นรักร่วมเพศ มักจะมีเปอร์เซ็นต์ติดเชื้อ HIV ได้มากกว่า ผู้หญิงหรือผู้ชาย แต่ในปัจจุบันกลับพบว่า เชื้อ HIV พบได้ใน วัยรุ่น คนทำงาน ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น แม่บ้าน คือสามารถพบได้ทั่วๆไป ดังนั้นทุกคนเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV หากไม่ป้องกันหรือประมาท โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ดังนั้นเรามาดูวิธีการป้องกัน และหลีกเลี่ยงไม่ให้ติดเชื้อ HIV กันดูค่ะ การป้องกันการติดเชื้อ HIV จากเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อ HIV จะสามารถติดต่อทางเยื่อเมือก (mucous membranes)เช่น ปลายอวัยวะเพศชาย ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หากเยื่อเมือกเหล่านี้ได้รับเชื้อ HIV จาก น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นของทั้งหญิงและชาย เลือด ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ – วิธีป้องกันที่ได้ผลมากที่สุดแต่ทำยากที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น…
-
อาการและแพร่กระจายของโรคเอดส์
อาการและแพร่กระจายของโรคเอดส์ อาการและการดำแนินโรคของโรคเอดส์ 1. โรคเอดส์มีกี่ระยะ แต่ละระยะมีอาการอย่างไร โรคเอดส์แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ระยะที่ไม่ปรากฏอาการ (Asymptomatic Stage or Carrier Stage) หรือเรียกว่า ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ สุขภาพจะแข็งแรงสมบูรณ์เหมือนคนปกติทุกประการ แต่อาจจะเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆเช่นเดียวกับคนปกติอื่นๆ เป็นไข้หวัด ซึ่งจะหายใจได้เหมือนปกติทั่วไป ไม่มีโรคแทรกซ้อน บางคนอาจจะอยู่ในระยะนี้ 2-3 ปีก่อนที่จะเข้าสู่ระยะต่อไปโดยเฉลี่ยประมาณ 7-8 ปีแต่บางคนอาจจะไม่มีอาการนานถึง 10 ปี หรือนานกว่านั้นก็ได้ ผู้ติดเชื้อทุกรายที่อยู่ในระยะนี้แม้จะไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อให้กับบุคคลอื่นๆ ได้ ระยะที่ 2 ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ (Aids Related Complex หรือ ARC) ระยะนี้นอกจากมีเลือดบวกแล้ว ยังอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างปรากฏ ให้เห็นได้ เช่น – ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน – น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วมากกว่า 10% ของน้ำหนักตัวใน 1 เดือน –…
-
โรคเอดส์กับการตั้งครรภ์
โรคเอดส์กับการตั้งครรภ์ โรคเอดส์กับการตั้งครรภ์ 1. หญิงที่ติดเชื้อเอดส์ ควรปล่อยให้ตั้งครรภ์หรือไม่ ไม่ควร เพราะการตั้งครรภ์อาจกระตุ้นให้หญิงที่ติดเชื้อนั้นมีอาการป่วยของโรคเอดส์เร็วขึ้น นอกจากนี้หากทารกคลอกออกมาก็มีโอกาสได้รับเชื้อจากแม่ได้ 2. อัตราเสี่ยงของทารกที่เกิดจากมารดาที่มีเชื้อเอดส์มีมากน้อยเพียงใด หญิงที่มีเชื้อเอดส์อยู่ในร่างกายสามารถแพร่เชื้อไปยังทารกในครรภ์ได้ประมาณ20-40? ของทารกที่เกิดมา และทารกที่ติดเชื้อจะมีอาการเป็นโรคเอดส์ และตายในเวลาประมาณ 2-5ปี ผู้ติดเชื้อเอดส์แล้วจะมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยได้หรือไม่ > ได้ แต่เนื่องจากเชื้อเอดส์ออกมากับน้ำหลั่งจากอวัยวะเพศ เช่น น้ำจากช่องคลอด น้ำอสุจิ จึงทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อเอดส์ไปยังคู่นอนได้ ผู้ที่ติดเชื้อควรทราบความจริง มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์และแนวทางการปฏิบัติตัวที่จะไม่ให้เชื้อเอดส์แพร่ไปสู่ผู้อื่นได้เช่น ใช้ถุงยางอนามัยในการร่วมเพศโดยแน่ใจว่าถุงยางนั้น ไม่ชำรุด และปฏิบัติตามหลักการ “การมีเพศสัมพันธ์อย่าง ปลอดภัย” เป็นต้น การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (Safe Sex) ต้องทำอย่างไรบ้างการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (Safe Sex) คือการร่วมเพศกับเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันจนสำเร็จความใคร่ด้วยวิธีที่ปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเอดส์ ซึ่งจะปฏิบัติดังนี้คือ – พยายามเล้าโลมด้วยการกอดจูบลูบคลำตามร่างกาย – จูบตามร่างกายได้ รวมทั้งจูบตามริมฝีปากได้ แต่ห้ามจูบอย่างดูดดื่มระวังอย่าให้น้ำลายเข้าไปในปากฝ่ายตรงข้ามในปริมาณที่มากพอ รวมทั้งห้ามใช้ลิ้นสอดเข้าไปด้วย – ห้ามสอดอวัยวะเพศเข้าไปในช่องคลอด ทวารหนัก หรือปากของฝ่ายตรงข้าม – พยายามใช้ส่วนของร่างกาย (ซึ่งไม่มีแผล) ที่เป็นร่องเช่นร่องขา ร่องแขน ร่องหน้าอก…