Tag: ไตวาย
-
ระวังการใช้ยาที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้
ระวังการใช้ยาที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ อันตรายจากการใช้ยานั้นพบได้แทบทุกเพศทุกวัน แม้ว่ายาจะเป็นหนึ่งปัจจัยสี่ก็ตาม แต่หากใช้อย่างพร่ำเพรื่อก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ด้วย ซึ่งเกิดได้ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาเกินขนาด การแพ้ยา ดื้อยา และได้รับผลข้างเคียงของยา – ในเด็ก เกิดอันตรายได้แม้จะเป็นยาที่ใช้บ่อยและหาซื้อได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นยาแก้แพ้ที่นิยมใช้เพื่อรักษาหวัด อาจกดการหายใจจนทำให้เสียชีวิตได้หากได้รับยาเกินขนาด หรือแม้แต่แอสไพรินในเด็กก็ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เป็นพิษต่อตับและสมองได้ – ในผู้ใหญ่ก็สามารถได้รับอันตรายจากยาได้เช่นกัน เช่น การทานยาพาราเซตามอลร่วมกับการดื่มสุรา หรือทานยามากเกินขนาดจนเป็นพิษต่อตับ รวมไปถึงการทานยาฆ่าเชื้อ (หรือยาแก้อักเสบ) มักจะใช้กันอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เสี่ยงต่อการแพ้ยาและดื้อยาได้ด้วย – ส่วนผู้สูงอายุ มักมีโรคภัยมากมายต้องกินยาหลายชนิด จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้มากและรุนแรงกว่า เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบ กลุ่ม NSAID อาจทำให้เกิดแผลและเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือไตวายได้ ดังนั้นผู้สูงอายุควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกชนิด – หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก ยาหลายชนิดสามารถผ่านรก ผ่านน้ำนม ทำอันตรายกับเด็กได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหรือหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือก่อนการใช้ยาทุกชนิด การใช้ยาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งอายุ โรค และคุณภาพของอวัยวะภายในชิ้นส่วนต่าง ๆ ดังนั้นควรทานยาตามแพทย์สั่งและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเพื่อลดโอกาสอันตรายจากการใช้ยาได้ค่ะ
-
ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้
ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้ ปัจจุบันนี้มีการนิยมนำเอาสมุนไพรบางชนิดมาช่วยบรรเทาและรักษาโรคเบาหวานกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ “ปอบิด” หรือ “ปอกะบิด” นั่นเอง ซึ่งแม้จะมีฤทธิ์ช่วยในการลดน้ำตาลได้เลือดได้ แต่ก็พบว่ามีผู้ป่วยบางรายมีอาการไตวายเป็นผลข้างเคียงด้วย อันตรายมาก! ซึ่งมีรายงานจากการวิจัยพบว่า ปอบิดนี้ช่วยรักษาเบาหวานได้จริง สามารถลดระดับน้ำตาลในหนูทดลองได้ แต่ก็ทำลายตับของหนู และกระตุ้นหัวใจของกบได้ด้วย ซึ่งสมุนไพรดังกล่าวยังไม่มีงานวิจัยในด้านพิษวิทยาล่าสุดนี้มีงานวิจัยจาก รศ.รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าแม้ปอบิดจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ให้ผลใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่สามารถทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง ผ็ป่วยควรตรวจการทำงานของตับและไตทุก 3 เดือน และห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้ในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคตับหรือโรคไต รวมไปถึงผู้ที่มีพันธุกรรมเป็นโรคตับโรคไตในครอบครัวด้วย ผู้ป่วยเบาหวานนั้นมักจะมีตับ ไต ตับอ่อน หัวใจไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย หากต้องการใช้สมุนไพรไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 7 วัน เพราะปริมาณสารเคมีจากสมุนไพรควบคุมได้ยาก และไม่ควรกินแทนยา จึงควรมีช่วยหยุดพักในการกินหรือทานสมุนไพรชนิดอื่น ๆ สลับกันไป เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงได้อีกในอนาคตค่ะ
-
ภาวะไตวาย
ภาวะไตวาย ภาวะไตวาย คือการสูญเสียการทำงานของไต สามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดได้แก่ 1. ไตวายแบบเฉียบพลัน เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากกินเวลาแค่เป็นชั่วโมงหรือเป็นวันเท่านั้น เกิดจากการคั่งของของเสียที่ทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะปัสสาวะน้อยกว่าวันละ 400 ซีซี เกิดจากจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อ หรือเสียเลือดมาก หรือขาดน้ำรุนแรง ผู้ป่วยอาจอาจกลับมาเป็นปกติได้หากได้รับการรักษาทันท่วงที 2. ภาวะไตวายเรื้อรัง จะเกิดการสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างช้า ๆ กินเวลาตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปี จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะไตวาย ซึ่งต้องได้รับการรักษาแบบทดแทน เช่น การฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต จึงจะทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ สัญญาณเตือนและอาการที่บอกว่าเป็นโรคไต 1. ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ 2. มีโปรตีนหรือไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ อาจทำให้ปัสสาวะมีฟองมากแกละไม่สลายตัวไปง่าย ๆ 3. บวมรอบ ๆ ตาและข้อเท้า 4. ปวดหลังบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวไปที่ขาหนีบและลูกอัณฑะ หากปวดบริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่าแสดงว่าอาจมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ถ้าเจ็บปวดและมีไข้หนาวสั่น อาจมีการติดเชื้อทางเดินปันสาวะส่วนบนคือท่อไตและกรวยไต…
-
เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องลดอาหารเค็มนะ
เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องลดอาหารเค็มนะ โรคความดันโลหิตสูงคือ โรคที่ผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตเกินกว่า 140/90 ขึ้นไป เป็นฆาตกรเงียบ ผุ้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีอาการ อาจมีอาการเตือนบ้างเช่น ปวดมึนท้ายทอย วิงเวียน ปวดหัวตุบ ๆ ยิ่งปล่อยให้เป็นนานเท่าไรก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดทั่วร่างกายเท่านั้น ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน ไตวาย ฯลฯ ซึ่งมีความอันตรายมาก ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงความดูแลตนเอง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานผัก ผลไม้สดไม่หวานและลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็ม อีกทั้งยังควรผ่อนคลายความเครียดด้วย อีกสองอย่างที่ควรเลิกอย่างเด็ดขาดเลยก็คือเหล้าและบุหรี่ สาเหตุที่คนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงควรลดอาหารเค็ม ก็เพราะในเกลือนี้จะมี โซเดียม อยู่มากโซเดียมจะดูดน้ำได้ดี นอกจากพบมากในเกลือแล้ว ยังพบได้อีกใน ผงชูรส สารกันเสีย ผงฟูที่ใส่ในอาหารพวกเบเกอรี่ ขนมปังต่าง ๆ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าเวลาทานอาหารเหล่านี้แล้วเรามักหิวน้ำมากนั่นเอง การงดอการเค็มก็เพื่อป้องกันมิให้น้ำคั่งในร่างกายมากขึ้น น้ำเลือดเพิ่มขึ้นแต่หลอดเลือดมีขนาดเท่าเดิม บางคนยังแข็ง ตีบ เปราะอีก อาจทำให้เกิดแรงดันในหลอดเลือดสูงขึ้น จนเส้นเลือดแตกหรือฉีกขาดได้ นอกจากนี้การกินเค็มมากยังทำให้เกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารได้อีก ซึ่งการลดโซเดียมในอาหารนี้ก็มีเคล็ดลับง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – ไม่เติมเครื่องปรุงเพิ่มไม่ว่าจะเป็น ผงชูรส น้ำปลา เกลือ…
-
ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้
ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังนั้น สามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงและอายุที่ยาวนานขึ้นได้ด้วยการทำความเข้าใจกับสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บของตนเอง และบทความในวันนี้จะขอนำเอาเคล็ดลับที่อ่านเข้าใจง่ายของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังรายหนึ่งที่ดูแลสุขภาพของตนเองมาได้ถึง 22 ปี ทั้ง ๆ ที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมานานแล้ว เธอมีอายุ 62 ปี และดูแลการกินอาหารของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ – หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มด้วยการทำอาหารทานเองที่บ้าน ไม่ใส่เกลือ น้ำปลา เครื่องปรุงรสอื่น ๆ – กินอาหารนอกบ้านจะไม่เติมเครื่องปรุง ถ้ากินก๊วยเตี๋ยวจะสั่งเป็นแห้ง และไม่เติมผลชูรส – กินโปรตีนแต่พอดี ๆ เพราะกินมากจะมีของเสียผ่านไตมาก ไตจะทำงานหนัก และไม่น้อยเกินไปเพราะอาจทำให้ขาดสารอาหารและกล้ามเนื้อลีบได้ – ระวังการกินถั่ว และน้ำเต้าหู้ต่าง ๆ ด้วย ถ้าอยากกิน กินได้แค่คำหรือสองคำเท่านั้น รวมไปถึงเต้าหู้และโปรตีนเกษตรด้วย เพราะในธัญพืชมีฟอสฟอรัสมาก จะเปลี่ยนเป็นฟอสเฟตในเลือดที่จะไปดึงแคลเซียมออกมาจากกระดูกทำให้กระดูกบาง – ไขมันกินมาก ๆ จะอ้วน และไขมันสูงทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ก็งดไม่ได้เพราะจำเป็นต่อการดูดซึมวิตามิน ADEK แต่จะเลือกกินเป็นไขมันไม่อิ่มตัว พวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย รำข้าวและงา –…
-
หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบปัจจุบัน ทั้งโภชนาการที่ล้นเกิน และอบายมุขทั้งหลาย ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีกว่าปีละเกือบล้านคน โรคนี้ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีความยืดหยุ่นน้อยลง ความเร็วของการไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตกหรือหลอดเลือดสมองตีบ และอาจมีโอกาสเป็นโรคไตวายได้ โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่อาจทำลายชีวิตคนได้ตลอดเวลา เราจึงควรดูแลร่างกายตัวเองแต่เนิ่น ๆ ดังนี้ หลักข้อแรก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ควรรักษาค่าดัชนีมวลกายไว้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลักข้อที่สอง ทานอาหารและเลือกทานเฉพาะที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่การกินอาหารที่มีปริมาณสัดส่วนสารอาหารที่พอเพียงต่อร่างกาย ลดอาการที่มีรสชาติหวาน ทานแป้งและน้ำตาลแต่พอดี ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ที่มีรสหวานให้น้อยลง ทานธัญพืชให้เป็นประจำ รวมไปถึงการกินอาหารที่รสเค็มอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ ซีอิ๊วน้ำปลา กะปิ ปลาร้า ให้น้อยลง และไม่ควรปรุงอาหารเพิ่มเองด้วย หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ไก่ทอด แฮม เบคอน หากต้องการปรุงรสอาหารเพิ่มแนะนำให้เติมมะนาว พริก น้ำส้มสายชูหมัก เครื่องเทศหรือสมุนไพร แทนเครื่องปรุงรสเค็มทั้งหลาย และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่และไม่ควรอยู่ในที่ที่มีแต่ควันบุหรี่ด้วย หลักข้อที่สาม ขยับเขยื้อนเนื้อตัวอยู่ตลอดเวลา หันมาเดินให้มากขึ้น…
-
ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้
ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้ ในประเทศไทยเองมีผุ้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่รู้ตัวว่าป่วยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนมากเพราะไม่แสดงอาการออกมา บางรายอาจแค่มึนงง หรือปวดหัวบริเวณท้ายทอย จึงไม่ไปตรวจรับการรักษา เมื่อเป็นนาน ๆ เข้า หลอดเลือดแดงในร่างกายจึงแข็งตัวและตีบตัน เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ไม่พอ เกิดภาวะหัวใจโต ไตเสื่อม จนไตวายได้ เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตกอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ โรคนี้จึงอันตรายมากเพราะเป็นโรคแอบแฝง แต่สามารถคร่าชีวิตเราได้ทุกเมื่อ ผู้ใหญ่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยด้วยนั้น มีภาวะป่วยเป็นความดันโลหิตสูงถึง 1 ใน 3 คน เสียชีวิตปีละ 1.5 ล้านคนเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ควารดูแลตนเองด้วยหลัก 3 ข้อดังต่อไปนี้ 1. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่าให้อ้วนเกินไป มีค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 2. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย รสชาติพอดีไม่ปรุงแต่งมากเกินไปจนเค็ม หวานหรือมัน ชิมอาหารก่อนปรุงทุกครั้ง ทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานให้มากขึ้น เลือกอบายมุขทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และน้ำหวานน้ำอัดลมต่าง ๆ ด้วย 3. หมั่นขยับเขยื้อนร่างกายเสมอ…
-
เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย
เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย ในแต่ละปีนั้นองค์การอนามัยโลกคาดว่ามีผู้ป่วยไข้มาลาเรียถึงกว่าปีละ 500 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่าปีละล้านคน ระบาดสูงสุดในช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ค. ผู้ที่ชอบไปท่องเที่ยวในป่า หรือแหล่งที่มียุงชุกชุมจึงมักติดเชื้อไข้มาลาเรียได้ง่ายในช่วงนี้ ไข้มาลาเรีย หรือไข้ป่านี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่ติดต่อกันโดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ มักระบาดตามป่าเขา และพบการโรคมาลาเรียนี้ดื้อยามากขึ้นด้วย เมื่อยุงไปกัดคนที่มาเชื้อมาลาเรียเข้าเชื้อก็จะเข้าไปแบ่งตัวในยุง เมื่อไปกัดคนอื่นก็จะถ่ายทอดเชื้อออกไป เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนจะเจริญเติบโตในเซลล์ตับและเม็ดเลือดแดง มีระยะฟักตัวประมาณสองอาทิตย์ แล้วจะป่วยไม่สบาย ต่อมาก็จะมีไข้หนาวสั่น ปวดหัว ปวดเมื่อย คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลืองซีด ปัสสาวะสีดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำและเสียชีวิตได้ เพราะการกินยาป้องกันมาเลเรียล่วงหน้านั้นไม่ได้ผล การที่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในป่าหรือเดินทางศึกษาธรรมชาติจึงควรระมัดระวังตนเองไม่ให้ยุงกัด ด้วยการสวมเสื้อผ้ามิดชิด ทาโลชั่นกันยุงและนอนในมุ้งที่ฉาบน้ำยา หากกลับจากไปเที่ยวแล้วป่วยควรรีบไปพบแพทย์ด่วน และควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งและทานยาให้ครบถ้วนด้วย ผู้ที่เพิ่งกลับจากป่าเขามาอย่าเพิ่งบริจาคโลหิตจะดีกว่าเพราะงานบริการโลหิตยังไม่มีวิธีการตรวจเชื้อมาลาเรียได้ และเชื้อมาลาเรียที่ติดมากับโลหิตบริจาคจะสามารถถ่ายทอดไปยังผู้รับโลหิตได้อีกด้วย
-
อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต
อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต การกินมะเฟืองมากเกินไป มีผลต่อร่างกายถึงขั้นทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ ซึ่งนี่เป็นข้อมูลจาก รศ.นพ. ม.ล. ชาครีย์ กิติยากร ซึ่งเป็นอายุรแพทย์หน่วยโรคไต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้กล่าวว่า ปัจจุบันนี้มีบทความที่เผยแพร่ผ่านเสื่อต่าง ๆ มากมาย ชักชวนให้มากินมะเฟืองสดกัน โดยระบุว่าช่วยรักษาโรคและลดน้ำตาลในเลือดได้ ทำให้มีผู้คนหลงเชื่อและซื้อมากินกันมากมาย บางคนกินมากจนเกิดผลเสียต่อร่างกาย และที่อันตรายกว่านั้นคือพบผู้ป่วยอยู่ในภาวะไตวายเฉียบพลันเป็นจำนวนมากหลังการกินมะเฟืองสด หรือนำมะเฟือง โดยผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกน้อย บวมน้ำ ความดันสูง อ่อนเพลีย น้ำท่วมปอด บางรายอาจมีอาการสะดึก ต้องรักษาด้วยการฟอกเลือดล้างไต หากเป็นผู้ป่วยที่เดิมมีไตปกติอยู่แล้ว ไตจะสามารถกลับมาทำงานตามปกติได้ แต่อาจต้องใช้เวลา 3-4 อาทิตย์ แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่ก่อน การรักษาอาจทำให้การทำงานของไตดีขึ้นบ้าง แต่ไม่เท่าเดิม อาจต้องได้รับการฟอกไตตลอดไป เพราะว่าในมะเฟืองนั้นมีสารออกซาเลตสูงมาก เมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายจะถูกขับออกทางไต ทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ และเพราะออกซาเลตไปจับตัวกับแคลเซียมในร่างกายเกิดเป็นผลิตออกซาเลต เมื่อตกผลึกเป็นจำนวนมากในเนื้อไตก็จะทำให้เกิดการอุดตัน ไตสูญเสียการทำงานหรือไตวายได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังทำให้พิษต่อระบบประสาท ทำให้สมองบวม ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ สะอึก อาเจียน แล้วตามด้วยภาวะซึมและชักได้ จนตอนนี้ก็มีรายงานพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากการกินมะเฟืองไปแล้วด้วย พิษจากการกินมะเฟืองนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง – ความแข็งแรงของผู้ป่วย หากเป็นผู้ป่วยโรคไตอยู่แล้วอาจเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้…
-
การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย
การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย ปัจจุบันนี้โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีคนเป็นกันทั่วโลกเพิ่มขึ้นทุกปี และในประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยรายใหม่เพื่อทุกปีกว่าปีละ 500 ราย วันนี้จึงขอนำเอาคำแนะนำในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากอาการไตวายมาฝากกันค่ะ โดยผู้ที่ควรปฎิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้นอกจากผู้ที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้ว ก็ยังรวมไปถึง ผู้ที่ติดเชื้อซ้ำซากในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่เป็นนิ่วในไต หรือไตพิการ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเก๊าต์ โรคเอสแอลอี หรือผู้ที่ใช้ยาบางชนิด ควรถนอมไตของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ทานอาหารให้ได้รับสารอาหารและคุณค่าที่หลากหลาย ลดอาหารเค็ม หวาน ไขมันสูงทั้งหลายซะ 2. ควบคุมระดับของความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้ และดูแลทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย 4. ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ร่างกายขับของเสียได้ดีขึ้น 5. ไม่ควรซื้อยามากินเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง 6. งดการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า เพราะทำลายสุขภาพมาก 7. ผู้ที่ป่วยหรือมีอาการโรคไตแล้ว ควรพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะการจะลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคได้นั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองที่เหมาะสมค่ะ