Tag: ไตวายเรื้อรัง
-
ภาวะไตวาย
ภาวะไตวาย ภาวะไตวาย คือการสูญเสียการทำงานของไต สามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดได้แก่ 1. ไตวายแบบเฉียบพลัน เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากกินเวลาแค่เป็นชั่วโมงหรือเป็นวันเท่านั้น เกิดจากการคั่งของของเสียที่ทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะปัสสาวะน้อยกว่าวันละ 400 ซีซี เกิดจากจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อ หรือเสียเลือดมาก หรือขาดน้ำรุนแรง ผู้ป่วยอาจอาจกลับมาเป็นปกติได้หากได้รับการรักษาทันท่วงที 2. ภาวะไตวายเรื้อรัง จะเกิดการสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างช้า ๆ กินเวลาตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปี จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะไตวาย ซึ่งต้องได้รับการรักษาแบบทดแทน เช่น การฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต จึงจะทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ สัญญาณเตือนและอาการที่บอกว่าเป็นโรคไต 1. ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ 2. มีโปรตีนหรือไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ อาจทำให้ปัสสาวะมีฟองมากแกละไม่สลายตัวไปง่าย ๆ 3. บวมรอบ ๆ ตาและข้อเท้า 4. ปวดหลังบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวไปที่ขาหนีบและลูกอัณฑะ หากปวดบริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่าแสดงว่าอาจมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ถ้าเจ็บปวดและมีไข้หนาวสั่น อาจมีการติดเชื้อทางเดินปันสาวะส่วนบนคือท่อไตและกรวยไต…
-
ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้
ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังนั้น สามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงและอายุที่ยาวนานขึ้นได้ด้วยการทำความเข้าใจกับสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บของตนเอง และบทความในวันนี้จะขอนำเอาเคล็ดลับที่อ่านเข้าใจง่ายของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังรายหนึ่งที่ดูแลสุขภาพของตนเองมาได้ถึง 22 ปี ทั้ง ๆ ที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมานานแล้ว เธอมีอายุ 62 ปี และดูแลการกินอาหารของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ – หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มด้วยการทำอาหารทานเองที่บ้าน ไม่ใส่เกลือ น้ำปลา เครื่องปรุงรสอื่น ๆ – กินอาหารนอกบ้านจะไม่เติมเครื่องปรุง ถ้ากินก๊วยเตี๋ยวจะสั่งเป็นแห้ง และไม่เติมผลชูรส – กินโปรตีนแต่พอดี ๆ เพราะกินมากจะมีของเสียผ่านไตมาก ไตจะทำงานหนัก และไม่น้อยเกินไปเพราะอาจทำให้ขาดสารอาหารและกล้ามเนื้อลีบได้ – ระวังการกินถั่ว และน้ำเต้าหู้ต่าง ๆ ด้วย ถ้าอยากกิน กินได้แค่คำหรือสองคำเท่านั้น รวมไปถึงเต้าหู้และโปรตีนเกษตรด้วย เพราะในธัญพืชมีฟอสฟอรัสมาก จะเปลี่ยนเป็นฟอสเฟตในเลือดที่จะไปดึงแคลเซียมออกมาจากกระดูกทำให้กระดูกบาง – ไขมันกินมาก ๆ จะอ้วน และไขมันสูงทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ก็งดไม่ได้เพราะจำเป็นต่อการดูดซึมวิตามิน ADEK แต่จะเลือกกินเป็นไขมันไม่อิ่มตัว พวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย รำข้าวและงา –…
-
ระวังและป้องกัน…โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง
ระวังและป้องกัน…โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนี้ เรียกได้ว่าผู้หญิงแทบทุกคนทุกช่วงวัยต้องเคยเป็นมากันทั้งนั้น เป็นโรคที่รักษาไม่ยากแต่หากไม่รักษาแต่ปล่อยไว้จะลุกลามจนอาจกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษาได้ โรคนี้นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักปะปนอยู่ในอุจจาระของคนเรา มักจะแปดเปื้อนอยู่รอบ ๆ ทวารหนัก หากทำความสะอาดไม่สมบูรณ์ เชื้อโรคก็อาจแปดเปื้อนเข้าสู่ท่อปัสสาวะ เข้าไปภายในกระเพาะปัสสาวะได้ ยิ่งโดยเฉพาะเพศหญิงนั้นจะมีท่อปัสสาวะสั้นจึงง่ายต่อการติดเชื้อมากกว่าผู้ชายที่มีท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวารหนักมาก เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วหากมีการถ่ายปัสสาวะออกทุกครั้งที่ปวดก็จะสามารถขับเชื้อโรคออกมาได้ ไม่เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ้าอั้นไว้ก็จะทำให้เชื้อมีเวลาที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ได้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เกิดอาการขัดเบาขึ้น โรคนี้จึงมักพบได้ในผู้หญิงที่ทำความสะอาดหลังอุจจาระไม่ดีและชอบอั้นปัสสาวะไว้ รวมไปถึงบางคนที่ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงด้วย ได้แก่คนที่เป็นเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีการสวนปัสสาวะหรือมีการคาสายสวนปัสสาวะไว้ หรือมีการใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ อาการของโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการถ่ายกะปริบกะปรอย ออกทีละน้อยปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ เข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้ง รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด บางรายอาจปวดท้องน้อย ปัสสาวะมักจะใส ๆ บางคนก็ขุ่นหรือมีเลือดปน มักไม่มีไข้ยกเว้นมีกรวยไตอักเสบด้วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น ปวดเอวด้วย ในเด็กเล็กจะมีอาการปัสสาวะรดที่นอนและมีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มักมีอาการหลังจากอั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือมีการสวนปัสสาวะ เมื่อมีอาการขัดเบาซึ่งสงสัยว่าอาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบความปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ดื่มน้ำให้มาก ๆ วันละ สามลิตรขึ้นไป หรือดื่มน้ำเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 แก้ว ถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด น้ำจะช่วยขับเอาเชื้อโรคออกมาและลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้ –…
-
การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย
การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย ปัจจุบันนี้โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีคนเป็นกันทั่วโลกเพิ่มขึ้นทุกปี และในประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยรายใหม่เพื่อทุกปีกว่าปีละ 500 ราย วันนี้จึงขอนำเอาคำแนะนำในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากอาการไตวายมาฝากกันค่ะ โดยผู้ที่ควรปฎิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้นอกจากผู้ที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้ว ก็ยังรวมไปถึง ผู้ที่ติดเชื้อซ้ำซากในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่เป็นนิ่วในไต หรือไตพิการ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเก๊าต์ โรคเอสแอลอี หรือผู้ที่ใช้ยาบางชนิด ควรถนอมไตของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ทานอาหารให้ได้รับสารอาหารและคุณค่าที่หลากหลาย ลดอาหารเค็ม หวาน ไขมันสูงทั้งหลายซะ 2. ควบคุมระดับของความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้ และดูแลทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย 4. ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ร่างกายขับของเสียได้ดีขึ้น 5. ไม่ควรซื้อยามากินเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง 6. งดการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า เพราะทำลายสุขภาพมาก 7. ผู้ที่ป่วยหรือมีอาการโรคไตแล้ว ควรพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะการจะลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคได้นั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองที่เหมาะสมค่ะ
-
ไม่ต้องตกใจ.. เลือดกำไหลหยุดได้ง่าย ๆ
ไม่ต้องตกใจ.. เลือดกำไหลหยุดได้ง่าย ๆ ยิ่งในหน้าร้อนด้วยแล้ว ภาวะเลือดกำเดาไหลพบได้บ่อยยิ่งขึ้นและพบได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่และวัยชรา มักทำให้ตนเองและคนรอบข้างตกใจได้ง่าย ๆ สาเหตุของเลือดกำเดาไหลอาจเกิดจากหลอดเลือดที่เลี้ยงเยื่อบุจมูก ซึ่งในเด็กอายุน้อยมากเกิดจากส่วนหน้าของจมูก ส่วนผู้สูงอายุมักเกิดจากส่วนหลังของจมูก แบ่งสาเหตุออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ได้แก่ 1. มาจากบริเวณจมูก เช่น ได้รับการกระแทกซึ่งพบได้บ่อยมากที่สุด หรือเกิดจากการถูก แคะ, สั่งน้ำมูกแรง ๆ, ความกดดันอาการเปลี่ยนแรงอย่างกระทันหัน เช่น การขึ้นเครื่องบิน การอักเสบในจมูก เนื้องอกในจมูกบริเวณไซนัสและโพรงหลังจมูก รวมไปถึงการได้รับอุบัติเหตุบริเวณหัวและกระดูกใบหน้าด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีเลือดกำเดาไหลปริมาณมากและเป็นซ้ำ ๆ รวมไปถึงอาจเกิดจากการผิดรูปของผนังกั้นช่องจมูกและภาวะอากาศเย็น ความชื้นต่ำได้ด้วย เยื่อบุจมูกจึงแห้งมีเลือดไหลออกมาได้ง่าย 2. เกิดจากโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคไต ไตวายเรื้อรังทำให้เกร็ดเลือดทำงานผิดปกติ , ผู้ป่วยที่กินยาบางประเภท เช่น ยาสลายลิ่มเลือด แอสไพริน ซึ่งยาเหล่านี้จะทำให้เลือดไหลได้ง่ายกว่าปกติ รวมไปถึงผู้ป่วยด้วยโรคตับแข็งและโรคเลือดต่าง ๆ ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติได้อีกด้วย การบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหลและการดูแล – ให้ผู้เงยหน้าขึ้น บีบจมูกด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้งทั้งสองข้างให้แน่นประมาณ 5-10 นาทีจนกว่าเลือดจะหยุดไหล…
-
ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต
ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต ไตของคนเรานั้น เป็นอวัยวะที่มีขนาดเท่ากับกำปั้นของเจ้าของ มีรูปร่างคล้ายถั่วแดง อยู่บริเวณด้านหลังของลำตัวในระดับของกระดูกซี่โครงส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย กรองของเสียในร่างกาย หากไตบกพร่องก็อาจทำให้คุณเป็นโรคไตได้ด้วย โรคไตนั้นมีหลายชนิด แต่ที่อันตรายที่สุดเห็นจะเป็นไตวายเรื้อรัง มีอาการที่เห็นได้ก็คือ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ซึม วิงเวียน ปวดหัว การรับรสเปลี่ยนไป มีอาการชาตามปลายมือและปลายเท้า รวมทั้งน้ำหนักตัวลดลงได้ และที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคไตที่สำคัญคือ พฤติกรรมการถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนไปทั้งในเรื่องความถี่ ปริมาณของน้ำปัสสาวะ สีของปัสสาวะ เช่น เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นเวลากลางคืน ปริมาณลดน้อยลง ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมา รวมทังปวดหลังปวดเอว ความดันโลหิตสูง หน้าบวม เท้าบวมและท้องบวม กลุ่มเสี่ยงในการเป็นโรคไตวายนั้นจะมีอยู่สองกลุ่มก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตอยู่แล้ว เช่น ความดันสูง หรือเบาหวาน กับอีกกลุ่มคือเป็นโรคไตซ่อนอยู่ และไม่เคยแสดงอาการอะไรออกมาเลย ไม่เคยป่วยเจ้าโรงพยาบาลแต่ความจริงมีโรคไตซ่อนอยู่ หากไม่ตรวจก็จะไม่รู้ว่าเป็นโรคไต โรคไตนี้สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้โดย – อย่าทรมานไตมากเกินไป ด้วยการกินยาที่ซื้อมาเอง หรือกินยาผิดขนาด ผิดชนิด และปริมาณ รวมทั้งกินยาซ้ำซ้อนไปหมด หากซื้อยามากินเองไม่ปรึกษาแพทย์อาจทำให้เกิดผลเสียต่อไต ทำให้ไตอักเสบและเป็นโรคไตได้ –…