Tag: ไวรัสลงลำไส้
-
พึงระวังโรคไวรัสลงลำไส้ ในเด็กอายุ 1 ขวบ
พึงระวังโรคไวรัสลงลำไส้ ในเด็กอายุ 1 ขวบ อาการท้องเสียในเด็กวัย 2-3 เดือนแรกนั้นมักจะเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อโรค จากการดูแลขวดนมไม่สะอาดเพียงพอ เช่น ไม่ได้ต้มขวดนมหรือจุกนม แต่ในช่วง 4-6 เดือน มักจะเกิดจากการที่เด็กมักชอบหยิบของเข้าปาก หรือชอบดูดนิ้วมือ แต่ในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปนั้น อาการท้องเสียมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียกกันว่า โรคไวรัสลงลำไส้ ซึ่งเกิดจากอาหารเป็นพิษ โดยมีต้นเหตุคือไวรัสโรต้า โดยเด็กจะมีอาการดังต่อไปนี้ – มีไข้ตัวร้อนสูงมาก – คลื่นไส้อาเจียน – ถ่ายเป็นน้ำ ร่างกายขาดน้ำ – ผิวหนังบริเวณก้นอักเสบ เนื่องเด็กไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลกโทสได้ เชื้อไวรัสโรต้านี้เป็นสาเหตุให้เด็กที่อายุน้อยกว่าห้าขวบเป็นโรคท้องเสีย สามารถพบได้บ่อยทั้งปี แต่จะพบได้ถี่ขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธุ์ ส่วนเชื้ออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอหิวาห์ บิด ไทรอยด์ ที่ทำให้ท้องเสียได้นั้น ในปัจจุบันพบได้น้อยลงแล้วเนื่องจากมีสุขอนามัยที่ดีขึ้น การดูแลรักษาอาการไวรัสลงลำไส้นี้ ควรดูแลในเรื่องของอาการขาดน้ำและรักษาตามอาการ ให้เด็กได้ทานอาหารอ่อน ๆ ดื่มนมและดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อเติมน้ำคืนสู่ร่างกายของเด็ก หากอาการของเด็กไม่ดีขึ้นควรรีบพาไปพบพบแพทย์ก่อนที่เด็กจะเสียชีวิตเพราะการขาดน้ำได้
-
ดูแลเด็ก ๆ ให้ห่างไกลโรคหวัดลงกระเพาะ
ดูแลเด็ก ๆ ให้ห่างไกลโรคหวัดลงกระเพาะ โรคไวรัสโรต้า หรือโรคหวัดลงกระเพาะนั้น มักจะทำให้เด็กเล็ก ๆ ที่มีอายุน้อยกว่าห้าขวบ มีอาการไข้สูง ท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเป็นน้ำ จนทำให้ร่างกายขาดน้ำและเสียชีวิตจากโรคนี้กันได้ปีหนึ่งเป็นแสนรายจากทั่วโลกเลยทีเดียว และในเมืองไทยก็มีเด็กที่เสียชีวิตจากเชื้อนี้เป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยมากเด็กมักจะติดโรคนี้ในช่วงที่มีอากาศเย็น โรคนี้มีชื่อเรียกกันว่า หวัดลงกระเพาะ หรือ ไวรัสลงลำไส้ เพราะว่าในผู้ป่วยบางรายนั้นจะมีแสดงอาการคล้ายไข้หวัดนำมาก่อนนั่นเอง โรคนี้นั้นพบได้มากที่สุดในเด็กทารกและเด็กเล็ก ๆ ที่อายุน้อยกว่าสองขวบ หากอายุมากกว่านี้ก็จะพบได้น้อยลง ส่วนในวัยผู้ใหญ่หรือเด็กโตแล้วนั้นมักจะมีภูมิคุ้มกันโรค เรียกได้ว่าเด็กเล็ก ๆ ที่เข้าโรงพยาบาลเพราะอาการท้องเสียนั้นเกือบครึ่งนั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโรต้า นี้ได้เลย และเรียกได้ว่าเด็กทารกแทบทุกคนนั้นเคยติดเชื้อนี้อย่างน้อยก็หนึ่งครั้งในชีวิต เชื้อนี้ติดต่อกันได้ง่ายมากเพราะแพร่กระจายได้จากน้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระที่ปนเปื้อนอยู่กับ พื้นบ้าน ของใช้ สิ่งของ ของเล่นต่าง ๆ และเชื้อนี้ก็ยังแข็งแรงมากพอที่จะอยู่ได้เป็นวัน ๆ เมื่อเด็กได้รับเชื้อเข้าไปก็จะมีระยะเวลาฟักเชื้อที่ค่อนข้างน้อยคือเพียงแค่ 1-2 วันเท่านั้น แล้วจึงแสดงอาการปวดท้อง อาเจียน ไข้ขึ้นสูง จนเกิดอาการชัก ร่วมกันถ่ายเหลว เด็กบางคนได้รับเชื้อรุนแรงมาก อาจถ่ายได้ถึงวันละ 20 ครั้งเลยทีเดียว ในปัจจุบันนี้ยังไม่มียาใดที่รักษาเชื้อไวรัสโรต้านี้ได้ ดังนั้นหากเด็ก ๆ…