Tag: ไข้จับสั่น

  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไข้ป่า ไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไข้ป่า ไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไข้ป่า ไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น ไม่ว่าจะเป็นไข้ป่า ไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น ต่างก็เป็นชื่อของโรคเดียวกันนั่นแหล่ะค่ะ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม มักระบาดอยู่ตามจังหวัดชายแดน โดยเฉพาะบริเวณเขาสูง ป่าทึบและมีแหล่งน้ำ ลำธารเพราะเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่องซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้ จังหวัดที่พบผู้ป่วยโรคมาลาเรียมาก ๆ นั้นส่วนใหญ่ได้แก่ ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง ตราด กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรีและชุมพร โรคไข้มาลาเรียนั้นสามารถติดต่อได้จากการถูกยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีเชื้อมาลาเรียกัด และหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1-2 อาทิตย์จะมีอาการคล้ายกับการเป็นหวัด คือ ปวดหัว มีไข้ ปวดเมื่อยตามลำตัว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร สะบัดร้อนสะบัดหนาว บางช่วงจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น แล้วตามด้วยเหงื่อออก แล้วกลับไปหนาวสั่นอีก สลับไปมาอยู่อย่างนี้จึงถูกเรียกว่าไข้จับสั่น โรคนี้นั้นถ้าไปพบแพทย์จะต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรียเท่านั้นจึงจะวิเคราะห์ได้ สำหรับการรักษา โรคไข้มาลาเรียเป็นโรคที่สามารักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วถูกต้อง และได้รับยารักษาที่ตรงกับชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ ไม่ควรซื้อยามาทานเอง หรือกินยาไม่ครบถ้วน เพราะอาจทำให้มีปัญหาเชื้อดื้ยา หรือทำให้โรครุนแรงขึ้นได้ และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ด้วย แม้จะเป็นโรครักษาให้หายได้แต่ก็ไม่ควรประมาท ควรป้องกันตนเองเมื่อต้องเข้าไปในแหล่งระบาดของมาลาเรียด้วยการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด ดังต่อไปนี้ – สวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด…

  • รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย

    รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย

    รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย ในช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ค. นั้นจะเป็นช่วงที่โรคมาลาเรียมีการระบาดสูงสุด ทั่วโลกจึงร่วมกันรณรงค์แก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะในแต่ละปีจะมีผู้ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกถึงประมาณสามร้อนกว่าล้านคน เสียชีวิตราว 1 ล้านคน ส่วนมากกว่าร้อยละ 90 พบในทวีปแอฟริกา ส่วนในประเทศไทยนั้นมีผู้ป่วยมากที่สุดห้าอันดับแรกอยู่ในจังหวัด ตาก กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน ระนองและสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ป่า เขา สวนยางพารา แหล่งน้ำ ภูเขาสูงชันและลำธาร โดยเฉพาะบริเวณชายแดน โรคไข้มาลาเรีย ไข้ป่าหรือไข้จับสั่นนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัว โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ ไปกัดคนที่มีเชื้อมาลาเรียอยู่ เชื้อนี้จะเข้าไปเจริญแบ่งตัวในยุงแล้วก็ไปกัดคนต่อไป ปล่อยเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดเจริญเติบโตที่ตับและเม็ดเลือดแดง มีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน จึงเกิดอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เมื่อยเนื้อตัว อาเจียน หนาวสั่น สะบัดร้อนสะบัดหนาว เหงื่อออก รู้สึกดีขึ้นแล้วก็กลับมาเป็นใหม่อีก บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลือง ซีด ปัสสาวะดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำ ทำให้ถึงแก่ชีวิตได ไข้มาลาเรียไม่สามารถกินยาป้องกันล่วงหน้าได้ หากเข้าป่าควรป้องกันยุงโดยสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ใช้ยาทาหรือยาจุดกันยุง…