Tag: ไทรอยด์
-
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เพราะในหน้าฝนมีอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลง กับมีความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้มีหลายโรคที่ระบาดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโรคดังกล่าวก็ได้แก่ 5 กลุ่มโรคต่อไปนี้ทำควรป้องกันการติดต่อมากเป็นพิเศษ 1. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทั้งท้องร่วง ไทรอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้และปวดบิดในท้อง หากติดเชื้อบิดก็อาจถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ จึงควรระวังการทานอาหารมากเป็นพิเศษ ควรทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางด้วย 2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเยื่อบุผิวหนังหรือบาดแผล ที่พบได้บ่อยก็โรคฉี่หนู อาการจะมีไข้สูง ปวดหัวมาก มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรนแรง ตาแดง มักเกิดในที่น้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ชาวไร่ชาวสวน ผู้ที่ทำงานกับการแช่น้ำ ในที่เฉอะแฉะ หรือผู้ที่ทำงานลอกท่อระบายน้ำ ทำงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ 3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม รวมไปถึงโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งแพร่ระบาดจากสัตว์ปีก ซึ่งเชื้ออาจข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหน้าฝนได้ 4.…
-
พึงระวังโรคไวรัสลงลำไส้ ในเด็กอายุ 1 ขวบ
พึงระวังโรคไวรัสลงลำไส้ ในเด็กอายุ 1 ขวบ อาการท้องเสียในเด็กวัย 2-3 เดือนแรกนั้นมักจะเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อโรค จากการดูแลขวดนมไม่สะอาดเพียงพอ เช่น ไม่ได้ต้มขวดนมหรือจุกนม แต่ในช่วง 4-6 เดือน มักจะเกิดจากการที่เด็กมักชอบหยิบของเข้าปาก หรือชอบดูดนิ้วมือ แต่ในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปนั้น อาการท้องเสียมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียกกันว่า โรคไวรัสลงลำไส้ ซึ่งเกิดจากอาหารเป็นพิษ โดยมีต้นเหตุคือไวรัสโรต้า โดยเด็กจะมีอาการดังต่อไปนี้ – มีไข้ตัวร้อนสูงมาก – คลื่นไส้อาเจียน – ถ่ายเป็นน้ำ ร่างกายขาดน้ำ – ผิวหนังบริเวณก้นอักเสบ เนื่องเด็กไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลกโทสได้ เชื้อไวรัสโรต้านี้เป็นสาเหตุให้เด็กที่อายุน้อยกว่าห้าขวบเป็นโรคท้องเสีย สามารถพบได้บ่อยทั้งปี แต่จะพบได้ถี่ขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธุ์ ส่วนเชื้ออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอหิวาห์ บิด ไทรอยด์ ที่ทำให้ท้องเสียได้นั้น ในปัจจุบันพบได้น้อยลงแล้วเนื่องจากมีสุขอนามัยที่ดีขึ้น การดูแลรักษาอาการไวรัสลงลำไส้นี้ ควรดูแลในเรื่องของอาการขาดน้ำและรักษาตามอาการ ให้เด็กได้ทานอาหารอ่อน ๆ ดื่มนมและดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อเติมน้ำคืนสู่ร่างกายของเด็ก หากอาการของเด็กไม่ดีขึ้นควรรีบพาไปพบพบแพทย์ก่อนที่เด็กจะเสียชีวิตเพราะการขาดน้ำได้
-
ภาวะโรคเอ๋อในเด็ก
ภาวะโรคเอ๋อในเด็ก โรคเอ๋อนั้น คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงเคยได้ยินชื่อโรคนี้กันมาบ้างแล้ว แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราเป็นโรคเอ๋อหรือไม่ วันนี้เราลองมาหาความรู้ในเรื่องโรคนี้กันค่ะ โรคเอ๋อ เป็นภาษาชาวบ้านที่ใช้เรียกภาวะปัญญาอ่อนที่พบได้บ่อย ๆ ในหมู่บ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานของไทย สาเหตุของภาวะนี้ในเด็กเกิดจากการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน โดยฮอร์โมนนี้จะสร้างจากต่อมไทรอยด์บริเวณคอหอย หรือลูกกระเดือนของเราทุกคน มีความสำคัญมากเพราะจะมีผลทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายร่วมทั้งสมองมีการเติบโต โดยการทำงานร่วมกับฮอร์โมนตัวอื่น ๆ ทำให้กระดูกและฟันเติบโต มีการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้พอดี หากขาดไทรอยด์ฮอร์โมนไปจะทำให้เกิดความเฉื่อยชา หนาวง่าย ไม่ค่อยเจริญสมวัยนัก จนไปถึงขั้นเสื่อมสติปัญญาได้เลย ซึ่งโรคเอ๋อในเด็กจะเกิดได้สองแบบก็คือ 1. แบบแรกนี้เด็กจะมีความผิดปกติของการสร้างไทรอยด์แต่กำเนิด ซึ่งอาจเกิดมาไม่มีต่อมนี้มาด้วย หรือมีอยู่ก็ผิดที่และไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ตอนคลอดจะเหมือนไม่มีปัญหาเพราะได้รับไทรอยด์ฮอร์โมนของแม่ออกมา ช่วยในการเติบโตระหว่างอยู่ในครรภ์ แต่ไม่กี่สัปดาห์จะเกิดภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนขึ้น เด็กจึงเซื่อมซึม เอาแต่นอน กินนมไม่เก่ง ท้องอืด ท้องผูก สะดือจุ่น ตัวเหลืองหลังคลอดนานกว่าปกติ ไม่ค่อยร้องกวน ซึ่งทำให้พ่อแม่คิดว่าลูกเลี้ยงง่าย ร้องเสียแหบ ดูลิ้นใหญ่จุกปาก ผิวหนังเย็น โตช้า เช่น หากเด็กอายุสามเดือนแล้วควรชันคอได้แล้วแต่เด็กมีภาวะโรคเอ๋อจะยังคอไม่แข็ง ฯลฯ สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้คุณแม่ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน หรือขาดไอโอดีน เพราะอยู่ในพื้นที่ขาดสารไอโอดีนดังกล่าว เช่น หมู่บ้านบนภูเขาภาคเหนือหรืออีสานเป็นต้น 2. ส่วนแบบนี้ก็คือการภาวการณ์ขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในภาคหลัง ต่อมไทรอยด์ติดเชื้อ…