Tag: ไข้สมองอักเสบ

  • วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด

    วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด

    วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และเด็กในครรภ์ คุณผู้หญิงทุกคนที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ แต่ก็มีบางรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือได้รับไม่ครบทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคระหว่างการตั้งครรภ์ได้ วัคซีนที่แนะนำให้ฉีดไว้เพื่อป้องกันสุขภาพได้แก่ – วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์ผู้นั้นจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็ยังต้องฉีดไว้อยู่ดี ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฉีดเพื่อให้ภูมิคุ้มกันนี้ไปสู่ลูกด้วยก็คือ ในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ เป็นวัคซีนที่มีอยู่ครบในเข็มเดียว สาเหตุที่ต้องฉีดเป็นเพราะว่าขณะนี้โรคคอตีบอาจกลับมาระบาดได้อีก โรคไอกรนเด็กมักจะติดเชื้อมาจากแม่ และบาดทะยักก็ยังเป็นการป้องกันการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์และคลอดด้วย – วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพราะเป็นโรคที่ทำอันตรายกับคนท้องได้มากกว่าคนธรรมดา หากติดเชื้อขึ้นมาจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่าปกติได้ ทั้งเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ปอดบวม หัวใจวาย 1 เข็มจะป้องกันได้ 1 ปี – วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นวัคซีนสำคัญที่จำเป็นต้องฉีด หากไม่เคยได้รับวัคซีนเลยหรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้านทานเลย หญิงตั้งครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงได้ง่าย เช่น ได้รับจากสามีที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี – หากในบ้านเลี้ยงสัตว์ไว้ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ถ้าไม่แน่ใจว่ามีเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ก็ให้ฉีดวัคซีนได้ทันที นอกจากนี้แล้วยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ หัด คางทูม หัดเยอรมัน โปลิโอ วัณโรค ฯลฯ…

  • 5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน

    5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน

    5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เพราะในหน้าฝนมีอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลง กับมีความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้มีหลายโรคที่ระบาดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโรคดังกล่าวก็ได้แก่ 5 กลุ่มโรคต่อไปนี้ทำควรป้องกันการติดต่อมากเป็นพิเศษ 1. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทั้งท้องร่วง ไทรอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้และปวดบิดในท้อง หากติดเชื้อบิดก็อาจถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ จึงควรระวังการทานอาหารมากเป็นพิเศษ ควรทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางด้วย 2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเยื่อบุผิวหนังหรือบาดแผล ที่พบได้บ่อยก็โรคฉี่หนู อาการจะมีไข้สูง ปวดหัวมาก มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรนแรง ตาแดง มักเกิดในที่น้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ชาวไร่ชาวสวน ผู้ที่ทำงานกับการแช่น้ำ ในที่เฉอะแฉะ หรือผู้ที่ทำงานลอกท่อระบายน้ำ ทำงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ 3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม รวมไปถึงโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งแพร่ระบาดจากสัตว์ปีก ซึ่งเชื้ออาจข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหน้าฝนได้ 4.…