Tag: ไวรัสอีโบล่า
-
เผยยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อ “อีโบลา” พุ่ง 90 ศพ พบในประเทศมาลีเป็นที่แรก
เผยยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อ “อีโบลา” พุ่ง 90 ศพ พบในประเทศมาลีเป็นที่แรก หน่วยข่าวเอเจนซีส์ และ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ เผยยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อมรณะ “อีโบล่า” ในพุ่งทะลุกว่า 90 ศพแล้วในทวีปแอฟริกาตะวันตก ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 5 เมษายน ซึ่งผู้เสียชีวิตรายแรกนั้นยืนยันว่าเป็นประเทศมาลี อีกทั้งองค์การแพทย์ไร้พรมแดนยังเปิดเผยในวันเดียวกันอีกว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตจากเชื้อในในประเทศกีนีและไลบีเรียเพิ่มมากกว่า 90 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป้นผู้เสียชีวิตในประเทศกินีอยู่ 86 คน และยังมีแนวโน้มพบผู้เสียชีวิตเพิ่ม จากแถลงการณ์ของรัฐบาลประเทศมาลีที่กรุงบามาโก ยืนยันผลจาการตรวจสอบในห้องแลปที่สหรัฐอเมริกาว่าพบผู้เสียชีวิตรายแรกเป็นเหยื่อของเชื้อ “อีโบล่า” แล้ว โดยผู้ที่เสียชวิตนี้ไม่มีการเปิดเผยชื่อเป็นหนึ่งในสามของผู้ที่ติดเชื้อในประเทศมาลี ซึ่งการระบาดครั้งล่าสุดของไวรัสชนิดนี้ยังไม่มีทางรักษา เกิดขึ้นในป่าลึกของภาคตะวันออกเฉียงใต้ของกินีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แล้วจึงระบาดไปยังประเทศข้างเคียงอย่างเซียร์ราลีโอนและประเทศไลบีเรีย และล่าสุดมีรายงานว่าประเทศแกมเบียกักตัวผู้ต้องสงสัยไว้ 2 ว่าอาจเกิดการติดเชื้อไวรัสมรณะนี้ไว้ดูอาการก่อน นับตั้งพบการระบาดของไวรัสชนิดนี้ตั้งแต่ปี 1976 ในประเทศคองโก ก็พบผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 1,500 ราย ไวรัสชนิดนี้นั้นมีอัตราผู้เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 90 เลยทีเดียว
-
นักวิจัยอเมริกัน เร่งพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสแบบครอบจักรวาล
นักวิจัยอเมริกัน เร่งพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสแบบครอบจักรวาล เชื้อไวรัสมีลักษณะประหลาดอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะตายไปแล้ว เชื้อไวรัสมีโครงสร้างทั่วไปทางพันธุกรรมที่ช่วยให้มันก่อให้เกิดโรคได้ แต่เชื้อไวรัสไม่มีความสามารถแพร่พันธุ์ได้ในตัว เหมือนกับเชื้อเเบคทีเรีย ที่แตกตัวเพิ่มจำนวนขึ้นจากดีเอ็นเอของตัวมันเองหลังจากเข้าไปในร่างกายของคน นักวิจัยอเมริกันค้นพบสารเคมีกลุ่มหนึ่งที่หยุดยั้งเชื้อไวรัสที่เข้าไปในเซลล์ของผู้ติดเชื้อไม่ให้แตกตัวเพิ่มรวมทั้งเชื้อไวรัสมาร์บวก (Marburg) เชื้อไวรัสอีโบล่า (Ebola) ที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกชนิดหนึ่งและเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดและคางทูม แต่นักวิจัยพบว่าสารเคมีที่ค้นพบไม่สามารถสกัดกั้นการแพร่ตัวของเชื้อไวรัสได้ทุกชนิดและใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์เนื่องจากเชื้อไวรัสเอดส์เข้าไปในตัวเซลล์และแทรกแซงการทำงานของเซลล์แตกต่างไปจากเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ นักวิจัยหวังว่าผลการศึกษานี้อาจจะนำไปสู่การพัฒนายาต้านไวรัสแบบครอบจักรวาลเพื่อบำบัดการติดเชื้อไวรัสที่ยังรักษาไม่ได้ในปัจจุบัน คล้ายๆกับยาปฏิชีวนะที่ใช้บำบัดการติดเชื้อเเบคทีเรีย ทีมงานต้องการค้นหาตัวยาที่มีประสิทธิภาพในการสกัดกั้นระบบการแตกตัวของเชื้อไวรัสในเซลล์ร่างกายผู้ติดเชื้อเพื่อไม่ให้เกิดโรค หากทำได้ ก็จะเป็นหนทางนำไปสู่การพัฒนายาตัวใหม่ขึ้นมาบำบัดการติดเชื้อไวรัสเหล่านี้ได้ในอนาคต