Tag: gene

  • กรณีการผ่าตัดเต้านมของ Angelina Jolie ทางเลือกของผู้มีความเสี่ยงมะเร็งเต้านม

    กรณีการผ่าตัดเต้านมของ Angelina Jolie ทางเลือกของผู้มีความเสี่ยงมะเร็งเต้านม

    กรณีการผ่าตัดเต้านมของ Angelina Jolie ทางเลือกของผู้มีความเสี่ยงมะเร็งเต้านม เนื่องจาก มารดาของนักแสดง Angelina Jolie เสียชีวิตโดยมะเร็งที่รังไข่เมื่อมีอายุเพียง 56 ปี และการตรวจเชื้อพันธุ์ (Gene Testing) ระบุว่า Angelina Jolie มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึง 87% และ 50% สำหรับมะเร็งรังไข่ นั้นคือสาเหตุที่นักแสดงสาวผู้นี้ ตัดสินใจผ่าเต้านมออกทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้อวงกันโรคมะเร็ง แม้ในขณะนี้เธอยังจะปลอดเชื้อจากโรคร้ายนี้อยู่ การศึกษาของแพทย์พบว่า การกลายพันธุ์ของ Gene โดยเฉพาะ BRCA 1 และ 2 ซึ่งเป็นเชื้อพันธุ์สำคัญสำหรับมะเร็งเต้านมและรังไข่ เพิ่มโอกาสการเป็นโรคร้ายทั้งสองนี้นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยยังพบด้วยว่า ถ้าผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งที่สืบเนื่องกับ BRCA 1 และ 2 ตั้งแต่อายุยังน้อย ลูกสาวอาจเป็นมะเร็งนั้นๆในอายุที่น้อยกว่าเมื่อมารดาเป็น ถ้ารับถ่ายทอดเชื้อพันธุ์นั้นมาจากมารดา และแม้ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมเพราะเชื้อพันธุ์ BRCA จะมีอัตราการอยู่รอดเท่ากับผู้หญิงอื่นๆที่เป็นโรคเดียวกัน นายแพทย์ Marc Boisvert ของโรงพยาบาล Medstar Washington บอกว่า มีความแตกต่างกันอย่างมากในหมู่ผู้หญิงเหล่านี้นายแพทย์ผู้นี้บอกว่า…

  • นักวิจัยพบว่า มารดามีน้ำหนักตัวน้อยและเคยผ่าตัดลดน้ำหนัก ทำให้ลูกที่เกิดไม่เป็นโรคอ้วน

    นักวิจัยพบว่า มารดามีน้ำหนักตัวน้อยและเคยผ่าตัดลดน้ำหนัก ทำให้ลูกที่เกิดไม่เป็นโรคอ้วน

    นักวิจัยพบว่า มารดามีน้ำหนักตัวน้อยและเคยผ่าตัดลดน้ำหนัก ทำให้ลูกที่เกิดไม่เป็นโรคอ้วน นักวิจัยแคนนาดา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ปกติด มารดาที่อ้วน เมื่อคลอดลูกออกมา ลูกก็มักจะอ้วนด้วย แต่ในงานวิจัยเรื่องนี้ได้พบว่า การที่มารดาน้ำหนักตัวน้อย หรือก่อนตั้งครรภ์ได้มีการผ่าตัดลดน้ำหนักนั้น จะทำให้เด็กที่เกิดมาไม่อ้วน และยังมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจในตอนอายุมาก น้อยลง รายงานนี้ยังพบว่า เชื้อพันธุ์หรือ gene ที่เกี่ยวโยงกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่สืบเนื่องกับความอ้วนของเด็กที่เกิดหลังการผ่าตัดของมารดา ทำงานแตกต่างไปจาก gene ในเด็กที่เกิดก่อนการผ่าตัด ซึ่งนักวิจัยตีความว่า เด็กที่เกิดทีหลังอาจได้เปรียบทางด้านสุขภาพมากกว่าพี่ๆที่เกิดก่อน แต่อย่างไรก็ตาม นักวิจัยย้ำว่า การดูแล และโภชนาการของเด็ก ยังมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพเด็กที่เกิดทีหลังอยู่ต่อไป งานวิจัยครั้งนี้ ชี้แนวทางการวิเคราะห์ไว้ว่า ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า มารดาถ่ายทอดเชื้อพันธุ์ หรือ gene ที่แตกต่างให้กับลูกที่เกิดทีหลัง หากแต่เป็นการบ่งชี้ว่า การทำงานของเชื้อพันธุ์ในตัวเด็กเปลี่ยนไป และแสดงให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมและโภชนาการตั้งแต่แรกเริ่ม ส่งผลกระทบระบบการเผาผลาญของร่างกายที่กำลังพัฒนาในตัวทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาได้