Tag: ไข้
-
สาเหตุของอาการเป็นไข้ อิงตามตำราแพทย์แผนไทย
สาเหตุของอาการเป็นไข้ อิงตามตำราแพทย์แผนไทย ตามตำราแพทย์แผนไทยนั้น แบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้แปดข้อดังต่อไปนี้ 1. ทานของแสลง กินอาหารผิดประเภท ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารเผ็ดร้อนมาก ๆ เพิ่มธาตุไฟให้ร่างกาย จึงเป็นไข้ร้อนใน ต่อมน้ำเหลืองอักเสบได้ง่าย กินของมันของทอดมัน จะมีความร้อนสูงและย่อยยาก มักคอแห้งและมักจะร้อนภายในร่างกาย 2. อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ หรือเปลี่ยนท่าทีกะทันหัน ทำให้กล้ามเนื้อชั้นลึก ๆ เกิดการอักเสบและมีไข้ 3. เปลี่ยนอุณหภูมิกะทันหัน เช่น ตากฝนแล้วมาตากแดด หรืออยู่ในห้องแอร์แล้วออกไปเจอแดดเปรี้ยงทันที ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จึงเป็นไข้ได้ 4. ทานอาหาร น้ำ และนอนไม่พอ ธาตุไฟในร่างกายเสียสมดุล การอดนอนจะทำให้การเผาผลาญเกิดขึ้นตลอดเวลา ธาตุไฟจึงเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงร้อนจนเป็นไข้ได้ 5. กลั้นอุจจาระปัสสาวะเป็นประจำ ทำให้กระเพาะปัสสาวะและกรวยไตอักเสบ ก็ทำให้เป็นไข้ได้ด้วย 6. ทำงานมากเกินกำลัง มากกว่าแปดชั่วโมงต่อวันหรือต่อคืน หรือทำงานเกินกว่ากำลังของตนเองแม้จะไม่ถึงแปดชั่วโมงก็ทำให้เป็นไข้ได้ 7. ความหดหู่ใจ เศร้าใจ ความเครียด กระทบธาตุในร่างกาย ส่งผลให้ธาตุลมกับธาตุน้ำเสียสมดุล จึงมีอาการไข้ตามมาได้ 8. มีอารมณ์โกรธ ฉุนเฉียว…
-
เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้
เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้ อาการไข้ขึ้นของเด็กเล็กนี่ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองหลายคนวิตกกังวลได้เหมือนกันค่ะว่าลูป่วยเป็นโรคอะไรกันแน่ วันนี้มาฟังคำอธิบายแบบง่าย ๆ กันนะคะ – ไข้หวัดนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยติดต่อกันทางน้ำมูก น้ำลาย การไอหรือจาม ยิ่งหากเด็ก ๆ อยู่รวมกันเป็นจำนวนมากและอากาศถ่ายเทไม่สะดวกแล้วก็มีโอกาสติดหวัดกันได้ง่าย ไข้หวัดทั่วไปจะมีอาการไม่รุนแรงและหายได้เอง หากเป็นเด็กที่แข็งแรงอยู่แล้ว ก็สามารถดูแลเบื้องต้นได้เอง แต่หากเป็นเด็กเล็กมาก หรือมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นหอบหืด โรคหัวใจ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรมาพบแพทย์ – ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ มีความแตกต่างจากไข้หวัดก็คือ มีไข้ต่ำ ๆ มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล หลายวันไปสีจะข้นขึ้น มีอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก เบื่ออาหาร หากในเด็กเล็กจะมีอาการกวนมากกว่าปกติ หากทานยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด มีอาการหน้าแดง อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และมีจุดแดงหลังจากมีไข้ 3-4 วัน จะเป็นอาการของไข้เลือดออกและควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเจาะเลือดตรวจต่อไป – ไข้หวัดใหญ่ จะมีไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดหัว เบื่องอาหาร คลื่นไส้อาเจียน เด็กจะป่วยซม…
-
ระวังภัย…จากการย่ำน้ำท่วมขังในฤดูฝน
ระวังภัย…จากการย่ำน้ำท่วมขังในฤดูฝน นอกจากโรคทางเดินหายใจที่เราควรต้องดูแลสุขภาพให้ดีกันในระยะหน้าฝนนี้แล้ว ภาวะน้ำท่วมขัง น้ำขังตามท้องถนนหรือริมฟุตบาทต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องที่เราต้องระวังเช่นกัน เพราะภัยอันตรายมีอยู่มากที่มากับน้ำเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น แมลงหรือสัตว์มีพิษต่างๆ อุบัติเหตุพลัดตกท่อ ไฟฟ้ารั่ว และเชื้อโรคต่าง ๆ รวมไปถึงสารเคมีที่น้ำนั้นได้ชะล้างออกมา หากเท้าของเราต้องสัมผัสกับน้ำเหล่านั้นอาจติดเชื้อหรือได้รับอันตรายได้ ดังนั้นในระยะที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการย่ำเท้าในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในที่ที่มีน้ำท่วมขังหรือพื้นที่ชื้นแฉะ เพื่ออาจถูกเศษวัสดุ เศษแก้ว ตะปู ตำเอาจนเกิดบาดแผลและเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลได้ง่ายค่ะ 2. หากจำเป็นต้องแช่น้ำ อย่าอยู่ในน้ำนาน ๆ และต้องสวมรองเท้าบู้ทด้วยทุกครั้ง 3. หลังการสัมผัสกับน้ำสกปรกทั้งหลาย ควรรักษาความสะอาดของร่างกาย อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาดและซับให้แห้ง 4. อย่าให้น้ำเหล่านั้นเข้าตาและเข้าปาก หากน้ำกระเด็นใส่ควรใช้น้ำดื่มจากขวดล้างออก โดยเทผ่านดวงตา แต่อย่าขยี้เพราะอาจทำให้เกิดแผลลุกลามได้ 5. ในระยะฤดูฝนควรระมัดระวังน้ำดื่มและอาหาร เพราะอาจเกิดโรคท้องเดินได้ง่าย 6. รักษาร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง ปล่อยวางความเครียด เพราะยิ่งเครียดร่างกายก็จะยิ่งอ่อนแอลง การรักษาสุขภาพจิตให้แข็งแรงก็จะพลอยทำให้ร่างกายแข็งแรงด้วย หากสัมผัสถูกน้ำเหล่านี้แล้วเกิดมีอาการผิดปกติขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตาแดง หรือเจ็บเคืองตา ถ่ายท้องเกินสามครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นเลือด มีไข้สูง ปวดหัวและปวดเมื่อยหนักมาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วนค่ะ
-
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ในระยะที่อากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มมีฝนตกมากขึ้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายค่อนข้างต่ำ หรือสุขภาพอ่อนแอเพราะปรับตัวไม่ทัน จึงเจ็บป่วยได่ง่าย ยิ่งโดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางลมหายใจจำพวกโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อกันได้ง่ายนั้น เราจึงยิ่งจำเป็นต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมในการป้องกันโรคติดต่อเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งมีวิธีการดูแลตัวเองง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มป่วย เริ่มเป็นไข้ ไม่สบายรู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่พอ ยิ่งไม่ควรเข้าไปเสี่ยงในแหล่งชุมชนที่มีคนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นตลาด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เพราะว่าร่างกายในช่วงที่มีภูมิต้านทานต่ำจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย – หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือหากไม่สะดวกในการล้างมือจะใช้เจลแอลกอฮอล์มาเช็ดก็ได้ ช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดี ยิ่งหากอยู่ในช่วงที่กำลังมีอาการไอหรือจาม ยิ่มควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพราะหากนำมือไปป้ายตาก็อาจติดเชื้อตาอักเสบได้ หรือไปหยิบจับสิ่งของก็จะเท่ากับเป็นการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอีกทาง – หลีกเลี่ยงและอยู่ห่างจากผู้ป่วยที่มีอาการเป็นหวัด ซึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง จะช่วยป้องกันเชื้อหวัดและโรคทางเดินหายใจได้ดี – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ – ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ สองลิตร – หากในบ้านของเรามีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่ป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ และควรป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นด้วยการไม่คลุกคลีกับผู้ใกล้ชิด ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกเมื่อไอหรือจาม และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วย – สำหรับกลุ่มผู้เสี่ยงสูง…
-
หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก
หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก. ฤดูฝนที่กำลังมาเยือนนี้ มีโรคระบาดที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับเด็ก ๆ ก็คือ โรคไข้เลือดออกนั่นเอง เป็นโรคที่มักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุกจนเกิดน้ำขังตามภาชนะและสิ่งของต่าง ๆ ที่รองน้ำเก็บไว้โดยไม่เกิดการหมุนเวียนถ่ายเท ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้จึงแพร่พันธุ์เกิดขึ้นได้มากมาย โดยเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออกนี้ชื่อว่า “ไวรัสเดงกี่” ที่จะอยู่ในตัวยุงลายที่ไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก แล้วไปกัดคนอื่น ๆ แพร่เชื้อต่อไปเรื่อย ๆ เพราะยุงตัวเมียที่พกพาไวรัสไปด้วยนี้จะมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 4-6 อาทิตย์ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่นี้ไปแล้วจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2-7 วัน ผู้ป่วยจึงมักมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน หน้าแดง ตัวแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร มีผื่นหรือจุดแดงตามลำตัว แขนและขา กับทั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รวมทั้งอาจมีอาการปวดท้อง เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ถ่ายสีดำได้ รวมไปถึงอาจเกิดอาการช็อกได้อีกโดยให้สังเกตว่าแม้ไข้จะลดแล้ว แต่ผู้ป่วยยังมีอาการซึม ตัวเย็น กระสับกระส่ายปวดท้อง อาเจียนหรือหมดสติอยู่ ทั้งหมดนี้อาจเกิดขึ้นได้หากไม่สังเกตอาการและรักษาไม่ทันการ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรดูแลเด็กๆ และบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากเด็กมีไข้สูงเฉียบพลัน ควรเช็ดตัวลดไข้และให้ยาลดไข้พาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อมเพื่อให้ทานง่าย และใช้ตามขนาดที่กำหนดทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อไข้ลดแล้วจึงหยุดยา (หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินเพราะอาจทำให้เกิดอาการช็อกรุนแรงได้)…
-
หน้าฝนระวังโรคฉี่หนู
หน้าฝนระวังโรคฉี่หนู ในระยะเวลาที่ฝนกำลังตกพรำไม่เว้นแต่ละวันในระยะนี้ ทำให้ผู้ที่ไม่ค่อยดูแลรักษาตัวเองเท่าไรอาจป่วยเป็นโรคฉี่หนูได้ ซึ่งโรคฉี่หนูนี้เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์ประเภทสัตว์กัดแทะขนาดเล็ก เช่น หนู กะรอก และยังสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นได้ไม่ว่าจะเป็น หมา แมว วัว ควาย ฯลฯ ซึ่งหนูนั้นเป็นตัวการแพร่เชื้อที่สำคัญมาก โดยเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเลปโตสไปโรซิสหรือฉี่หนูนี้จะถูกขับออกมาจากปัสสาวะของหนู แล้วปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำสกปรก ท่อน้ำขัง ที่เฉอะแฉะ พื้นดินแฉะ ๆ ผู้ที่เข้าไปเดินย่ำหรือสัมผัสกับแหล่งน้ำเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นชาวไรชาวสวน ผู้ที่ทำปศุสัตว์ ผู้ที่ขุดลอกคูคลอง ผู้ทำประมง หาปลา ปู หรือเด็ก ๆ ที่เล่นน้ำ เมื่อสัมผัสกับน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าไป จะทำให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเล็ก ๆ หรือเยื่อบุบอบบาง ไม่ว่าจะเป็น จมูก ตา ปาก ก็จะทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้การทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อก็สามารถติดโรคได้ด้วย อาการของโรคฉี่หนูนี้ มีหลายระดับ ซึ่งอาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อยหรือแสดงอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้ติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันและปริมาณของเชื้อด้วย ซึ่งระยะแสดงอาการจะอยู่ที่ราว 2-3 สัปดาห์ อาการนั้นจะแสดงออกมาเป็น การมีไข้สูง มักปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากยิ่งโดยเฉพาะบริเวณน่อง ปรากฏรอยจ้ำเลือดหรือรอยช้ำเขียวตามผิวหนัง เยื่อบุตาอักเสบและมีเลือดออกในลูกตา หากมีอาการที่รุนแรงแล้วไม่ยอมรับการรักษาอาจเสียชีวิตจากตับวายหรือไตวาย และเยื่อหุ้นสมองอักเสบได้…
-
สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม”
สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม” โรคที่มักเกิดขึ้นในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง และมีฝนตกหนักก็คือ โรคปอดบวมนั้นเอง ซึ่งกรมควบคุมโรคได้เปิดเผยว่าโรคปอดบวมนี้ คร่าชีวิคคนไทยเป็นอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 78 เลยทีเดียว ซึ่งวิธีการสังเกตว่าตนเองหรือคนที่รักเป็นโรคปอดบวมแล้วหรือยัง ให้สังเกตอากาศดังต่อไปนี้ค่ะ 1. เป็นไข้ตัวร้อน และเมื่อเป็นแล้วมักจะไม่ค่อยลด 2. ไอมาก ไอหนัก ไอถี่ขึ้นเรื่อย ๆ 3. หายใจหอบหนัก หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจไม่ทัน 4. ลักษณะของน้ำมูกจะเปลี่ยนสีไปจากเดิม คือจากใส ๆ เป็นสีขุ่นข้นและสีเขียว ยิ่งโดยเฉพาะหากเป็นลูกเล็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ให้สังเกตว่าหากเด็กมีอาการไข้สูง ซึม ไม่กินน้ำหรือกินนม รวมทั้งไอมีเสมหะ หายใจหอบเร็ว หรือหายใจมีเสียงวี๊ด หรือหายใจจนกระทั่งชายโครงบุ๋มลง ขอให้รีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันที เพื่อรักษาแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่อาการจะทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เสียชีวิตได้
-
อาหารต้องห้ามของ 10 โรค
—
by
in ข่าวสุขภาพ, ความดันโลหิตสูง, ตับ, ท้องผูก, ริดสีดวงทวารหนัก, สิว, หอบหืด, หัวใจ, เบาหวาน, ไข้หวัด, ไตอาหารต้องห้ามของ 10 โรค อาหารต้องห้ามหรือของแสลง ก็คืออาหารท่านเข้าไปแล้วทำให้อาการกำเริบหรือโรคที่เป็นอยู่หายช้าลง มีพื้นฐานมาจากภูมิปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้าน รู้ไว้จะดีกว่านะคะ ..หากเป็นโรคกระเพาะ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกกาแฟ ชาแก่ ๆ ของทอด อาหารรสเผ็ด หรือมีไขมันสูง อาจทำให้โรคหายยากขึ้น ควรทานอาหารให้ตรงเวลาและเลือกอาหารที่ย่อยง่ายดีกว่า .. หากเป็นไข้ หรือเป็นไข้หวัด เลี่ยงอาหารที่มีความเย็น ของทอด ของมัน ที่ย่อยยาก จะยิ่งทำให้ตัวร้อนขึ้น .. หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง เช่น โกโก้ ไข่ปลา ไขกระดูก หมูสามชั้น สุรา แอลกอฮอล์ต่าง ๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัดและผลไม้ที่มีความหวานอย่างขนุน ทุเรียน ลำไย ด้วย .. หากเป็นโรคตับหรือถุงน้ำดี เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอลด์ อาหารติดมัน เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องใน ของทอด ของหวานจั เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของการย่อยอาหารลดลง เพิ่มภาระให้กับตับและถุงน้ำดี ..หากเป็นโรคหัวใจและโรคไต เลี่ยงอาหารที่มีความเค็ม เพราะจะทำให้การไหลเวียนของเลือดช้าลง หัวใจทำงานหนักขึ้น ไตเองก็ต้องขับเกลือมากขึ้น…
-
4 โรคต้องระวังสำหรับคนชอบขึ้นภู
4 โรคต้องระวังสำหรับคนชอบขึ้นภู สำหรับคนที่ชอบเดินทางไปขึ้นภู ดูหมอกสวย ๆ ในหน้าหนาวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศนั้น ทางคลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เตือนว่านักท่องเที่ยวที่มีความนิยมการท่องเที่ยวแบบดังกล่าวมักพบอาการป่วยได้ง่ายถึง 4 โรคด้วยกัน ซึ่งควรระวังป้องกันไว้รวมทั้งควรฟิตร่างกายให้มีความแข็งแรงก่อนออกไปเผชิญอาการหนาวเย็นดังกล่าวด้วย โรคทั้ง 4 ได้แก่.. – ปอดบวม เกิดจากการติดเชื้ออักเสบของปอด หลอดลม ถุงลมซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ทำให้มีของเหลวเกิดขึ้นในถุงลง มักเป็นโรคที่แทรกซ้อนเข้ามาหลังจากการป่วยเป็นไข้หวัดได้ 2-3 วันซึ่งมีอาการก็คือไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหอบ – โรคหัด ระบาดมากในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันทางน้ำลายของผู้ป่วย ที่สัมผัสการไอ จาม หรือการหายใจรดกัน ตลอดจนใช้สิ่งของร่วมกัน มีอาการระยะแรกคล้ายไข้หวัด มีไข้สูง กินยาแก้ไขก็ไม่ลด และถ่ายเหลวบ่อย ๆ เหมือนท้องเสีย สำหรับเด็กอาจชักได้เพราะมีไข้สูง – ภูมิแพ้อากาศ มักเป็นได้ในช่วงฤดูหนาว เพราะร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ทางการหายใจ มีอาการชัด ๆ ก็คือคันตา คันจมูก น้ำมูกใส จามบ่อย และแน่นจมูกในตอนเช้า…
-
หัวไชเท้า..กินก็อร่อย แถมเป็นยาได้อีกด้วยนะ
หัวไชเท้า..กินก็อร่อย แถมเป็นยาได้อีกด้วยนะ พืชผักผลไม้ หรืออาหารที่เราทานกันเป็นประจำ หลายชนิดเลยทีเดียวที่นอกจากมีสารอาหารบำรุงร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ก็ยังมีฤทธิ์ทางยาอีกด้วย ซึ่งโดยมากมักเป็นภูมิปัญญาโบราณที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ วันนี้ลองมาดูสรรพคุณทางยาของหัวไชเท้า หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง แล้วยังปลอดภัยอีกด้วยค่ะ 1. ตามตำราของอินเดียการทานหัวไชเท้า ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นแล้วระงับอาการทางประสาทแบบอ่อน ๆ ได้ดี 2. ตามตำราของเกาหลี ส่วนของหัวไชเท้าที่เหมาะนำมาทานเป็นยาก็คือส่วนของหัว ที่มีรสหวานเผ็ด และมีฤทธิ์เย็นเล็กน้อยนั่นเอง ดีต่อปอดและกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารได้ ลดความดันโลหิต แล้วยังถอนพิษไข้ ละลายเสมหะได้ดี 3. สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการทางหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอ แน่นหน้าอก และมีเสมหะมาก หากได้ทานหัวไชเท้าบ่อย ๆ จะช่วยบรรเทาอาการได้ ทั้งยังช่วยบรรเทาโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ รวมทั้งลดความอยากอาหารที่มากเกินควรด้วย 4. หัวไชเท้าที่นำมาสกัด ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย รักษาโรคบิด เลือดกำเดาไหล ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ อาหารไม่ย่อยได้ดี เพียงดื่มหัวไชเท้าสกัดสด ๆ วันละ 30-90 มิลลิกรัม หรือจะนำเอาหัวไชเท้าตากแห้งมาต้มดื่มวันละ 10-30 กรัมก็ได้ผลเช่นเดียวกัน หลังจากนี้ไปเวลาทางหัวไชเท้า เราคงไม่ได้มองเป็นแค่อาหารอร่อย ๆ…