Tag: ไตวายเฉียบพลัน
-
ภาวะไตวาย
ภาวะไตวาย ภาวะไตวาย คือการสูญเสียการทำงานของไต สามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดได้แก่ 1. ไตวายแบบเฉียบพลัน เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากกินเวลาแค่เป็นชั่วโมงหรือเป็นวันเท่านั้น เกิดจากการคั่งของของเสียที่ทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะปัสสาวะน้อยกว่าวันละ 400 ซีซี เกิดจากจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อ หรือเสียเลือดมาก หรือขาดน้ำรุนแรง ผู้ป่วยอาจอาจกลับมาเป็นปกติได้หากได้รับการรักษาทันท่วงที 2. ภาวะไตวายเรื้อรัง จะเกิดการสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างช้า ๆ กินเวลาตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปี จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะไตวาย ซึ่งต้องได้รับการรักษาแบบทดแทน เช่น การฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต จึงจะทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ สัญญาณเตือนและอาการที่บอกว่าเป็นโรคไต 1. ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ 2. มีโปรตีนหรือไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ อาจทำให้ปัสสาวะมีฟองมากแกละไม่สลายตัวไปง่าย ๆ 3. บวมรอบ ๆ ตาและข้อเท้า 4. ปวดหลังบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวไปที่ขาหนีบและลูกอัณฑะ หากปวดบริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่าแสดงว่าอาจมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ถ้าเจ็บปวดและมีไข้หนาวสั่น อาจมีการติดเชื้อทางเดินปันสาวะส่วนบนคือท่อไตและกรวยไต…
-
อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต
อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต การกินมะเฟืองมากเกินไป มีผลต่อร่างกายถึงขั้นทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ ซึ่งนี่เป็นข้อมูลจาก รศ.นพ. ม.ล. ชาครีย์ กิติยากร ซึ่งเป็นอายุรแพทย์หน่วยโรคไต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้กล่าวว่า ปัจจุบันนี้มีบทความที่เผยแพร่ผ่านเสื่อต่าง ๆ มากมาย ชักชวนให้มากินมะเฟืองสดกัน โดยระบุว่าช่วยรักษาโรคและลดน้ำตาลในเลือดได้ ทำให้มีผู้คนหลงเชื่อและซื้อมากินกันมากมาย บางคนกินมากจนเกิดผลเสียต่อร่างกาย และที่อันตรายกว่านั้นคือพบผู้ป่วยอยู่ในภาวะไตวายเฉียบพลันเป็นจำนวนมากหลังการกินมะเฟืองสด หรือนำมะเฟือง โดยผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกน้อย บวมน้ำ ความดันสูง อ่อนเพลีย น้ำท่วมปอด บางรายอาจมีอาการสะดึก ต้องรักษาด้วยการฟอกเลือดล้างไต หากเป็นผู้ป่วยที่เดิมมีไตปกติอยู่แล้ว ไตจะสามารถกลับมาทำงานตามปกติได้ แต่อาจต้องใช้เวลา 3-4 อาทิตย์ แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่ก่อน การรักษาอาจทำให้การทำงานของไตดีขึ้นบ้าง แต่ไม่เท่าเดิม อาจต้องได้รับการฟอกไตตลอดไป เพราะว่าในมะเฟืองนั้นมีสารออกซาเลตสูงมาก เมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายจะถูกขับออกทางไต ทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ และเพราะออกซาเลตไปจับตัวกับแคลเซียมในร่างกายเกิดเป็นผลิตออกซาเลต เมื่อตกผลึกเป็นจำนวนมากในเนื้อไตก็จะทำให้เกิดการอุดตัน ไตสูญเสียการทำงานหรือไตวายได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังทำให้พิษต่อระบบประสาท ทำให้สมองบวม ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ สะอึก อาเจียน แล้วตามด้วยภาวะซึมและชักได้ จนตอนนี้ก็มีรายงานพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากการกินมะเฟืองไปแล้วด้วย พิษจากการกินมะเฟืองนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง – ความแข็งแรงของผู้ป่วย หากเป็นผู้ป่วยโรคไตอยู่แล้วอาจเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้…
-
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย มีคนจำนวนไม่น้อยไม่ทราบว่าทำไมตนจึงเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายได้ แต่คนที่เป็นโรคที่อาจเกิดความเสี่ยงไตวายนั้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อรับยาเป็นประจำตามที่หมอพยาบาลแนะนะ ก็คงจะปลอดจากโรคไตได้ แต่ก็มีบางท่านที่สุขภาพแข็งแรงมาก ซ้ำยังเป็นนักกีฬา ไม่เคยเจ็บป่วยมาก่อน ฯลฯ ไม่ได้แปลว่าท่านจะไม่ได้ป่วย ท่านอาจมีโรคไตซ่อนอยู่ในตัวก็ได้ ทางที่ดีควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ดีกว่าค่ะ 1. ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ด้วยการตรวจหาระดับครีอะตินีนด้วย ซึ่งจะบอกได้ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ หากมีความผิดปกติก็แพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำและตรวจเพิ่มเติมส่วนอื่น ๆ ด้วย 2. ดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ 3. งดการสูบบุหรี่ และลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ หลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิดด้วย 4. หากร่างกายแสดงสัญญาณเตือน ก็ควรรีบไปหาหมอเพื่อการตรวจ 5. ระวังอย่าให้ท้องเสีย เพราะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการท้องเสียโดยเฉพาะถ่ายเป็นน้ำมาก ๆ จะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว จึงเกิดอาการไตวายเฉียบพลันต้องล้างไต แต่บ่อยครั้งที่ไตไม่ฟื้นอีกเลยผู้ป่วยต้องล้างไตไปตลอดชีวิต 6. อย่าซื้อยากินเอง 7. อย่ากินยาซ้ำซ้อน บางท่านไปหาหมอหลายคลินิกก็ได้ยาแก้ปวดคล้ายๆ กันมาหลายยี่ห้อ กินเข้าไปพร้อมกันจะเกิดผลเสียอย่างร้ายแรง และอย่าเก็บยาเก่าไว้กิน ยกเว้นได้นำไปให้หมอตรวจดูแล้วบอกว่ากินต่อไปได้เท่านั้น 8. อย่าหลงคำโฆษณาด้วยการกินอาหารเสริม บางอย่างมีเกลือผสมอยู่มากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ หากไม่ต้องการเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย…
-
ความรู้ดีๆ…การรักษาโรคเกี่ยวกับไตด้วยเซซามิน
ความรู้ดีๆ…การรักษาโรคเกี่ยวกับไตด้วยเซซามิน การรักษาโรคเกี่ยวกับไตด้วยเซซามิน เนื่องจากขณะนี้มีผู้ที่สอบถามเกี่ยวกับการรักษาโรคเกี่ยวกับไตด้วย “เซซามิน” มาเยอะมาก ผู้เขียนจึงขอรวบรวมคำตอบจาก “รศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ”มาฝากกันนะคะ – มีอาการไตวายเฉียบพลัน ต้องฟอกไตและได้ทำการเปลี่ยนถ่ายไตไปแล้ว ขณะนี้มีอาการติดเชื้อในกระแสเลือด แต่ยังคงพูดคุยกันได้ตามปกติจะสามารถทาน Aimura Sesameal ได้หรือไม่และต้องทานอย่างไร – ตอบ สามารถทานได้โดยทานก่อนอาหารวันละ 2 แคบซูลต่อวันเช้าหรือเย็นก็ได้ แล้วสังเกตดูว่ามีอาการขับพิษหรือไม่ หลังจากนั้นจึงเพิ่มเป็นครั้งละ 2 แคปซูลเช้าและเย็น หรือครั้งละ 2 แคปซูล เช้า กลาง วันและเย็นด้วยก็ได้ – ตอนนี้คุณยายป่วยเป็นโรคไตต้องล้างไต 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หากทานเซซามินจะมีปัญหากับไตหรือไม่ แล้วปลอกแคปซูลจะทำให้เกิดสารตกค้างหรือเปล่า – ตอบ สามารถทานได้โดยการถอดแคปซูลออกแล้วทานแต่เนื้อยาด้านใน ส่วนตัวปลอกแคปซูลทำจาก gelatin การดูแลร่างกายก่อนด้วยการกินอาหารให้เป็นยา ย่อมดีกว่าการกินยาจนเป็นอาหาร ด้วยการดูแลสุขภาพของตนเองและคนที่เรารักด้วย เอมมูร่า เซซามิน ซึ่งได้รับการวิจัยจาก รศ.ดร. ปรัชญา คงทวีเลิศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้วว่ามีสรรพคุณในระดับชีวโมเลกุลที่ช่วยดูและและส่งเสริมสุขภาพได้เป็นอย่างดี