Tag: ไขมันในเลือดสูง
-
ขอเถอะนะ… อย่าเลี้ยงลูกให้อ้วน
ขอเถอะนะ… อย่าเลี้ยงลูกให้อ้วน เด็กอ้วนจ้ำม่ำนั้นอาจจะดูน่ารักน่าอุ้ม แต่ความจริงแล้วการเลี้ยงเด็กให้อ้วนทำให้เด็กมีปัญหาสุขภาพหลายประการ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กอ้วนก็เป็นไปได้ดังนี้ค่ะ – เด็กทานอาหารเก่ง ทานอะไรก็อร่อยไปหมด – เด็กไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เพื่อการเผาผลาญอาหาร – เป็นเด็กที่มีความผิดปกติของฮอร์โมน พบได้น้อย แต่ก็สามารถรักษาได้ – เด็กมีความเครียด จึงระบายด้วยการกินอาหาร ความเครียดดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาเรื่องเพื่อน เรื่องการเรียน หรือความไม่อบอุ่นในครอบครัว การปล่อยให้เด็กอ้วนน้ำหนักเกินนาน ๆ นั้น อาจทำให้เกิดผลเสียได้ ไม่ว่าจะเป็น การเกิดเบาหวานในเด็ก ที่มักพบในครอบครัวที่มีกรรมพันธุ์เบาหวาน ทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง นอนกรน จนหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้กระดูกและข้อต่อเสื่อมก่อนวัยอันควรเพราะต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เป็นเวลานาน ตลอดจนอาจทำให้พัฒนาการล่าช้าลง ทั้งการหัดนั่ง หัดคลาน เดิน อาจล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป และส่วนใหญ่เด็กอ้วนก็มักถูกเพื่อนล้อ จึงมีนิสัยเก็บตัว เข้ากับผู้อื่นไม่ค่อยได้ การเรียนและสมาธิแย่ลง หากสังเกตเห็นว่าเด็กด้วนแล้ว ควรหันมาเอาใจใส่กับสุขภาพของลูก ๆ ดังต่อไปนี้ 1. ดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของอาหารการกิน ควบคุมปริมาณของแป้ง ไม่ว่าจะเป็นข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ของทอด…
-
ป้องกันตัวเองจากอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต
ป้องกันตัวเองจากอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต ทุกปีจะมีคนเสียชีวิตจากอาการอัมพาตถึงกว่าปีละหกล้านคน มากกว่าการตายจากโรคเอดส์ วัณโรคและมาเลเรียรวมกันเสียอีก เฉพาะในประเทศไทยเองมีคนตายจากโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉลี่ยถึงวันละเกือบ 40 ราย หากคุณไม่อยากเป็นหนึ่งในนั้น ก็ควรมาทำความรู้จักกับโรคนี้และหาวิธีป้องกันไว้ก่อนดีกว่า โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองนี้เป็นโรคที่เกิดจากการที่สมองได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้สูญเสียการควบคุมการทำงานของร่างกาย แบ่งออกเป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และอีกชนิดก็คือหลอดเลือดสมองแตก ผู้ที่มีความเสี่ยงมากก็จะเป็นในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง มีกรรมพันธ์เป็นโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มคนอ้วน ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย รวมไปถึงผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำและผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่กล่าวมานี้ควรใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น จะป้องกันได้กว่าร้อยละ 80 ควรปฏิบัติตามดังต่อไปนี้ 1. ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนเกินมาตรฐาน โดยให้มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 18.5-22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 2. ลดอาหารหวาน มัน เค็ม แล้วทานผักและผลไม้ไม่หวาน รวมไปถึงธัญพืชต่าง ๆ ให้มากขึ้น 3. หากตนเองเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือโรคอื่น ๆ ก็ควรเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำ 4. ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง อาทิตย์ละ 3-4 วัน 5. งดการดื่มเหล้า และการสูบบุหรี่ รวมไปถึงควันบุหรี่มือสองด้วย…
-
วิธีป้องกันคุณแม่คลอดก่อนกำหนด
วิธีป้องกันคุณแม่คลอดก่อนกำหนด เพราะการคลอดก่อนกำหนดเป็นปัจจัยที่อาจทำให้ทารกแรกเกิดพิการหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นเราจึงควรป้องกันไว้ก่อน โดยคุณแม่เองก็ต้องใส่ใจให้มาก ๆ เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ขึ้นมาแล้วควรใส่ใจและดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ – รีบฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไปพบหมอตามนัดทุกครั้งและทำตามตามคำแนะนำให้ครบถ้วน – กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกรดโฟเลตหรือโฟลิค ซึ่งก็คือวิตามินบีชนิดหนึ่ง พบได้มากในผักผลไม้สดทั้งผล หรือวิตามินรวม ธาตุเหล็ก แคลเซียม โปรตีน ให้มาก เพื่อพัฒนาการของเด็กในครรภ์ – หากมีโรคเรื้อรังอยู่ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความตรวจเช็คดูแล ป้องกันโรคเหล่านี้ให้ดีด้วย – ปรึกษาคุณหมดด้วยว่าในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นี้ จะสามารถออกแรงทำงาน ออกกำลังกายหรือร่วมเพศได้อย่างไร – งดการสูบบุหรี่ เหล้า สารเสพติดทุกชนิด รวมทั้งไม่เข้าไปสูดดมควันบุหรี่ สารระเหยต่าง ๆ ด้วย – ทำจิตใจให้สบาย ปราศจากความเครียด – ใส่ใจกับสุขภาพปากและฟันด้วย – ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ หรือจะใช้แอลกอฮอล์เจลเช็ดมือก็ได้ ทั้งก่อนกินอาหาร ก่อนดื่มน้ำ เข้าบ้าน เข้าที่ทำงาน…
-
โรคลมปัจจุบัน หรืออัมพาตครึ่งซีกจะป้องกันได้อย่างไร
โรคลมปัจจุบัน หรืออัมพาตครึ่งซีกจะป้องกันได้อย่างไร โรคลมปัจจุบัน หรือ โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาจเรียกว่า โรคลมอัมพาต หรืออัมพาตครึ่งซีกก็ได้นั้น คืออาการที่แขนขาซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง เป็นอัมพาตขึ้นมาแบบฉับพลัน เมื่อเป็นขึ้นมาควรรีบพาไปโรงพยาบาลโดยด่วน จะช่วยให้หายเป็นปกติหรือลดความรุนแรงของโรคไปได้ โดยโรคนี้นั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งพบได้กว่าร้อยละ 80 และโรคหลอดเลือดสมองแตกพบได้ราวร้อยละ 20 มีภาวะที่อันตรายอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็วได้ แต่ละอาการนั้นมีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1. โรคหลอดเลือดสมองตีบ มักเป็นผู้ที่มีประวัติเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์มาก อายุมาก อ้วนมาก หรือมีกรรมพันธ์โรคนี้อยู่ในครอบครัว จะมีอาการแขนขาชา เกร็งตามแขนขา ตามัว มองเห็นภาพซ้อน พูดไม่ได้ ปากเบี้ยว หรือกลืนไม่ได้ร่วมด้วย บางรายอาจปวดหัว เวียนหัวบ้านหมุน หรือมีอาการสับสนก่อนมีอาการอัมพาตตามมา มักมีอาการที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเพียงซีกเดียว 2. โรคหลอดเลือดอุดตัน ที่เกิดจากลิ่มเลือดลอยไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง จะมีอาการเหมือนข้อแรก ผู้ป่วยอาจมีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือเคยผ่าตัดหัวใจมาก่อน 3. หลอดเลือดสมองแตก มักเกิดโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุ บางรายอาจเกิดขณะทำงานออกแรงมาก หรือขณะมีเพศสัมพันธ์…
-
ตับแข็งไม่ได้เกิดจากการกินเหล้าเท่านั้น
ตับแข็งไม่ได้เกิดจากการกินเหล้าเท่านั้น โรคตับ นั้นมีสาเหตุหลายประการ ซึ่งภาวะไขมันพอกตับนั่นก็เป็นอีกปัญหาที่พบมาก เกิดได้จากการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การรับสารพิษสารเคมีต่าง ๆ ภาวะขาดอาหาร หรือได้รับสารอาหารมากเกินไปจนร่างกายสะสมไว้ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ในตับ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังนั้นกว่าร้อยละ 60 มีภาวะไขมันพอกตับ และมักมีปัจจัยต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่ อ้วนลงพุง ไขมันที่ลำตัวมากกว่าแขนขา เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันพอกตับนี้ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการออกมา กว่าจะรู้ตัวก็มักเป็นโรคตับอักเสบหรือตับแข็งไปแล้ว มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นจะแสดงอาการออกมา ซึ่งอาจมีอาการปวดแน่นชายโครงขวา อ่อนเพลียง่าย ๆ ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ครอบครัว ญาติพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ยิ่งควรให้ความใส่ใจกับสุขภาพมากเป็นพิเศษ ได้แก่… – ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ดูแลอาหารการกิน เลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยกะทิ น้ำมัน นม เนย ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดง และอื่น ๆ รวมไปถึงอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งมากด้วย เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับได้ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย – หมั่นตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อให้ทราบความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตับด้วย และควรดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเหมาะสม –…
-
ภาวะไขมันคั่งในตับ
ภาวะไขมันคั่งในตับ โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับที่เพิ่มอัตราผู้ป่วยมากขึ้นในระยะหลายปีมานี้ มักจะเป็นผู้ที่ไม่เคยดื่มเหล้า หรือติดเชื้อไว้รัสตับอักเสบมาก่อนเลย แต่จะมีลักษณะร่วมคล้าย ๆ กันก็คือ ผู้ป่วยอ้วนน้ำหนักเกิน เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง ในตับจึงตรวจพบไตรกลีเซอร์ไดร์คั่งสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ตับอักเสบเป็นเวลานาน จนเกิดพังผืดขึ้นและลุกลามจนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ตับนั้นเป็นอวัยวะที่สำคัญชิ้นหนึ่งในร่างกาย ทำหน้าที่หลายอย่าง ทั้งกักเก็บสารอาหาร สังเคราะห์โปรตีน โคเลสเตอรอล วิตามิน ควบคุมการสันดาปของฮอร์โมน ผลิตน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ผลิตสารที่นำเกล็ดเลือดไปห้ามเลือดเมื่อผนังหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บ ช่วยกำจัดสารพิษของร่างกายได้ด้วย ฯลฯ เมื่อตับมีไขมันมาคั่งอยู่เป็นจำนวนมาก การทำงานของตับจึงผิดปกติ ส่งผลกระทบไปทั่วร่างกาย ภัยแฝงจากภาวะไขมันคั่งในตับนี้มักจะเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว แรก ๆ จะมีสุขภาพเป็นปกติ อาจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ แล้วพบว่าค่าเอนไซม์ตับสูงผิดปกติ หากไม่เคยตรวจเลยก็อาการก็อาจพัฒนาไปสู่ภัยร้ายได้มากขึ้น เมื่อภาวะไขมันคั่งในตับรุนแรง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดแน่นชายโครงขวา อึดอัด เบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ อ่อนเพลีย อาจมีท้องผูกสลับกับท้องเสีย บางคนก็มีอาการดีซ่าน คลื่นไส้อาเจียน จนกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับในที่สุด ผู้ที่มีภาวะไขมันตั่งตับนั้น ควรดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการควบคุมอาหารและดูแลน้ำหนักตัว ยิ่งคนที่อ้วนน้ำหนักเกินเป็นเบาหวาน และมีไขมันสูงด้วยแล้วจะมีโอกาสเกิดภาวะไขมันสะสมในตับได้ถึงร้อยละ 90 ควรใส่ใจในเรื่องของอาหาร ทานแต่อาหารที่ปรุงแต่งน้อย ๆ เช่น…
-
สัญญาณเตือนก่อนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
สัญญาณเตือนก่อนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองนั้น เกิดจากการที่สมองได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่พอเพียงจึงสูญเสียการควบคุมร่างกายไป มีสถิติพบว่ามีคนเกิดอาการเช่นนี้ถึงราว 3 ในทุกสองชั่วโมงและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย อาการของสมองขาดเลือดชั่วคราวนั้นอาจมีเพียงอาการเดียวหรือมากกว่าก็ได้ แต่จะมีอาการที่สังเกตและจดจำได้ง่ายดังตัวย่อว่า FAST นี้ ได้แก่ Face ดูที่ใบหน้า จะเห็นว่าเวลายิ้มมุมปากข้างใดข้างหนึ่งตกลงหรือดื่มน้ำแล้วน้ำไหลออกมุมปากข้างใดข้างหนึ่งควบคุมไม่ได้ Arms ดูที่ท่อนแขน จะยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ Speech ดูที่การพูด มีปัญหาทางด้านการพูดแม้แต่ประโยคง่าย ๆ ก็พูดให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ Time สังเกตที่เวลา หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลภายในสามชั่วโมง การจำหลักเหล่านี้จะสามารถสังเกตอาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองและจะได้นำตัวเองหรือผู้ป่วยใกล้ชิดส่งแพทย์ได้ทันเวลา จะสามารถช่วยรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยได้กลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงได้มากที่สุด โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพตัวเองดังนี้ 1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ตามส่วนสูงและโครงร่าง มีเกณฑ์อยู่ว่าผู้ใหญ่ควรมีค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI อยู่ในช่วงระหว่าง 18.5-22.9 2. งดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติหวาน มีไขมันมาก หรือเค็มจัด กินผัก ผลไม้ที่ไม่หวาน และอาหารพวกธัญพืชเพิ่มขึ้น 3. ตรวจเช็คตัวเองว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูงหรือโรคอื่นหรือไม่แล้วควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา 4. ออกกำลังกายในระดับปานกลางอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง สัปดาห์ละ 3-4 วันขึ้นไป 5.…
-
เทคนิคการเลิกบุหรี่ ที่มีคนทำตามแล้วได้ผล
เทคนิคการเลิกบุหรี่ ที่มีคนทำตามแล้วได้ผล สาเหตุที่บุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะนิโคตินที่มีอยู่ในบุหรี่นั้นทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจหดเกร็ง หัวใจจึงต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น คาร์บอนมอนนอกไซด์สามารถจับกับเม็ดเลือดแดงได้อย่างถาวร จึงเหลือเม็ดเลือดแดงที่จะนำพาออกซิเจนและคาร์บอนมอนนอกไซด์ได้น้อยลง จึงไม่เพียงพอ เม็ดเลือดแดงที่กระด้าง ทำให้ผนังหลอดเลือดเป็นแผล หากเป็นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทำให้หัวใจขาดเลือด ยิ่งหากมีไขมันในเลือดสูง เป็นโรคอ้วน หรือไม่ออกกำลังกาย และมีความเครียดด้วยแล้ว ความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจนี้ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องการเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง ลองทำตามเทคนิคเหล่านี้ดู ได้ผลอย่างแน่นอนค่ะ 1. ต้องตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาดเสียก่อน 2. ขอกำลังใจจากคนใกล้ชิดและคนในครอบครัว 3. ดื่มน้ำให้มากอย่างน้อยวันละสองลิตร จะช่วยกำจัดนิโคตินจากร่างกาย 4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน พวกชากาแฟอื่น ๆ รวมไปถึงแอลกอฮอล์ด้วย 5. หากรู้สึกง่วงนอน อ่อนพลีย หงอยเหงา ไม่สบายตัวควรอาบน้ำ หรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว จะทำให้สดชื่นขึ้นแล้วค่อยไปหากิจกรรมอื่น ๆ ทำ 6. ไม่ควรทานอาหารอิ่มเกินไปหรืออาหารที่มีรสจัดจะทำให้อยากบุหรี่เพิ่มขึ้น 7. ทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น แทนอาหารที่ทานอยู่ประจำ 8. หมั่นออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟีนออกมา
-
เลือกทานอาหารช่วยลดน้ำตาลและไขมันในเลือด
เลือกทานอาหารช่วยลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ในแต่ละปีนั้นประเทศไทยพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ปีละกว่าสามแสนคน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปีละแปดแสนคนเลยทีเดียว เพราะมีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่ไขมันสูง มีเกลือมากและรสชาติหวานมากเกินไป ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงเน้นการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังเพื่อลดปัญหาความเจ็บป่วยนี้ให้ลดน้อยลง ให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดการทานยา และมีจำนวนผู้ป่วยลดน้อยลงให้ได้ อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้น จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้พอดีด้วยการกินแป้งที่ไม่ขัดข้าว พวกข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง มัน เผือก เท่าที่พออิ่ม อาหารเหล่านี้มีเส้นใยอยู่ด้วยจึงช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลได้ อาหารอีกชนิดได้แก่ผักใบ ช่วยลดน้ำตาล ควบคุมน้ำหนักตัว และเส้นใยอาหารทำให้ดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง ลดระดับคอเลสเตอรอลได้ดี อีกประการก็คือควรลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน จะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี รวมไปถึงระดับไขมันและความดันโลหิตด้วย หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัว ไม่ว่าจะเป็น เนื้อแดง ไขมันสัตว์ กะทิ เนย นมไขมันสูง เพราะจะกระตุ้นให้ระดับคอเลสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้น รวมไปถึงไขมันทรานส์ที่พบได้มากในอาหารทอดน้ำมัน เบเกอรี่ เนย นมข้น ก็ยังเพิ่มระดับของ LDL ขึ้นและลดไขมันตัวดี HDL ลง เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นผนังหลอดเลือดแข็งตัว และเกิดโรคหลอดเลือดได้ ไม่ว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ เสี่ยงต่อการไตวาย ซึ่งจะพบได้มากในผู้ป่วยเบาหวานประเภทสอง ผู้ป่วยเบาหวานและไขมันในเส้นเลือดสูงนั้น ก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้ หากมีความตั้งใจที่จะปรับพฤติกรรมตนเองด้วยการกินอาหารที่ดี รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ…
-
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุนั้นจะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยจากสาเหตุสี่ประการได้แก่ 1. ความเสื่อมโทรมลงของอวัยวะซึ่งเป็นไปตามวัย 2. พฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเท่าที่ผ่านมา 3. การเปลี่ยนแปลงไปของเซลล์ภายในร่างกาย 4. ปัจจัยที่ถ่ายทอดกันมากทางพันธุกรรม หลายโรคนั้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกินที่ควรกินให้ครบหมู่ แต่ให้เน้นผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มจัด ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นออกกำลังกายในแบบที่ชอบ เพื่อลดภาวะอ้วนน้ำหนักเกินอันเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังได้อีกหลายโรคไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย การพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐานจึงเป็นมาตรการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย ในผู้สูงอายุนั้นควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้เป็นพิเศษ เช่น สังเกตว่ามีแผลเรื้อรังไม่หายบ้างหรือเปล่า มีปัญหาการกลืนหรือย่อยอาหารหรือไม่ รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ท้องเสีย ท้องผูกเรื้อรังบ้างหรือเปล่า ฯลฯ เหล่านี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดต่อไป โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุนั้นสามารถป้องกันและดูแลตนเองเพื่อลดความรุนแรงได้ อย่างเช่น – โรคไขข้อเสื่อม ควรดูแลไม่ให้น้ำหนักมากเกินจนไปส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเกิน หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรง ทนุถนอมข้อเข่าให้มาก ๆ อย่างเคลื่อนไหวร่างกายหรือบิดข้อมากเกินไป ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สบาย หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเพื่อลดการแรงกระทำต่อข้อ ป้องกันการหกล้มด้วยการฝึกเดินหรือใช้เครื่องพยุงร่างกาย ปรับสภาพแวดล้อในบ้านด้วยการทำพื้นไม่ให้ลื่น…