Tag: ไวรัสตับอักเสบซี

  • ไวรัสตับอักเสบซี อันตราย แต่ป้องกันได้ถ้าเข้าใจ

    ไวรัสตับอักเสบซี อันตราย แต่ป้องกันได้ถ้าเข้าใจ

    ไวรัสตับอักเสบซี อันตราย แต่ป้องกันได้ถ้าเข้าใจ ไวรัสตับอักเสบซี เป็นเชื้อไวรัสที่ค้นพบมาเป็นเวลาสิบกว่าปีแล้ว ทำให้ตับอักเสบได้แบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทำให้เกิดเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ เป็นเชื้อไวรัสตับอักเสบที่รุนแรงมากกว่าเชื้อชนิดอื่น ไม่มีวัคซีนป้องกัน ทำได้เพียงให้ยาลดไวรัสและป้องกันการเกิดมะเร็งตับเท่านั้น โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางเลือดและผลิตภัณฑ์ทางเลือดทุกชนิด โดยเฉพาะหากเคยได้รับมาก่อนปี 2535 ติดต่อได้ทางเข็มฉีดยา ทางการสักหรือเจาะหูด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน การฟอกไต การสักตัว สักคิ้ว สักขอบตา อุปกรณ์เสริมสวยไม่ว่าจะเป็นการทำผม ทำเล็บที่ใช้มีดโกน กรรไกร เป็นต้น การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ในผู้ที่เป็นตับอักเสบเฉียบพลัน เนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยมักไม่ค่อยแสดงอาการ จึงไม่มีการรักษาใด ๆ เป็นเพียงการดูแลตามอาการเท่านั้น ไม่นอนดึกและหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง แต่ในผู้ที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังนั้น มียาที่ใช้เป็นมาตรฐานในการรักษาอยู่สองตัวร่วมกันก็คือ ยาฉีดในกลุ่มอินเตอร์เฟอรอนกับยาไรบาไวริน ซึ่งเป็นยากิน ทั้งสองชนิดช่วยกำจัดไวรัสให้หมดไปและไม่เป็นซ้ำอีกมีผลถึงร้อยละ 50 ในส่วนของการป้องกันไวรัสตับอักเสบซีนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อทุกอย่าง เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ไม่เข้าร้านสัก เจาะ หรือทำผมทำเล็บที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงการดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงไว้อย่างสม่ำเสมอด้วย  

  • เช็คตัวเองว่ามีปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับบ้างหรือเปล่า

    เช็คตัวเองว่ามีปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับบ้างหรือเปล่า

    เช็คตัวเองว่ามีปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับบ้างหรือเปล่า? มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่ไม่ค่อยตรวจพบในระยะแรกเท่าไร แต่ผู้ป่วยมักไปพบแพทย์ก็ตอนที่เป็นในระยะท้าย ๆ แล้ว อีกทั้งยังเป็นมะเร็งที่มีระยะฟักตัวนานอีกด้วย และมีปัจจัยหลายประการในการทำให้เป็นมะเร็งตับขึ้นมาได้ วันนี้มาลองตรวจสอบตัวเองกันดูว่าคุณเข้าข่ายว่าจะเป็นมะเร็งตับบ้างหรือเปล่านะคะ ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับได้แก่ – เพศชายจะมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง เพราะพฤติกรรมบางประการเช่น ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่มากกว่า – ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ ชาวเอเชีย ชาวอเมริกา ชาวเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีโฮกาสเป็นมะเร็งตับสูงกว่า – ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคตับแข็ง ก็สามารถเป็นโรคมะเร็งตับได้เช่นกัน เชื้อนี้สามารถติดต่อกันได้ทั้งทางเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยา และการถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในครรภ์ รวมไปถึงการรับเลือดบริจาคด้วย – เป็นโรคตับแข็ง เพราะเซลล์ตับจะถูกทำลายและเหลือรอยแผลไว้ มักเกิดจากการดื่มแอกอฮอล์, เป็นไวรัสตับอักเสบบีและซี รวมไปถึงภาวะมีธาตุเหล็กในร่างกายมากเกินไป จะพัฒนาสู่การเป็นมะเร็งตับได้ – ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมาก โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากหรือมีภาวะตับอักเสบร่วมด้วย – ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ก็เสี่ยงเช่นกัน – มักได้รับสาร Aflatoxine เป็นเวลานาน ซึ่งสารนี้คือเชื้อราที่อยู่ในพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ ทั้งข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วลิสง เป็นต้น – เป็นผู้ที่ได้รับสาร Vinyl…

  • อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซี

    อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซี

    อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซี ในโลกเรานี้มีการประมาณผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังอยู่ราว 170 ล้านคน ส่วนในประเทศไทยนั้นพบได้โดยเฉลี่ยราวร้อยละ 1-2 พบได้มากทางภาคเหนือและภาคอีสาน โรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกันและยังไม่พบว่าจะมีแนวโน้มที่จะค้นพบในเวลาอันใกล้ด้วย เกือบทุกรายของผู้ที่ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังทุกรายจะมีอาการอักเสบของตับ ทำให้ตับเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ เมื่อร่างกายของเรารับไวรัสตับอักเสบซีเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัว 6-8 อาทิตย์จึงจะเริ่มมีอาการตับอักเสบ มีผู้ป่วยราวร้อยละ 10-15 ที่จะมีอาการดีซ่านหรือตัวเหลือง เป็นไข้คล้ายไข้หวัดใหญ่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จะตรวจพบว่าเป็นไวรัสตับอักเสบซีได้ก็ด้วยการตรวจเลือดหลังการอักเสบเท่านั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยรู้ตัวแล้ว ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังโดยยังมีเชื้อไวรัสในร่างกายตลอดเวลา มีอาการตับอักเสบขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอด ผู้ป่วยราวร้อยละ 2-30 จะมีอาการตับแข็งหลังได้รับเชื้อแล้ว 20 ปี ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น ได้แก่ การได้รับเชื้อตอนอายุมากแล้ว การติดเชื้อจากการได้รับเลือด การดื่มเหล้า ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซี ดังนั้นจึงควรป้องกันตนเองไว้ก่อน – ผู้ที่สักเจาะ ร่างกาย และมีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศควรไปตรวจร่างกายไว้ก่อน หากพบการทำงานของตับที่ผิดปกติจะได้ทำการรักษาได้ทัน – รักษาตัวไว้อย่าให้เป็นผู้แพร่เชื้อ ไม่ให้เลือด ไม่เจาะ ไม่สัก ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนน้ำคัดหลั่งกับคนอื่น การร่วมเพศก็ควรสวมถุงยางอนามัย –…

  • มะเร็งตับ พบได้มากเป็นอันดับหนึ่งในผู้ชาย

    มะเร็งตับ พบได้มากเป็นอันดับหนึ่งในผู้ชาย

    มะเร็งตับ พบได้มากเป็นอันดับหนึ่งในผู้ชาย มะเร็งตับนั้นเป็นมะเร็งที่พบได้มากในคนไทยค่ะ เป็นอันดับหนึ่งของผู้ชาย และเป็นอันดับที่สี่ของทั้งสองเพศรวมกัน ผู้ชายจะพบว่าเป็นได้มากกว่าผู้หญิงถึง 2-3 เท่าตัว โรคมะเร็งตับนี้มักจะพบเมื่อแสดงอาการแล้ว เช่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เจ็บชายโครงด้านขวา มักได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย ในบ้านเรามีมะเร็งตับอยู่สองแบบได้แก่ 1. มะเร็งตับที่เกิดจากโรคพยาธิใบไม้ในตับ จากการกินปลาดิบ ทำให้เป็นมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งก็คือมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ภายท่อน้ำดีส่วนที่อยู่ภายในตับ พบมากในภาคอีสานและภาคเหนือ 2. มะเร็งตับที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี หรือสองตัวรวมกัน สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด หรือถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกในครรภ์ เมื่อติดเชื้อแล้วจะแฝงตัวอยู่ในร่างกายได้นานเป็นสิบปี สามารถแพร่เชื้อเป็นพาหะได้ กลายเป็นโรคตับอักเสบในที่สุด จะกลายเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งเซลล์ตับ อาจกินเวลาฟักตัวเป็นโรคนานถึง 30-50 ปี ยิ่งหากผู้ป่วยดื่มเหล้าก็จะยิ่งทำให้เกิดโรคตับได้เร็วขึ้นด้วย ในด้านของการป้องกันมะเร็งตับนั้น สามารถทำได้โดยไม่กินปลาน้ำจืดดิบ ๆ เด็ดขาด ควรกินเฉพาะที่สุกเท่านั้น หากตรวจพบว่าเป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับให้รีบกินยารักษาแล้วอย่ากินปลาดิบอีก งดการดื่มสุรา และไปฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะฉีดให้ทารกตั้งแต่แรกเกิด แล้วหมั่นตรวจสุขภาพ ตรวจเลือดเป็นประจำด้วย หากเป็นพาหะหรือเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ควรรักษากับแพทย์ทุก 3-6 เดือนตามนัดอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าเป็นมะเร็งตับระยะแรกจะได้รักษาให้หายได้  

  • ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี

    ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี

    ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่แล้วคนไทยมักจะคุ้นเคยกับโรคไวรัสตับอักเสบเอ และบี กันมากกว่า โรคไวรัสตับอักเสบซีนะคะ ความจริงแล้วโรคนี้เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบันเลยทีเดียว มีผู้ที่ติดเชื้อนี้ไปแล้วกว่า แปดแสนคน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดผ่านเข็มร่วมกับผู้อื่น เชื้อไวรัสตับอักเสบซีนี้จะอยู่ในเลือดและน้ำคัดหลั่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ติดต่อสู่ผู้อื่นคล้ายโรคไวรัสตับอักเสบบีและเอดส์ ผู้ที่มีกลุ่มเสี่ยงก็ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น การสักหรือการเจาะผิวหนัง การฝังเข็ม การใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ หรือติดต่อจากการทำฟัน รวมไปถึงเพศสัมพันธ์ และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกก็ด้วย ส่วนมากมักจะติดต่อกันทางเลือดมากกว่าทางเพศสัมพันธ์ อาการของไวรัสตับอักเสบซีนี้จะมีอาการ ตัวเหลือง ดีซ่าน ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย บวม มีน้ำในช่องท้อง การจะคัดแยกผู้ป่วยต้องผ่านทางห้องปฏิบัติการเท่านั้นจึงจะทราบ อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะแสดงออกมาหลังจาก 10 ปีผ่านไปแล้ว เข้าสู่ปีที่ 12 จะเริ่มแสดงอาการตับอักเสบเรื้อรังมากขึ้น และเมื่อผ่านไป 30 ปี ตับก็จะถูกทำลายจนมีอาการของตับแข็ง ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะเป็นมะเร็งตับ การดำเนินโรคของโรคนี้จะเป็นไปโดยช้า ๆ ผู้ป่วยไม่เคยรู้ตัวเลยว่ามีโรคนี้ซ่อนอยู่หากไม่ได้ตรวจเลือด มีผู้ติดเชื้ออยู่ประมาณร้อยละ 15-20 ที่หายได้เอง แต่ส่วนใหญ่แล้วหากไม่ได้รับการรักษาก็มักจะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับในที่สุด โรคไวรัสตับอักเสบซีนี้ยังไม่มีไวรัสป้องกันเหมือนไวรัสตับชนิดอื่น…

  • โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง

    โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง

    โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง ภาวะตับอักเสบเรื้อรังนั้นหมายถึง การอักเสบของตับที่นานเกินกว่าหกเดือนขึ้นไป ตรวจเลือดแล้วพบร่องรอยการอักเสบ มีสาเหตุมาจากพิษสุราเรื้อรัง พิษจากยาหรือสมุนไพรบางชนิด การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ไขมันพอกตับ หรือภาวะภูมิต้านทานตนเอง ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากข้อใดก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซีซึ่งสามารถป้องกันและลดอันตรายลงได้ โรคนี้จะไม่แสดงอาการใด ๆ จนกว่าจะเกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับแทรกซ้อน บางรายไม่มีอาการแต่ตรวจเลือดพบได้ อาจมีอาการได้แก่ รู้สึกอ่อนเพลียซึ่งมักเป็นมากขึ้นตอนบ่ายหรือเย็น นอกจากนี้ยังมีไข้ต่ำ ๆ คลื่นไส้เบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อเป็นต้น ในระยะท้ายที่เริ่มเป็นตับแข็งและมะเร็งตับแล้วก็จะมีอาการอ่อนเพลีย ดีซ่าย น้ำหนักลด ท้องบวม เท้าบวม ยิ่งหากเป็นผู้ที่มีพี่น้องเป็นพาหะของโรคนี้หรือเป็นโรคตับอักเสบอยู่แล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด และหากพบว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสควรปฏิบัติตามดังนี้ 1. พบแพทย์ กินยา และเข้ารักษาตามเวลา ซึ่งอาจกินเวลาเป็นแรมปีหรือตลอดชีวิต 2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด 3. ห้ามบริจาคเลือด 4. หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยา มีดโกน หรือแปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่น 5. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือใช้ถุงยางอนามัยป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ 6. ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดมีพิษต่อตับทำให้อักเสบรุนแรงได้ ในส่วนของการป้องกันสามารถทำได้โดย 1. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบี 2. ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์…