Tag: ไอเรื้อรัง

  • การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุนั้นจะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยจากสาเหตุสี่ประการได้แก่ 1. ความเสื่อมโทรมลงของอวัยวะซึ่งเป็นไปตามวัย 2. พฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเท่าที่ผ่านมา 3. การเปลี่ยนแปลงไปของเซลล์ภายในร่างกาย 4. ปัจจัยที่ถ่ายทอดกันมากทางพันธุกรรม หลายโรคนั้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกินที่ควรกินให้ครบหมู่ แต่ให้เน้นผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มจัด ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นออกกำลังกายในแบบที่ชอบ เพื่อลดภาวะอ้วนน้ำหนักเกินอันเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังได้อีกหลายโรคไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย การพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐานจึงเป็นมาตรการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย ในผู้สูงอายุนั้นควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้เป็นพิเศษ เช่น สังเกตว่ามีแผลเรื้อรังไม่หายบ้างหรือเปล่า มีปัญหาการกลืนหรือย่อยอาหารหรือไม่ รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ท้องเสีย ท้องผูกเรื้อรังบ้างหรือเปล่า ฯลฯ เหล่านี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดต่อไป โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุนั้นสามารถป้องกันและดูแลตนเองเพื่อลดความรุนแรงได้ อย่างเช่น – โรคไขข้อเสื่อม ควรดูแลไม่ให้น้ำหนักมากเกินจนไปส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเกิน หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรง ทนุถนอมข้อเข่าให้มาก ๆ อย่างเคลื่อนไหวร่างกายหรือบิดข้อมากเกินไป ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สบาย หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเพื่อลดการแรงกระทำต่อข้อ ป้องกันการหกล้มด้วยการฝึกเดินหรือใช้เครื่องพยุงร่างกาย ปรับสภาพแวดล้อในบ้านด้วยการทำพื้นไม่ให้ลื่น…

  • ใช้ชีวิตอย่างไรห่างไกลวัณโรค

    ใช้ชีวิตอย่างไรห่างไกลวัณโรค

    ใช้ชีวิตอย่างไรห่างไกลวัณโรค วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่มนุษย์รู้จักมานานนับพัน ๆ ปีแล้ว เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่า มัยโคแบคทีเรีย ทูเบอร์คูโลซิส มีรูปร่างเป็นแท่ง ต้องย้อมสีและส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้นจึงจะมองเห็นได้ สามารถติดเชื้อได้แทบทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ส่วนมากจะเกิดขึ้นที่ปอด เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายจากได้เวลาผู้ป่วยไอหรือจาม ละอองเสมหะจะฟุ้งกระจาย เมื่อสูดเข้าไปจะเกิดการติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรคได้ วิธีการสังเกตว่าตนเองป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ก็คือ ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรังนานเกินกว่าสองสัปดาห์ มีเสมหะสีเขียวหลืองหรือเสมหะปนเลือด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีไข้เวลาบ่าย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ในด้านของการรักษานั้น เน้นความสม่ำเสมอของผู้ป่วยที่ต้องกินยาให้ตลอดระยะเวลาการรักษา ทั้งยังต้องมีพี่เลี้ยงเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และสมาชิกในครอบครัวช่วยดูแลการกินยาของผู้ป่วย พร้อมทั้วให้คำแนะนำและให้กำลังใจ คอยแนะนำในระหว่างที่อาจมีอาการแพ้ยา ให้ผู้ป่วยให้ทานยาได้ตลอดระยะเวลาจนกว่าแพทย์จะสั่งหยุดยาเอง ในระยะแรกที่เข้ารับการรักษาเมื่อกินยาวัณโรคไปแล้ว ประมาณสองถึงสามอาทิตย์อาการจะดีขึ้น แต่ยังไม่หายต้องกินยาต่อไปจนกว่าจะครบหกหรือแปดเดือนจึงจะหายสนิท ในระยะที่กำลังรักษาตัวผู้ป่วยวัณโรค ควรป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ด้วยการปิดปากและจมูกทุกครั้งเวลาไอหรือจาม ไม่บ้วนเสมหะทิ้งบนพื้น แต่ควรบ้วนในภาชนะแล้วนำไปทิ้งในโถส้วม ฝังดิน หรือเผาให้เรียบร้อย แม้โรคนี้จะร้ายแรงแต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วย การดูแลเอาใจใส่สุขภาพ จะทำให้ห่างไกลจากวัณโรคและทำให้ผู้ป่วยหายได้เร็วขึ้นด้วยการปฏิบัติตามข้อแนะนำได้แก่ – การกินยาให้หมดทุกเม็ด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง – หากมีอาการแพ้ยาควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที – ทานอาหารที่มีประโยชน์ งดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ – พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ – พยายามทำใจให้สบายอย่างเคร่งเครียด…

  • ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนนิสัย ห่างไกลโรคกรดไหลย้อน!!!

    ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนนิสัย ห่างไกลโรคกรดไหลย้อน!!!

    ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนนิสัย ห่างไกลโรคกรดไหลย้อน!!! เดี๋ยวนี้การใช้ชีวิตในปัจจุบันต่างก็สร้างปัญหาความเครียดขึ้นได้ง่าย ๆ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ กับร่างกายอย่างไม่อาจหาที่มาได้  และหนึ่งในโรคนั้นก็คือโรคกรดไหลย้อนด้วย  โดยโรคนี้นั้นคือภาวะที่เกิดน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดจากในกระเพาะอาหาร  แต่มีบ้างอยู่เหมือนกันที่เป็นด่างจำลำไส้เล็ก  เมื่อกรดไหลย้อนขึ้นมาอาจทำให้เกิดอาการหลอดอาหารอักเสบหรือไม่ก็ได้  ซึ่งสาเหตุของโรคนี้มีได้หลายแบบ เช่น  หลอดอาหารเกิดการคลายโดยโดยไม่ยังไม่กลิน  หรือ ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดต่ำลงกว่าปกติ  หรือแม้กระทั่งเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าในหลอดอาหารก็ได้  กรดจึงไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมากขึ้น  ทำให้กระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารบีบตัวผิดปกติ  แล้วยังอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิดและมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมด้วย โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ  โดยเฉพาะผู้ที่พฤติกรรม เช่น อ้วน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กำลังตั้งท้อง เป็นเบาหวาน  เป็นโรคผิวหนังแข็ง ฯลฯ  แล้วยังเกิดจากผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิตหรือยาต้านโรคซึมเศร้าได้อีกด้วยเช่นกัน  สำหรับเด็กนั้นพบได้ทุกวัน  โดยจะสังเกตเห็นอาการได้คือ มักจะมีการอาเจียนหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย  หอบหืด ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบเรื้อรัง  และอาจมีอาการหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย อาการของโรคกรดไหลย้อนนี้ จะมีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ไล่ขึ้นมาถึงหน้าอก และถึงคอ  มักกำเริบขึ้นมาในช่วงหลังอาหารมื้อหนัก  การยกของหนัก การนอนหงาน การโน้มตัวไปข้างหน้า  รวมทั้งมีอการเรอเปรี้ยวด้วย  ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองอย่างก็ได้  ซึ่งการรักษานั้นจะทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นด้วยการรักษาแผลในหลอดอาหารและป้องกันผลแทรกซ้อน  ให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  การให้ยา การส่องกล้อง การรักษาและผ่าตัด …