Tag: ไวรัสอีโบลา

  • ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว

    ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว

    ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา ในประเทศชายฝั่งทวีปแอฟริกาตะวันตกยังพุ่งไม่หยุด เพิ่มเป็น 86 รายแล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสไข้เลือดออกอีโบลา ในทวีปแอฟริกาทางตะวันตกเมื่อ 5 เม.ย.ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นเป็น 86 รายแล้ว จากจำนวนผู้ป่วยที่ต้องสงสัยติดเชื้ออีโบลาทั้งหมด 137 ราย ที่น่าวิตกคือ การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก นับตั้งแต่พบการระบาดในภูมิภาคนี้ครั้งแรกที่เมืองกูเกดัว ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกินี ใกล้ชายแดนติดกับประเทศเซียร์รา ลีโอน และไลบีเรีย ตามรายงานของ WHO ระบุด้วยว่า มีผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลา ในกรุงโกนากรี เมืองหลวงของสาธารณรัฐกินี เสียชีวิตเพิ่มอีก 5 ราย ด้วยเหตุนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทางการกินีต้องรีบแจ้งเตือนประชาชนในเมืองหลวงและเมืองต่างๆ ถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสอีโบลาในเวลานี้ ทั้งนี้ ที่ประเทศไลบีเรีย มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสอีโบลา ซึ่งจัดเป็นหน่ึ่งในไวรัสที่อันตรายที่สุดในยุคนี้แล้ว 7 ราย จากจำนวนผู้ป่วยที่ต้องสงสัยติดเชื้อ 14 ราย ขณะที่ประเทศเซียร์รา ลีโอน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย

  • แพทย์เตือน ไวรัส อีโบลา กลับมาระบาดหนักอีกรอบ

    แพทย์เตือน ไวรัส อีโบลา กลับมาระบาดหนักอีกรอบ

    แพทย์เตือน ไวรัส อีโบลา กลับมาระบาดหนักอีกรอบ เชื้อไวรัสอีโบลา จัดเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่งในโลก  นับตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อครั้งแรกที่ประเทศซาอีร์และประเทศซูดานในทวีปแอฟริกา  เมื่อปี 2519  โดยการระบาดสองครั้งแรก เป็นการระบาดครั้งใหญ่ ทำให้มีผู้ล้มป่วยมากกว่า 550 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 340 ราย ซึ่งนับเป็นอัตราการตายที่สูงมาก และการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาก่อนหน้านี้ เกิดที่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ระหว่าง เดือนพฤษภาคม ถึงพฤศจิกายน ปี 2555 มีผู้ติดเชื้อ 62 ราย ในจำนวนนี้เสียชีิวิต 34 ราย ตามที่มีรายงานข่าวพบเชื้อไวรัสอีโบลาระบาดในประเทศสาธารณรัฐกินี องค์การอนามัยโลก สรุปยอดผู้ป่วย ณ วันที่ 27 มีนาคม 2557 ยืนยันพบผู้ป่วย 106 ราย เสียชีวิต 66 ราย คิดเป็นอัตราตายร้อยละ 64 ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีรักษา โดยเชื้อไวรัสอีโบล่าสามารถแพร่ระบาดได้จากการสัมผัสเลือด อุจจาระ หรือเหงื่อของผู้ป่วยโดยตรง หรือมีเพศสัมพันธ์ หรือสัมผัสศพผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ โดยไม่มีการป้องกัน แพทย์ไทยเผยว่า เชื้อไวรัสนี้สามารถติดได้จากการสัมผัสเลือด…