Tag: ไข้สูง
-
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น ระยะปลายฝนต้นหนาวที่ยังมีสายฝนชุ่มฉ่ำ กับอากาศที่เริ่ม ๆ จะเย็นลงนั้น ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ ควรรักษาและระมัดระวังสุขภาพให้มาก เพราะช่วงเวลาที่อากาศชื้นและเย็นเช่นนั้นอาจมีโอกาสเสี่ยงให้คุณติดเชื้อโรคปอดบวมและโรคในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ง่าย โดยโรคปอดบวมนี้มีความอันตรายร้ายแรงมาก และยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กเล็กเป็นอันดับหนึ่งของโลกมากว่าห้าปี ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจัยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับ – อาการของโรคว่าเป็นแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป – อายุของผู้ป่วย หากเป็นเด็กหรือคนชราและมีร่างกายอ่อนแอก็อาจเป็นอันตรายรุนแรงขึ้น – ชนิดของเชื้อ หากพบว่าเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสก็จะยิ่งมีความรุนแรง – สภาวะของผู้ป่วย หากเป็นโรคเรื้อรังหรือมีความอ่อนแอก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยนั้นจะมีไข้สูง หอบ ไอลึก หายใจเร็วและลำบาก หากเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องดูแลใกล้ชิด ด้วยการเปิดเสื้อสังเกตหน้าอกว่าหายใจแรงจนชายโครงบุ๋มหรือหายใจมีเสียงวี๊ดหรือยัง ถ้าพบว่ามีอาการดังกล่าวรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ในด้านของการรักษาโรคปอดบวมนั้นขึ้นอยู่ชนิดของเชื้อโรค หากเกิดจากเชื้อไวรัสจะรักษาตามอาการจนกว่าร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เอง และต้องระมัดระวังมิให้ไปติดเชื้อโรคอื่นเพราะช่วงนี้ร่างกายจะอ่อนแอ แต่หากเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสที่อยู่ในโพรงจมูกและลำคอ ที่เป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ หูน้ำหนวก หากเชื้อนี้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้ตับวาย ไตวาย หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เกิดการชัก เกร็ง สมองทำงานผิดปกติ ทำให้ปอดหรือหัวใจหยุดทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หากในครอบครัวมีเด็กเล็กหรือคนที่อ่อนแอกำลังไม่สบาย ควรดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด หากพบสิ่งผิดปกติควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน โรคปอดบวมนั้นระยะแรกหรืออาหารไม่รุนแรงแพทย์อาจสั่งยาให้แล้วกลับมาพักผ่อนที่บ้าน และนัดไปดูอาการภายหลัง…
-
ระวังภัย…จากการย่ำน้ำท่วมขังในฤดูฝน
ระวังภัย…จากการย่ำน้ำท่วมขังในฤดูฝน นอกจากโรคทางเดินหายใจที่เราควรต้องดูแลสุขภาพให้ดีกันในระยะหน้าฝนนี้แล้ว ภาวะน้ำท่วมขัง น้ำขังตามท้องถนนหรือริมฟุตบาทต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องที่เราต้องระวังเช่นกัน เพราะภัยอันตรายมีอยู่มากที่มากับน้ำเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น แมลงหรือสัตว์มีพิษต่างๆ อุบัติเหตุพลัดตกท่อ ไฟฟ้ารั่ว และเชื้อโรคต่าง ๆ รวมไปถึงสารเคมีที่น้ำนั้นได้ชะล้างออกมา หากเท้าของเราต้องสัมผัสกับน้ำเหล่านั้นอาจติดเชื้อหรือได้รับอันตรายได้ ดังนั้นในระยะที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการย่ำเท้าในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในที่ที่มีน้ำท่วมขังหรือพื้นที่ชื้นแฉะ เพื่ออาจถูกเศษวัสดุ เศษแก้ว ตะปู ตำเอาจนเกิดบาดแผลและเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลได้ง่ายค่ะ 2. หากจำเป็นต้องแช่น้ำ อย่าอยู่ในน้ำนาน ๆ และต้องสวมรองเท้าบู้ทด้วยทุกครั้ง 3. หลังการสัมผัสกับน้ำสกปรกทั้งหลาย ควรรักษาความสะอาดของร่างกาย อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาดและซับให้แห้ง 4. อย่าให้น้ำเหล่านั้นเข้าตาและเข้าปาก หากน้ำกระเด็นใส่ควรใช้น้ำดื่มจากขวดล้างออก โดยเทผ่านดวงตา แต่อย่าขยี้เพราะอาจทำให้เกิดแผลลุกลามได้ 5. ในระยะฤดูฝนควรระมัดระวังน้ำดื่มและอาหาร เพราะอาจเกิดโรคท้องเดินได้ง่าย 6. รักษาร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง ปล่อยวางความเครียด เพราะยิ่งเครียดร่างกายก็จะยิ่งอ่อนแอลง การรักษาสุขภาพจิตให้แข็งแรงก็จะพลอยทำให้ร่างกายแข็งแรงด้วย หากสัมผัสถูกน้ำเหล่านี้แล้วเกิดมีอาการผิดปกติขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตาแดง หรือเจ็บเคืองตา ถ่ายท้องเกินสามครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นเลือด มีไข้สูง ปวดหัวและปวดเมื่อยหนักมาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วนค่ะ
-
เนื้อสัตว์ดิบๆ ทำให้คุณเสียชีวิตโดยไม่ทันรู้ตัว
เนื้อสัตว์ดิบๆ ทำให้คุณเสียชีวิตโดยไม่ทันรู้ตัว แทบทุกภาคของประเทศไทย ต่างก็มีอาหารประจำภาคที่นำเอาเนื้อสัตว์ดิบ ๆ มาทำเป็นอาหารทั้งนั้น นัยว่าอร่อยถูกปากกว่าเนื้อสัตว์ที่ปรุงจนสุก เช่น ลาบหรือหลู้ทางภาคเหนือมักนิยมใช้เนื้อหมูปนเลือดสด หรือเนื้อวัว เนื้อควายมาปรุงทาน เพราะมีรสอร่อยกว่า ทั้งที่ความจริงแล้วอาหารแบบนี้เสี่ยงต่ออันตรายอย่างมาก เพราะในเนื้อดิบ ๆ นั้นมีเชื้อแบคทีเรียและพยาธิอื่น ๆ ปะปนอยู่มาก ดังที่มีข่าวการเสียชีวิตจากการทานของดิบ ๆ อยู่เนือง ๆ เพราะมีคนที่มักเข้าใจผิดเอาความอร่อยเพียงไม่กี่มื้อแลกกับชีวิตของตัวเองมากนักต่อนักแล้วนั่นเอง เนื้อสัตว์ดิบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นหมู วัว ควาย นก สัตว์ป่าต่าง ๆ รวมไปถึงปลาน้ำจืด กุ้ง ปลาดิบ อาหารหมักดองพวก แหนม ปลาส้ม ปลาจ่อม อาหารทะเลสุก ๆ ดิบ ๆ ทำให้เกิดความเสี่ยงการเกิดโรคภัยต่อร่างกายนับไม่ถ้วน ทั้งโรคจากพยาธิที่ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ พยาธิใบไม้ตับ พยาธิขึ้นสมอง มะเร็งท่อน้ำดี เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่ทำให้มีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน หูดับ ตาบอด ชัก เป็นอัมพาต บางอาจก็อาจทำให้เยื่อหุ้มหัวใจ…
-
ดูแลเด็ก ๆ ให้ห่างไกลโรคหวัดลงกระเพาะ
ดูแลเด็ก ๆ ให้ห่างไกลโรคหวัดลงกระเพาะ โรคไวรัสโรต้า หรือโรคหวัดลงกระเพาะนั้น มักจะทำให้เด็กเล็ก ๆ ที่มีอายุน้อยกว่าห้าขวบ มีอาการไข้สูง ท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเป็นน้ำ จนทำให้ร่างกายขาดน้ำและเสียชีวิตจากโรคนี้กันได้ปีหนึ่งเป็นแสนรายจากทั่วโลกเลยทีเดียว และในเมืองไทยก็มีเด็กที่เสียชีวิตจากเชื้อนี้เป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยมากเด็กมักจะติดโรคนี้ในช่วงที่มีอากาศเย็น โรคนี้มีชื่อเรียกกันว่า หวัดลงกระเพาะ หรือ ไวรัสลงลำไส้ เพราะว่าในผู้ป่วยบางรายนั้นจะมีแสดงอาการคล้ายไข้หวัดนำมาก่อนนั่นเอง โรคนี้นั้นพบได้มากที่สุดในเด็กทารกและเด็กเล็ก ๆ ที่อายุน้อยกว่าสองขวบ หากอายุมากกว่านี้ก็จะพบได้น้อยลง ส่วนในวัยผู้ใหญ่หรือเด็กโตแล้วนั้นมักจะมีภูมิคุ้มกันโรค เรียกได้ว่าเด็กเล็ก ๆ ที่เข้าโรงพยาบาลเพราะอาการท้องเสียนั้นเกือบครึ่งนั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโรต้า นี้ได้เลย และเรียกได้ว่าเด็กทารกแทบทุกคนนั้นเคยติดเชื้อนี้อย่างน้อยก็หนึ่งครั้งในชีวิต เชื้อนี้ติดต่อกันได้ง่ายมากเพราะแพร่กระจายได้จากน้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระที่ปนเปื้อนอยู่กับ พื้นบ้าน ของใช้ สิ่งของ ของเล่นต่าง ๆ และเชื้อนี้ก็ยังแข็งแรงมากพอที่จะอยู่ได้เป็นวัน ๆ เมื่อเด็กได้รับเชื้อเข้าไปก็จะมีระยะเวลาฟักเชื้อที่ค่อนข้างน้อยคือเพียงแค่ 1-2 วันเท่านั้น แล้วจึงแสดงอาการปวดท้อง อาเจียน ไข้ขึ้นสูง จนเกิดอาการชัก ร่วมกันถ่ายเหลว เด็กบางคนได้รับเชื้อรุนแรงมาก อาจถ่ายได้ถึงวันละ 20 ครั้งเลยทีเดียว ในปัจจุบันนี้ยังไม่มียาใดที่รักษาเชื้อไวรัสโรต้านี้ได้ ดังนั้นหากเด็ก ๆ…
-
สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม”
สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม” โรคที่มักเกิดขึ้นในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง และมีฝนตกหนักก็คือ โรคปอดบวมนั้นเอง ซึ่งกรมควบคุมโรคได้เปิดเผยว่าโรคปอดบวมนี้ คร่าชีวิคคนไทยเป็นอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 78 เลยทีเดียว ซึ่งวิธีการสังเกตว่าตนเองหรือคนที่รักเป็นโรคปอดบวมแล้วหรือยัง ให้สังเกตอากาศดังต่อไปนี้ค่ะ 1. เป็นไข้ตัวร้อน และเมื่อเป็นแล้วมักจะไม่ค่อยลด 2. ไอมาก ไอหนัก ไอถี่ขึ้นเรื่อย ๆ 3. หายใจหอบหนัก หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจไม่ทัน 4. ลักษณะของน้ำมูกจะเปลี่ยนสีไปจากเดิม คือจากใส ๆ เป็นสีขุ่นข้นและสีเขียว ยิ่งโดยเฉพาะหากเป็นลูกเล็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ให้สังเกตว่าหากเด็กมีอาการไข้สูง ซึม ไม่กินน้ำหรือกินนม รวมทั้งไอมีเสมหะ หายใจหอบเร็ว หรือหายใจมีเสียงวี๊ด หรือหายใจจนกระทั่งชายโครงบุ๋มลง ขอให้รีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันที เพื่อรักษาแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่อาการจะทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เสียชีวิตได้