Tag: ไวรัสตับอักเสบ
-
ไวรัสตับอักเสบซี อันตราย แต่ป้องกันได้ถ้าเข้าใจ
ไวรัสตับอักเสบซี อันตราย แต่ป้องกันได้ถ้าเข้าใจ ไวรัสตับอักเสบซี เป็นเชื้อไวรัสที่ค้นพบมาเป็นเวลาสิบกว่าปีแล้ว ทำให้ตับอักเสบได้แบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทำให้เกิดเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ เป็นเชื้อไวรัสตับอักเสบที่รุนแรงมากกว่าเชื้อชนิดอื่น ไม่มีวัคซีนป้องกัน ทำได้เพียงให้ยาลดไวรัสและป้องกันการเกิดมะเร็งตับเท่านั้น โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางเลือดและผลิตภัณฑ์ทางเลือดทุกชนิด โดยเฉพาะหากเคยได้รับมาก่อนปี 2535 ติดต่อได้ทางเข็มฉีดยา ทางการสักหรือเจาะหูด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน การฟอกไต การสักตัว สักคิ้ว สักขอบตา อุปกรณ์เสริมสวยไม่ว่าจะเป็นการทำผม ทำเล็บที่ใช้มีดโกน กรรไกร เป็นต้น การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ในผู้ที่เป็นตับอักเสบเฉียบพลัน เนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยมักไม่ค่อยแสดงอาการ จึงไม่มีการรักษาใด ๆ เป็นเพียงการดูแลตามอาการเท่านั้น ไม่นอนดึกและหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง แต่ในผู้ที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังนั้น มียาที่ใช้เป็นมาตรฐานในการรักษาอยู่สองตัวร่วมกันก็คือ ยาฉีดในกลุ่มอินเตอร์เฟอรอนกับยาไรบาไวริน ซึ่งเป็นยากิน ทั้งสองชนิดช่วยกำจัดไวรัสให้หมดไปและไม่เป็นซ้ำอีกมีผลถึงร้อยละ 50 ในส่วนของการป้องกันไวรัสตับอักเสบซีนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อทุกอย่าง เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ไม่เข้าร้านสัก เจาะ หรือทำผมทำเล็บที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงการดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงไว้อย่างสม่ำเสมอด้วย
-
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซี
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซี ในโลกเรานี้มีการประมาณผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังอยู่ราว 170 ล้านคน ส่วนในประเทศไทยนั้นพบได้โดยเฉลี่ยราวร้อยละ 1-2 พบได้มากทางภาคเหนือและภาคอีสาน โรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกันและยังไม่พบว่าจะมีแนวโน้มที่จะค้นพบในเวลาอันใกล้ด้วย เกือบทุกรายของผู้ที่ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังทุกรายจะมีอาการอักเสบของตับ ทำให้ตับเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ เมื่อร่างกายของเรารับไวรัสตับอักเสบซีเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัว 6-8 อาทิตย์จึงจะเริ่มมีอาการตับอักเสบ มีผู้ป่วยราวร้อยละ 10-15 ที่จะมีอาการดีซ่านหรือตัวเหลือง เป็นไข้คล้ายไข้หวัดใหญ่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จะตรวจพบว่าเป็นไวรัสตับอักเสบซีได้ก็ด้วยการตรวจเลือดหลังการอักเสบเท่านั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยรู้ตัวแล้ว ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังโดยยังมีเชื้อไวรัสในร่างกายตลอดเวลา มีอาการตับอักเสบขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอด ผู้ป่วยราวร้อยละ 2-30 จะมีอาการตับแข็งหลังได้รับเชื้อแล้ว 20 ปี ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น ได้แก่ การได้รับเชื้อตอนอายุมากแล้ว การติดเชื้อจากการได้รับเลือด การดื่มเหล้า ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซี ดังนั้นจึงควรป้องกันตนเองไว้ก่อน – ผู้ที่สักเจาะ ร่างกาย และมีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศควรไปตรวจร่างกายไว้ก่อน หากพบการทำงานของตับที่ผิดปกติจะได้ทำการรักษาได้ทัน – รักษาตัวไว้อย่าให้เป็นผู้แพร่เชื้อ ไม่ให้เลือด ไม่เจาะ ไม่สัก ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนน้ำคัดหลั่งกับคนอื่น การร่วมเพศก็ควรสวมถุงยางอนามัย –…
-
มะเร็งตับ พบได้มากเป็นอันดับหนึ่งในผู้ชาย
มะเร็งตับ พบได้มากเป็นอันดับหนึ่งในผู้ชาย มะเร็งตับนั้นเป็นมะเร็งที่พบได้มากในคนไทยค่ะ เป็นอันดับหนึ่งของผู้ชาย และเป็นอันดับที่สี่ของทั้งสองเพศรวมกัน ผู้ชายจะพบว่าเป็นได้มากกว่าผู้หญิงถึง 2-3 เท่าตัว โรคมะเร็งตับนี้มักจะพบเมื่อแสดงอาการแล้ว เช่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เจ็บชายโครงด้านขวา มักได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย ในบ้านเรามีมะเร็งตับอยู่สองแบบได้แก่ 1. มะเร็งตับที่เกิดจากโรคพยาธิใบไม้ในตับ จากการกินปลาดิบ ทำให้เป็นมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งก็คือมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ภายท่อน้ำดีส่วนที่อยู่ภายในตับ พบมากในภาคอีสานและภาคเหนือ 2. มะเร็งตับที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี หรือสองตัวรวมกัน สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด หรือถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกในครรภ์ เมื่อติดเชื้อแล้วจะแฝงตัวอยู่ในร่างกายได้นานเป็นสิบปี สามารถแพร่เชื้อเป็นพาหะได้ กลายเป็นโรคตับอักเสบในที่สุด จะกลายเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งเซลล์ตับ อาจกินเวลาฟักตัวเป็นโรคนานถึง 30-50 ปี ยิ่งหากผู้ป่วยดื่มเหล้าก็จะยิ่งทำให้เกิดโรคตับได้เร็วขึ้นด้วย ในด้านของการป้องกันมะเร็งตับนั้น สามารถทำได้โดยไม่กินปลาน้ำจืดดิบ ๆ เด็ดขาด ควรกินเฉพาะที่สุกเท่านั้น หากตรวจพบว่าเป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับให้รีบกินยารักษาแล้วอย่ากินปลาดิบอีก งดการดื่มสุรา และไปฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะฉีดให้ทารกตั้งแต่แรกเกิด แล้วหมั่นตรวจสุขภาพ ตรวจเลือดเป็นประจำด้วย หากเป็นพาหะหรือเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ควรรักษากับแพทย์ทุก 3-6 เดือนตามนัดอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าเป็นมะเร็งตับระยะแรกจะได้รักษาให้หายได้
-
ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี
ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่แล้วคนไทยมักจะคุ้นเคยกับโรคไวรัสตับอักเสบเอ และบี กันมากกว่า โรคไวรัสตับอักเสบซีนะคะ ความจริงแล้วโรคนี้เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบันเลยทีเดียว มีผู้ที่ติดเชื้อนี้ไปแล้วกว่า แปดแสนคน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดผ่านเข็มร่วมกับผู้อื่น เชื้อไวรัสตับอักเสบซีนี้จะอยู่ในเลือดและน้ำคัดหลั่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ติดต่อสู่ผู้อื่นคล้ายโรคไวรัสตับอักเสบบีและเอดส์ ผู้ที่มีกลุ่มเสี่ยงก็ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น การสักหรือการเจาะผิวหนัง การฝังเข็ม การใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ หรือติดต่อจากการทำฟัน รวมไปถึงเพศสัมพันธ์ และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกก็ด้วย ส่วนมากมักจะติดต่อกันทางเลือดมากกว่าทางเพศสัมพันธ์ อาการของไวรัสตับอักเสบซีนี้จะมีอาการ ตัวเหลือง ดีซ่าน ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย บวม มีน้ำในช่องท้อง การจะคัดแยกผู้ป่วยต้องผ่านทางห้องปฏิบัติการเท่านั้นจึงจะทราบ อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะแสดงออกมาหลังจาก 10 ปีผ่านไปแล้ว เข้าสู่ปีที่ 12 จะเริ่มแสดงอาการตับอักเสบเรื้อรังมากขึ้น และเมื่อผ่านไป 30 ปี ตับก็จะถูกทำลายจนมีอาการของตับแข็ง ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะเป็นมะเร็งตับ การดำเนินโรคของโรคนี้จะเป็นไปโดยช้า ๆ ผู้ป่วยไม่เคยรู้ตัวเลยว่ามีโรคนี้ซ่อนอยู่หากไม่ได้ตรวจเลือด มีผู้ติดเชื้ออยู่ประมาณร้อยละ 15-20 ที่หายได้เอง แต่ส่วนใหญ่แล้วหากไม่ได้รับการรักษาก็มักจะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับในที่สุด โรคไวรัสตับอักเสบซีนี้ยังไม่มีไวรัสป้องกันเหมือนไวรัสตับชนิดอื่น…
-
โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง
โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง ภาวะตับอักเสบเรื้อรังนั้นหมายถึง การอักเสบของตับที่นานเกินกว่าหกเดือนขึ้นไป ตรวจเลือดแล้วพบร่องรอยการอักเสบ มีสาเหตุมาจากพิษสุราเรื้อรัง พิษจากยาหรือสมุนไพรบางชนิด การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ไขมันพอกตับ หรือภาวะภูมิต้านทานตนเอง ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากข้อใดก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซีซึ่งสามารถป้องกันและลดอันตรายลงได้ โรคนี้จะไม่แสดงอาการใด ๆ จนกว่าจะเกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับแทรกซ้อน บางรายไม่มีอาการแต่ตรวจเลือดพบได้ อาจมีอาการได้แก่ รู้สึกอ่อนเพลียซึ่งมักเป็นมากขึ้นตอนบ่ายหรือเย็น นอกจากนี้ยังมีไข้ต่ำ ๆ คลื่นไส้เบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อเป็นต้น ในระยะท้ายที่เริ่มเป็นตับแข็งและมะเร็งตับแล้วก็จะมีอาการอ่อนเพลีย ดีซ่าย น้ำหนักลด ท้องบวม เท้าบวม ยิ่งหากเป็นผู้ที่มีพี่น้องเป็นพาหะของโรคนี้หรือเป็นโรคตับอักเสบอยู่แล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด และหากพบว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสควรปฏิบัติตามดังนี้ 1. พบแพทย์ กินยา และเข้ารักษาตามเวลา ซึ่งอาจกินเวลาเป็นแรมปีหรือตลอดชีวิต 2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด 3. ห้ามบริจาคเลือด 4. หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยา มีดโกน หรือแปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่น 5. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือใช้ถุงยางอนามัยป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ 6. ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดมีพิษต่อตับทำให้อักเสบรุนแรงได้ ในส่วนของการป้องกันสามารถทำได้โดย 1. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบี 2. ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์…
-
พิษของสุราที่มีต่อตับ!!!
พิษของสุราที่มีต่อตับ!!! สุรานั้น ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกเป็นเวลายาวนานกว่าสี่พันปีแล้ว มีหลากหลายชนิดและรสชาติแตกต่างกันไปตามแต่เชื้อต้นกำเนิดและผลไม้ที่นำมาหมัก ไม่ว่าจะเป็น เหล้า วิสกี้ ไวน์ เบียร์ พันช์ ฯลฯ และสุราเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่เป็นพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ด้วย แม้แต่ในศาสนาพุทธเองก็ยังให้พึงละเว้นสุราไว้เพื่อมิให้ขาดสติ เพราะผลของการดื่มเหล้านั้นนอกจากอุบัติเหตุที่ส่งผลเสียแก่ผู้อื่นโดยรอบตัวแล้ว ก็ยังส่งผลให้ตัวเองได้รับอันตรายจากสุราไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตับนั่นเอง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ตับเป็นอวัยวะหลักที่ย่อยแอลกอฮอล์ การดื่มเหล้าเป็นประจำจะเกิดปัญหากับตับในสี่แบบก็คือ ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง จนถึงมะเร็งตับ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ดื่มจะเป็นโรคตับเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ – ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่ดื่ม ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเมื่อดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 30 กรัมต่อวันในเพศชาย และ 20 กรัมในเพศหญิงแล้ว จะถือว่าอยู่ในข่ายที่ได้รับความเสี่ยงในการเป็นโรคตับ – ขึ้นอยู่กับอายุและเพศ หากดื่มในปริมาณเท่ากันแล้ว ผู้หญิงจะเสี่ยงเป็นโรคตับมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า – ขึ้นอยู่กับเชื้อไวรัสตับอักเสบที่มีอยู่เดิม หากมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีอยู่แล้วจะทำให้การดำเนินโรคแย่กว่าผู้ที่เป็นโรคตับจากแอลกอฮอล์อย่างเดียว – พันธุกรรมและยาบางชนิดก็เป็นปัจจัยเสี่ยงกระตุ้นโรคด้วยเช่นกัน อาการของโรคตับนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ผู้ที่ไขมันพอกตับ หรือตับอักเสบเล็กน้อยจะไม่มีอาการผิดปกติหรืออาการจะไม่เฉพาะเจาะจงมากนัก เช่น ปวดชายโครงขวา มีไข้ อ่อนเพลีย ฯลฯ ส่วนผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง จะมีอาการคือ…
-
เรื่องควรรู้…ก่อนการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน
เรื่องควรรู้…ก่อนการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน การจะใช้ชีวิตคู่ให้ราบรื่นและมีความสุขนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็จำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจ รวมทั้งปรับตัวเข้าหากัน ดังนั้นทั้งคู่จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวและศึกษาซึ่งกันและกันก่อนแต่งงาน เพื่อให้ชีวิตคู่ที่ทั้งสองเลือกที่จะใช้ชีวิตด้วยกันมีความสุขอย่างยั่งยืนค่ะ อันดับแรกจึงควรศึกษากันและกันก่อนว่ามีความพร้อมมากน้อยขนาดในการอยู่ร่วมกัน ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม พิจารณาว่าการที่เลือกกันและกันนี้ไม่ใช่การเลือกด้วยอารมณ์เท่านั้นแต่เลือกด้วยความเหมาะสมด้วย ประกอบการมีชีวิตคู่จำเป็นต้องมีทุนทรัพย์ที่ใช้ในการสร้างครอบครัว และอันดับสุดท้ายที่ต้องคำนึงก็คือ ควรเข้าตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบความพร้อมในการมีครอบครัว และตรวจว่าทั้งสองฝ่ายมีโรคทางพันธุกรรมหรือโรคอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อชีวิตแต่งงานด้วยหรือไม่ ซึ่งการเข้าตรวจสุขภาพก่อนการมีครอบครัวนี้ก็เพื่อ 1. ตรวจให้แน่ใจว่ามีอาการหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ ที่จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในอนาคตหรือไม่ 2. เพื่อค้นหาความบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อการมีเพศสัมพันธ์และเป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์ 3. ตรวจเลือดเพื่อหาระดับน้ำตาลและความเข้มข้นของเม็ดเลือด ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี โรคเลือดธาลัสซีเมีย รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย 4. ตรวจปอดเพื่อหาความผิดปกติ 5. เพื่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ป้องกันโรคหัดเยอรมันและบาดทะยัก 6. เพื่อให้ทั้งคู่ได้รับคำแนะนำในเรื่องการวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดและความรู้เรื่องเพศ ฯลฯ ชีวิตคู่จริง ๆ ไม่ได้เหมือนในละครเสมอไป ที่พอจบเรื่องก็แฮปปี้เอนดิ้ง แต่จริง ๆ แล้วเป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตอีกแบบหนึ่งต่างหาก หากทั้งคู่พร้อมที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน พร้อมที่จะพบสุขพบทุกข์ด้วยกันและรับผิดชอบเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยกัน รวมทั้งร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ชุมชนและบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป ชีวิตคู่ก็จะมีความสุขร่วมกันไปได้ตลอดรอดฝั่งค่ะ
-
เคล็ดลับ 5 ประการห่างไกลมะเร็งตับ
เคล็ดลับ 5 ประการห่างไกลมะเร็งตับ “ตับ” ถือได้ว่าเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดภายในร่างกาย จะอยู่ภายในช่องท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หน้าที่ขอตับก็คือช่วยขจัดของเสียสะสมในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ยา สารเคมี หรือสารพิษที่ร่างกายไม่ต้องการ ทำหน้าที่เหมือนคลังสะสมอาหารเพื่อเป็นพลังงานไปหล่อเลี้ยงและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วย นับเป็นหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญมากของร่างกาย แต่หากเราดูแลร่างกายเราไม่ดีก็อาจทำให้เกิดโรคตับขึ้นได้ โดยโรคตับนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบทุกชนิด การดื่มเหล้า การทานยาบางชนิด ทั้งยาฆ่าเชื้อ ยาคุมกำเนิด และที่พบบ่อยก็คือไขมันพอกตับในผู้ที่เป็นโรคอ้วน ซึ่งสาเหตุเหล่านี้อาจทำให้ตับอักเสบ และกลายเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ด้วย เคล็ดลับ 5 ประการที่จะช่วยให้เราห่างไกลมะเร็งตับมีดังต่อไปนี้ 1. ผู้ที่มีอาการป่วยเกี่ยวกับโรคตับควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ ส่วนคนทั่วไปที่ยังไม่เป็นโรคตับก็ควรป้องกันตนเองจากอาการอักเสบ 2. ห่างไกลอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษทั้งหลาย รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมด เพราะอาจทำลายเซลล์ตับได้มากกว่าอวัยวะอื่น ๆ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงได้อีกก็คือของหมักดอง ที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค อาหารปิ้ง ๆ ย่าง ๆ หรือทอดน้ำมัน เพราะมีสารก่อมะเร็งเป็นจำนวนมาก อาหารที่มีไขมันสูงก็เช่นเดียวกัน และรวมไปถึงยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดข้อ ยาคุม ยาฆ่าเชื้อที่อาจส่งผลเสียต่อตับได้ 3. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยให้ร่างกายมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม…
-
องค์การอนามัยโลก กล่าวเตือนผู้คนทั่วโลก มีเปอร์เซ็นต์เป็นโรคมะเร็งมากขึ้น กว่าร้อยละ 57
องค์การอนามัยโลก กล่าวเตือนผู้คนทั่วโลก มีเปอร์เซ็นต์เป็นโรคมะเร็งมากขึ้น กว่าร้อยละ 57 องค์การอนามัยโลกรายงานว่าจำนวนคนเป็นมะเร็งทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 14 ล้านคนต่อปีในปีนี้เป็นปีละ 22 ล้านคนภายใน 20 ปีข้างหน้าและยังคาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งจะเพิ่มขึ้นจาก 8 ล้าน 2 เเสนคนเป็น 13 ล้านคนต่อปี Dr. Bernard Stewart ผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมร่างรายงานดังกล่าวเปิดเผยว่าผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบันมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้เป็นมะเร็งทั้งหมดเป็นคนในอาฟริกา เอเชีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้และจากจำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งทั้งหมดทั่วโลก ราว 70 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้ป่วยมะเร็งจากทวีปต่างๆ สำหรับประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง การเกิดมะเร็งมีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ อาทิ มะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อ human papillomavirus และมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ สาเหตุที่คนเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนายังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตยุคอุตสาหกรรมและไม่มีการตรวจหามะเร็งแต่เนิ่นๆ Dr. Stewart ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าประเทศรายได้น้อยและปานกลางมักขาดการบริการด้านการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจหาโรค ทำให้ไม่รู้ว่าเป็นมะเร็งจนกระทั่งโรคกำเริบ ดังนั้นอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยจึงมีน้อย รายงานขององค์การอนามัยโลกเตือนว่าการบำบัดมะเร็งเพียงอย่างเดียวไม่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งได้ จะต้องใช้มาตรการป้องกันการเกิดมะเร็งที่มีประสิทธิภาพร่วมด้วยและต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน Dr. Stewart กล่าวว่าการรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสบางชนิดสามารถช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งบางประเภทลงได้ นอกจากนี้การรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา การสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนและลดการบริโภคน้ำตาลน่าจะมีบทบาทในการช่วยลดการเกิดมะเร็งบางชนิดลงได้เช่นกัน รายงานการศึกษาการเกิดมะเร็งทั่วโลกขององค์การอนามัยโลกนี้เป็นผลงานการวิจัยจากความร่วมมือของบรรดานักวิทยาศาสตร์มากกว่า 250 คนจาก 40 ประเทศ