Tag: ไข้หวัดใหญ่
-
ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก
ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก แม้จะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี แต่ในช่วงหน้าหนาวที่อากาศเปลี่ยนแปลงก็ไม่ควรประมาท แต่ควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นไว้ตลอดเวลายิ่งหากไปท่องเที่ยวในที่เย็น ๆ ด้วยแล้ว ควรเตรียมอุปกรณ์กันหนาวให้ครอบครัน และปรึกษาแพทย์ก่อนไปด้วยนะคะ ระหว่างฤดูหนาวนี้ควรดื่มน้ำให้ได้วันละสองลิตรเพื่อป้องกันผิวแห้ง และนอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารร้อน ๆ รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ด้วย โรคภัยและความเจ็บป่วยที่ผู้สูงวันต้องระวังเป็นพิเศษได้แก่ 1. โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคติดต่อทางเดินหายใจทั้งหลาย ที่อาจลุกลามไปสู่อาการปอดอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบได้ จึงไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านและอับชื้น ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการรับเชื้อ ควรงดสูบบุหรี่ไปเลยเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กหรือผู้ป่วยคนอื่น ๆ ยิ่งหากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ 2. เนื่องจากผู้สูงวัยจะมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย ผิวจึงแป้ง เป็นผื่นอักเสบและลอกคันได้ง่าย ยิ่งเป็นฤดูหนาวที่อากาศแห้ง ผิวจะยิ่งสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่าย ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัดเพราะจะยิ่งชะล้างไขมันออกไปมากขึ้น ควรรักษาความอบอุ่นร่างกายไว้ สวมเสื้อผ้าหนา ๆ ไม่ควรอาบน้ำนานเกินไป ทาผิวด้วยโลชั่นหรือน้ำมันบำรุงผิวหลังอาบน้ำทุกครั้ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และควรเลือกผลิตภัณฑ์ทาผิวที่มีความอ่อนโยนด้วย ควรทาบ่อย ๆ หากรู้สึกว่าผิวแห้ง เพื่อป้องกันผิวหนัง และทาลิปมันบำรุงผิวริมฝีปากไว้ด้วย ทาบ่อยได้ตามต้องการค่ะ 3. ในช่วงหน้าหนาว หากผู้สูงวัยไม่ค่อยออกกำลังกาย การกินอาหารที่ไขมันสูงเข้าไป หัวใจจะทำงานหนักมากยิ่งขึ้นในช่วงฤดูหนาว…
-
เดินลุยน้ำช่วงหน้าฝน ระวังโรคฉี่หนู
เดินลุยน้ำช่วงหน้าฝน ระวังโรคฉี่หนู ในหน้าฝนของทุกปีนั้น นอกจากโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออกทั้งหลายแล้ว โรคที่ควรระวังอีกโรคหนึ่งก็คือ โรคฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรสิส นั่นเอง เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คนได้ โดยสัตว์ที่เป็นพาหะพบได้บ่อยก็คือหนูทุกชนิด โดยเชื้อโรคจะมาจากปัสสาวะของหนู แต่ก็สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นด้วยเช่น หมู วัว ควาย ม้า แกะ แพะ นก กระรอก หมา แมว ฯลฯ เมื่อสัตว์ที่มีเชื้อเหล่านี้ฉี่ลงในแหล่งน้ำที่เราไปเหยียบย่ำเข้า เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผลหรือเยื่อบุอ่อน ๆ หรือจากการกินน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน รวมไปถึงการหายใจเอาละอองเชื้อเข้าไป โรคนี้ยังไม่พบการติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อนี้ไปแล้วจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1-2 อาทิตย์ แล้วแสดงอาการสองแบบ แบบแรกก็คืออาการไม่รุนแรงนัก มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หนาวสั่น มีไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด ปวดหัวมาก มีเลือดออกที่เยื่อบุตา คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะปวดน่องสองข้าง และอาจปวดท้องและหลังด้วย สามารถรักษาให้หายได้ แต่แบบที่สองนั้นจะรุนแรงจนสามารถเสียชีวิตได้เลย จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ราว 5-15% ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตับและม้ามโต ตับวายไตวายเฉียบพลัน ตับอ่อนอักเสบรุนแรง…
-
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เพราะในหน้าฝนมีอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลง กับมีความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้มีหลายโรคที่ระบาดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโรคดังกล่าวก็ได้แก่ 5 กลุ่มโรคต่อไปนี้ทำควรป้องกันการติดต่อมากเป็นพิเศษ 1. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทั้งท้องร่วง ไทรอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้และปวดบิดในท้อง หากติดเชื้อบิดก็อาจถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ จึงควรระวังการทานอาหารมากเป็นพิเศษ ควรทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางด้วย 2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเยื่อบุผิวหนังหรือบาดแผล ที่พบได้บ่อยก็โรคฉี่หนู อาการจะมีไข้สูง ปวดหัวมาก มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรนแรง ตาแดง มักเกิดในที่น้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ชาวไร่ชาวสวน ผู้ที่ทำงานกับการแช่น้ำ ในที่เฉอะแฉะ หรือผู้ที่ทำงานลอกท่อระบายน้ำ ทำงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ 3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม รวมไปถึงโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งแพร่ระบาดจากสัตว์ปีก ซึ่งเชื้ออาจข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหน้าฝนได้ 4.…
-
ความสำคัญของการล้างมือ
ความสำคัญของการล้างมือ มือเป็นอวัยวะที่ช่วยให้ร่างกายเราสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง ทั้งกิจวัตรส่วนตัว ทำงาน และช่วยเหลือดูแลผู้อื่นด้วย แต่ก็มือนี่เองเช่นกันที่อาจนำเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ด้วย และยังแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าห้องน้ำแล้วไม่ล้างมือ แต่ไปจับราวโหนรถไฟฟ้า ลูกบิดประตู ราวบันไดเลื่อน ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นการกระจายเชื้อโรคแทบทั้งนั้น ซึ่งโรคร้ายที่ติดต่อจากการสัมผัสนั้นก็ได้แก่ 1. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค หัดเยอรมัน นอกจากจะติดต่อทางลมหายใจแล้ว การหยิบจับสิ่งของใช้ร่วมกัน ก็สามารถแพร่เชื้อได้ด้วย 2. โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร แพร่กระจายด้วยการที่ใช้มือที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้หยิบจับอาหารเข้าปาก 3. โรคทางการสัมผัส เช่น ตาแดง เชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง หิด เหา เริม 4. โรคติดต่อหลายทาง เช่น อีสุกอีใส อาจติดต่อได้ทั้งลมหายใจและการสัมผัสด้วย โรคทั้งหมดนี้แม้จะพบได้บ่อย แพร่กระจายเชื้อได้ก็มาก แต่การป้องกันแล้วถือว่าได้ผลและแทบไม่ต้องเสียอะไรเลย ซึ่งก็ได้แก่การล้างมือนั่นเอง การล้างมือบ่อย ๆ ป้องกันการระบาดของเชื้อได้หลายชนิด การล้างมือให้สะอาดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเลย แค่ใช้น้ำกับสบู่เท่านั้นแล้วล้างให้ทั่วมือให้หมดจด ก็ลดการติดเชื้อได้มากแล้ว ควรหมั่นล้างมือให้เป็นนิสัย ยิ่งโดยเฉพาะก่อนและหลังกิจกรรมเหล่านี้ – หลังการทำงานหนักที่มือต้องสกปรก เช่น…
-
หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ
หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ อาการโรคทางเดินหายใจมีหลายโรคค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยการดูแลตนเองดังต่อไปนี้ 1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ ไม่ควรเล่นน้ำหรือแช่น้ำนาน ๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสนิท ไม่เปียกชื้อ หากเข้าหน้าหนาวควรสวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากหากต้องคลุกคลีหรือเข้าใจผู้เป็นโรคชนิดนี้อยู่ และไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน 3. ในช่วงที่มีโรคทางเดินหายใจระบาด ควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เช็ดมือ 4. ในเด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่อายุมากว่า 65 ปี รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคหัวใจ โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง เอดส์ โรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ด้วย ในส่วนของการรักษาตัวเบื้องต้นหากติดเชื้อโรคทางเดินหายใจเช่นไข้หวัดมาแล้ว ก็คือควรอยู่ห่างจากการอยู่ในที่ชุมชน อย่าคลุกคลีกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแพร่เชื้อ แยกเตียงนอนกับลูกหรือสามีภรรรยา ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หรือหน้ากากอนามัย ไม่ควรไอจามใส่ผู้อื่น ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ควรอาบน้ำอุ่น ๆ หรือเช็ดตัวแทน แล้วดื่มน้ำมาก ๆ กินแต่อาหารที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำ…
-
เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้
เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้ อาการไข้ขึ้นของเด็กเล็กนี่ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองหลายคนวิตกกังวลได้เหมือนกันค่ะว่าลูป่วยเป็นโรคอะไรกันแน่ วันนี้มาฟังคำอธิบายแบบง่าย ๆ กันนะคะ – ไข้หวัดนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยติดต่อกันทางน้ำมูก น้ำลาย การไอหรือจาม ยิ่งหากเด็ก ๆ อยู่รวมกันเป็นจำนวนมากและอากาศถ่ายเทไม่สะดวกแล้วก็มีโอกาสติดหวัดกันได้ง่าย ไข้หวัดทั่วไปจะมีอาการไม่รุนแรงและหายได้เอง หากเป็นเด็กที่แข็งแรงอยู่แล้ว ก็สามารถดูแลเบื้องต้นได้เอง แต่หากเป็นเด็กเล็กมาก หรือมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นหอบหืด โรคหัวใจ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรมาพบแพทย์ – ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ มีความแตกต่างจากไข้หวัดก็คือ มีไข้ต่ำ ๆ มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล หลายวันไปสีจะข้นขึ้น มีอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก เบื่ออาหาร หากในเด็กเล็กจะมีอาการกวนมากกว่าปกติ หากทานยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด มีอาการหน้าแดง อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และมีจุดแดงหลังจากมีไข้ 3-4 วัน จะเป็นอาการของไข้เลือดออกและควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเจาะเลือดตรวจต่อไป – ไข้หวัดใหญ่ จะมีไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดหัว เบื่องอาหาร คลื่นไส้อาเจียน เด็กจะป่วยซม…
-
ป้องกันไข้หวัดนกที่กลับมาระบาดอีกรอบ
ป้องกันไข้หวัดนกที่กลับมาระบาดอีกรอบ โรคไข้หวัดนกนั้นสามารถกลับมาระบาดใหม่ได้อีก เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้ยังคงแฝงตัวอยู่ในประเทศอย่างกัมพูชา อินโดนีเซีย จีน อียิปต์ และเวียดนามอยู่ ดังนั้นเพื่อให้ตนเองและคนในครอบครัวปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก จึงควรทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ค่ะ 1. หลีกเลี่ยงการนำไก่ป่วยหรือตายมาปรุงเป็นอาหารเด็ดขาด ล้างเปลือกไข่ให้สะอาดก่อนนำมาปรุง หรือเก็บเข้าตู้เย็น เลือกเนื้อสัตว์หรือไข่จากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่ามีการรับรองมาตรฐานแล้ว 2. ปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกเต็มที่ และแยกเขียงของดิบของสุกออกจากกันด้วย 3. หมั่นล้างมือให้สะอาด ก่อนการสัมผัสใบหน้า จมูก ขยี้ตา หรือหลังจับสิ่งของปนเปื้อนต่าง ๆ 4. ไม่ควรล้อมเล้าไก่หรือกักขังไข่ไว้ใต้ถุนบ้าน อย่างสัมผัสสัตว์ปีกโดยไม่จำเป็น และระมัดระวังลูก ๆ เด็ก ๆ ไม่ให้เล่นกับสัตว์ปีก หรือสัตว์อื่น ๆ และสอนให้ล้างมือบ่อย ๆ 5. บรรดาเกษตรกรที่นำเอาขี้เป็ด ขี้ไก่หรือสัตว์ปีกอื่น ๆ มาทำปุ๋ย ควรระมัดระวังตนเอง สวมถุงมือใส่แว่นตา และหน้ากอนามัยทุกครั้ง รวมทั้งรองเท้าบู้ทด้วย และหลังเลือกงานควรซักผ้า ทำความสะอาดอุปกรณ์ รองเท้า ถุงมือ แว่นตา อาบน้ำสระผมให้สะอาดทุกวัน 6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมนุมชน หรือสัมผัสกับผู้ป่วย ปิดปากเวลาไอหรือจาม…
-
การป้องกันตัวเองจากโรคหวัดทุกชนิด
การป้องกันตัวเองจากโรคหวัดทุกชนิด เดี๋ยวนี้โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ต่างก็มีสายพันธ์ต่าง ๆ พัฒนามากขึ้น มีทั้งที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และชนิดที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย แม้ไข้หวัดใหญ่ 2009 จะเงียบไปแล้ว แต่เราก็ไม่ควรประมาท ควรดูแลตนเองและคนใกล้ชิด ลูกเด็กเล็กแดง และคนชราให้เตรียมพร้อมไว้ ด้วยการทำสุขภาพให้แข็งแรงและห่างไกลจากโรคกันดีกว่า ในส่วนของบุคคลทั่วไปที่ยังไม่เจ็บป่วย – ดูแลความสะอาดและอนามัยของตนเองให้ดี ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ – หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของของผู้อื่น – ไม่อยู่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคไข้หวัด – กินอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้ นม ไข่ และกินอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง – นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ – ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ป่วยไข้หวัด ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดสายพันธ์ใดก็ตาม หากยังสามารถกินข้าวได้ มีไข้ไม่สูง อาการไม่รุนแรงมาก ก็ให้ดูแลตนเองโดย – นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น และไม่นอนดึก – ดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ สองลิตรเพื่อลดความร้อนในร่างกายและขับพิษไข้ – ห้ามกินยาแอสไพรินเด็ดขาด หากมีไข้ให้กินยาพาราเซตามอลแทน –…
-
รู้จักกับไข้หวัดใหญ่ H3N2 หรือไข้หวัดใหญ่ไอโอวา
รู้จักกับไข้หวัดใหญ่ H3N2 หรือไข้หวัดใหญ่ไอโอวา ไข้หวัดใหญ่ H3N2 หรือไข้หวัดใหญ่ไอโอวา นั้นเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มียีนมาจากไข้หวัดใหญ่ 2009 ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยแล้วจำนวนสามรายเมื่อช่วงปลายปี 2554 อาการของทุกรายนั้นจะไม่รุนแรง และทุกรายก็สามารถหายได้อย่างเด็ดขาด โดยอาการทั่วไปจะมีลักษณะเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ได้แก่ การมีไข้ขึ้นแบบทันทีทันใด ปวดหัว ปวดเมื่อเนื้อตัว อ่อนเพลียมาก เจ็บคอ ไอ น้ำมูกไหล และอาการจะหายไปเองในหนึ่งอิทตย์ แต่อาจทำอันตรายกับกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ได้ ได้แก่ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ อายุ 65 ปีขึ้นไป, เด็กอายุน้อยกว่าสองขวบ, ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ โรคปอด หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฯลฯ, เด็กที่ได้รับยาแอสไพรินเป็นเวลานาน, หญิงตั้งครรภ์ระยะที่ 2 หรือ 3 ในฤดูกาลที่มีไข้หวัดใหญ่สูง, ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน รวมไปถึงผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การติดต่อนั้นก็เหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป คือติดต่อทางลมหายใจ การไอ การจาม การสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ระยะฟักตัวจะอยู่ในช่วงประมาณ 1-3 วัน ระยะแพร่เชื้อจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการ…
-
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ในระยะที่อากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มมีฝนตกมากขึ้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายค่อนข้างต่ำ หรือสุขภาพอ่อนแอเพราะปรับตัวไม่ทัน จึงเจ็บป่วยได่ง่าย ยิ่งโดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางลมหายใจจำพวกโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อกันได้ง่ายนั้น เราจึงยิ่งจำเป็นต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมในการป้องกันโรคติดต่อเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งมีวิธีการดูแลตัวเองง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มป่วย เริ่มเป็นไข้ ไม่สบายรู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่พอ ยิ่งไม่ควรเข้าไปเสี่ยงในแหล่งชุมชนที่มีคนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นตลาด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เพราะว่าร่างกายในช่วงที่มีภูมิต้านทานต่ำจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย – หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือหากไม่สะดวกในการล้างมือจะใช้เจลแอลกอฮอล์มาเช็ดก็ได้ ช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดี ยิ่งหากอยู่ในช่วงที่กำลังมีอาการไอหรือจาม ยิ่มควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพราะหากนำมือไปป้ายตาก็อาจติดเชื้อตาอักเสบได้ หรือไปหยิบจับสิ่งของก็จะเท่ากับเป็นการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอีกทาง – หลีกเลี่ยงและอยู่ห่างจากผู้ป่วยที่มีอาการเป็นหวัด ซึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง จะช่วยป้องกันเชื้อหวัดและโรคทางเดินหายใจได้ดี – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ – ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ สองลิตร – หากในบ้านของเรามีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่ป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ และควรป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นด้วยการไม่คลุกคลีกับผู้ใกล้ชิด ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกเมื่อไอหรือจาม และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วย – สำหรับกลุ่มผู้เสี่ยงสูง…