Tag: ไขมัน
-
เทคนิคการเลือกทานอาหารไขมันน้อย สุขภาพดี
เทคนิคการเลือกทานอาหารไขมันน้อย สุขภาพดี อาหารหมวดที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพหมวดหนึ่งที่ร่างกายจะขาดเสียมิได้เลยก็คือ “ไขมัน” นั่นเป็น เพราะเป็นสารอาหารที่สร้างความอบอุ่นและให้พลังงานกับร่างกาย มีคุณสมบัติช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้ ได้แก่ วิตามิน A, D, E และ K โดยในอาหารแทบทุกชนิดนั้นมีไขมันเป็นส่วนประกอบอยู่แล้ว จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ชนิดของอาหาร พบได้ทั้งในพืชและในสัตว์ แต่การทานอาหารของคนไทยนั้น ทานไขมันมากกว่าในอดีตกันมากและยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกด้วยในอนาคต ผลกระทบก็คือทำให้มีรูปร่างอ้วน น้ำหนักเกิน มีโรคอื่น ๆ ตามมามากมาย อันตรายต่อชีวิตแทบทั้งนั้น การเลือกทานอาหารจึงควรจำกัดปริมาณของไขมันในแต่ละมื้อและแต่ละวัน โดยอย่างมากให้ร่างกายรับพลังงานจากไขมันไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมด ไขมันในอาหารแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ก็คือ ไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัว โดยมาก ไขมันอิ่มตัวจะพบได้ในเนื้อสัตว์ เครื่องใน หนังสัตว์ เนย ฯลฯ ส่วนคอเลสเตอรอลจะมีในเนื้อสัตว์แทบทุกชนิดชนิด รวมไปถึงเครื่องใน ไข่แดง ปลาหมึก อาหารทะเล หอยนางรม เมื่อทานมากเกินความจำเป็นก็จะทำให้ระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ทำให้เกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ เทคนิคในการเลือกอาหารที่มีไขมันต่ำเพื่อสุขภาพที่ดีก็ได้แก่ – ทานเนื้อสัตว์ที่ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ทานหนัง เลี่ยงการทานหนังหมู…
-
เลือกกินน้ำมันอย่างไรให้ปลอดภัย
เลือกกินน้ำมันอย่างไรให้ปลอดภัย เพราะการโฆษณาทั้งสื่อทีวีและโทรทัศน์นั้นมีผลต่อการกินอยู่ของเราคนไทยมาก สินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหลายจึงได้นำเอาคอนเซปท์ในเรื่องของคำว่า “เพื่อสุขภาพ” เข้ามาเป็นดึงดูดใจ เช่น น้ำมันพืชที่ไม่มีคอเลสเตอรอล เป็นต้น อาจทำให้คนที่รับชมโฆษณเข้าใจว่าพอไม่มีคอเลสเตอรอลแล้ว สามารถทานเท่าไรก็ได้ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ แต่ความจริงแล้วนี่เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะการเลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารรวมทั้งการเลือกทานอาหารนอกบ้าน ล้วนเป็นปัจจัยในการควบคุมคอเลสเตอรอลทั้งสิ้น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้แนะนำให้คนเราควรกินไขมันที่ดีต่อสุขภาพ โดยได้พลังงานจากไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมดในแต่ละวัน โดยได้จากกรดไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ 10 สำหรับผู้ที่มีร่างกายปกติ และไม่เกินร้อยละ 7 สำหรับคนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หรือหากจะคิดให้ง่ายเข้าก็คือทานน้ำมันได้ไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวันนั่นเอง ดังนั้นการเลือกน้ำมันสำหรับปรุงอาหารควรเลือกใช้ดังนี้ – น้ำมันสำหรับการปรุงที่ใช้อุณหภูมิสูง เช่น การผัดไฟแรง การทอด ควรเลือกใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดชา และน้ำมันดอกคำฝอย – น้ำมันสำหรับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนไม่สูงนักแนะนำเป็น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันดอกทานตะวัน – และน้ำมันสำหรับการปรุงอาหารที่ผ่านความร้อน หรือผ่านความร้อนต่ำ ควรเลือกใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว และเนย แม้บนฉลาดของน้ำมันจะเขียนว่ามีคลอเลสเตอรอลต่ำ แต่ความจริงแล้วยังไม่ไขมันทรานส์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าไขมันอิ่มตัวเสียอีก ซึ่งควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด้วยเพราะจะไปเพิ่มคอเลสเตอรอลตัวไม่ดี หรือ LDL ให้มากขึ้น…
-
ขนมปังหรือข้าว.. กินอะไรอ้วนกว่ากัน
ขนมปังหรือข้าว.. กินอะไรอ้วนกว่ากัน อ๊ะอ๊ะ สำหรับคนที่กำลังลดความอ้วนกันอยู่คงสับสนไม่น้อยเลยใช่ไหม ว่าทานอะไรแล้วอ้วนกว่ากันระหว่าง “ขนมปัง” กับ “ข้าว” ทั้งที่ก็เป็นคาร์โบไฮเดรตเหมือนกัน ให้พลังงานเท่ากันคือ 4 กิโลแคอรี่ต่อกรัม แต่มีความแตกต่างกันไปในสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน รวมทั้งไฟเบอร์และวิตามินต่าง ๆ ของข้าวแต่ละชนิด และขนมปังแต่ละประเภท รวมไปถึงปริมาณที่ทานเข้าไปด้วยค่ะ ความจริงแล้ว หากนำมาเปรียบเทียบกันด้วยน้ำหนักเที่เท่ากันก็คือ ในปริมาณ 100 กรัมนั้น ข้าวจะให้พลังงาน 140 กิโลแคลอรี่ และขนมปังจะให้พลังงาน 170 กิโลแคลอรี่ การที่ขนมปังให้แคลอรี่สูงกว่าเพราะว่าส่วนประกอบของขนมปังคือ แป้ง น้ำตาล เนย ผลฟูต่าง ๆ จึงสรุปได้ว่า ในปริมาณที่เท่ากันนั้น คุณจะได้รับพลังงานจากขนมปัง มากกว่าข้าวนั่นเอง สาว ๆ ลดน้ำหนักทั้งหลายควรทานข้าวจะดีกว่านะคะ ยิ่งโดยเฉพาะเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ จะได้รับประโยชน์จากสารอาหารมากมายอีกด้วยค่ะ
-
มารู้จักกับอาหารลดคอเลสเตอรอล
มารู้จักกับอาหารลดคอเลสเตอรอล สำหรับคอเลสเตอรอลนั้นก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน ในด้านการเสริมสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่หากมีมากจนเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ถึงแก่ความตายได้ ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้ร่างกายเราได้รับคอเลสเตอรอลสูงเกินไปนั้น ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิต ไขมัน โรคอ้วน ความเค็มหรือเกลือ ความหวานหรือน้ำตาล รวมไปถึงการขาดการออกกำลังกายและความเครียดด้วย แล้วอาหารชนิดใดบ้างที่เราควรทานเพื่อช่วยลดปัญหาคอเลสเตอรอลในร่างกาย 1. ถั่วเมล็ดแห้ง 2. กระเทียมสด 3. ผักผลไม้หลากสี 4. นมพร่องมันหรือ หรือนมขาดมันเนย 5. หลีกเลี่ยงอาหารที่ประกอบด้วยเนื้อแดง 6. ปลาทะเล 7. ข้าวหรือธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง โฮลเกรน 8. ผักสีเขียวเข้ม เช่น ผักคะน้า บร็อกโคลี่ ผักตำลึง ฯลฯ 9. เลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหาร
-
เคล็ดลับง่ายๆ ดูแลหัวใจให้แข็งแรง
เคล็ดลับง่ายๆ ดูแลหัวใจให้แข็งแรง การดูแลสุขภาพของอวัยวะอย่างหัวใจ ที่ต้องทำงานหนักตลอด 24 ชั่วโมงนั้น ไม่ใช่เรื่องยากหรอกค่ะ แค่ใส่ใจให้มากขึ้นอีกนิด ลองดูเคล็ดลับดังต่อไปนี้ค่ะ 1. เลือกทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น เพราะนอกจากจะปราศจากไขมันและคอเลสเตอรอลแล้วยังมีผลการวิจัยชิ้นล่าสุดพบด้วยว่า ผู้ที่ ผู้ที่รับประทานผักปรุงสุกอย่างน้อยวันละ 4 ถ้วย หรือผักสลัด หรือ ผลไม้ 8 ถ้วย เป็นประจำทุกวัน ช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้ 2. ดูทีวีให้น้อยลง มีผลการวิจัยพบว่าผู้ที่ดูทีวีตอนกลางคืนมากกว่า 4 ชั่วโมงขึ้นไปจะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ดูทีวีน้อยกว่าวันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งข้อสันนิษฐานเป็นเพราะว่า การนั่งดูทีวีเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดการอักเสบและมีส่วนทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นได้ สำหรับการดูทีวีให้น้อยลงแล้วคอเลสเตอรอลลดน้อยลงนั้น นั่นเป็นเพราะมีเวลาในการไปทำกิจกรรมอย่างอื่นเพิ่มขึ้น อีกทั้งระหว่างเวลาที่เราดูทีวีเรายังหยิบขนมหรือของว่างกินไม่รู้ตัวอีกด้วย เมื่อดูทีวีน้อยลงก็จะทำให้บริโภคอาหารน้อยลง ไขมันและคอเลสเตอรอลก็จะน้อยลงไปโดยปริยาย เป็นเคล็ดลับที่ง่าย ๆ นะคะ ลองทำตามดูแล้วจะพบว่าคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือดลดลงได้จริง แล้วยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้นอีกด้วยค่ะ
-
ขจัดไขมัน.. สร้างสรรค์สุขภาพดี ๆ
ขจัดไขมัน.. สร้างสรรค์สุขภาพดี ๆ ตั้งแต่ที่การกินแบบชาวตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นเมื่อหลายสิบปีก่อน วิธีการเลือกอาหารการกินของคนไทยก็เริ่มเปลี่ยนไป จากอาหารพื้นบ้านจำพวกน้ำพริก ผักต้ม หรืออาหารประจำภาคอื่น ๆ เริ่มได้รับการสนใจน้อยลง เพราะต้องใช้เวลาในการเตรียมมากกว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดจากตะวันตก ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นไขมันผ่านกรรมวิธีทั้งสิ้น ซึ่งไขมันผ่านกรรมวิธีหรือไขมันทรานส์นี้มาจากส่วนผสมประเภท เนยเทียม มาการีน ครีมเทียม เนย นมหวาน ๆ ซึ่งมาจากการนำไขมันไม่อิ่มตัวมาเติมไฮโดรเจนทำให้มันอิ่มตัวมากขึ้น ทำให้อยู่ในสภาพกึ่งแข็ง ลดโอกาสการเกินออกซิเดชั่น จึงทำให้มีกลิ่นเหม็นหืนได้ง่าย ไขมันดังกล่าวจะทนความร้อนมากขึ้น จึงสามารถปรุงอาหารได้หลาย ๆ รอบ เช่น ทอดซ้ำได้หลาย ๆ ครั้งโดยไม่เหม็นหืน มีรสชาติใกล้เคียงไขมันสัตว์แต่ราคาถูก ผู้ประกอบการส่วนมากจึงมักนำเอาไขมันทรานส์มาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นพวก ไก่ทอด มันฝรั่งทอด โดนัน ครีมเทียม หรือเบเกอรี่ต่าง ๆ แล้วไขมันทรานส์ยังเกิดจากการนำไขมันปกติไปผ่านอุณหภูมิสูงซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง เช่น การทอดซ้ำ ๆ หลายหนได้อีกด้วย สำหรับโทษต่อร่างกายก็เกิดจาก น้ำมันเหล่านี้จะจับตัวเป็นไขที่อุณหภูมิร่างกาย แล้วกลายเป็นไขมันเกาะตามลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หลอดเลือดต่าง ๆ หลังจากนั้นก็จะกลายเป็นคราบน้ำมันที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ พอดื่มน้ำไปได้สักครู่จะต้องไปปัสสาวะ…
-
ผลการศึกษาชิ้นใหม่ เรื่องความอ้วน ทำแพทย์วิตกว่าผู้คนจะไม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ผลการศึกษาชิ้นใหม่ เรื่องความอ้วน ทำแพทย์วิตกว่าผู้คนจะไม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผลการศึกษาล่าสุดเรื่องความอ้วน ของนักวิจัยที่ Centers for Disease Control and Prevention ของสหรัฐ ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมา สรุปว่า การมีน้ำหนักตัวเกินขนาดมาตรฐาน จะไม่ทำให้คนเหล่านี้เสียชีวิตก่อนเวลาอันควร เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีน้ำหนักตัวได้มาตรฐาน ซึ่งดูขัดกับความเห็นก่อนนี้ที่ระบุว่า คนมีน้ำหนักตัวน้อยไป หรือมากเกินไป มีความเสี่ยงที่จะอายุสั้น นักวิจัยวิเคราะห์งานการศึกษา 97 ชิ้น ที่ติดตามดูผู้คนทั่วโลกเกือบสามล้านคน รวมทั้งการเสียชีวิตราวๆ 270,000 ราย เพื่อเปรียบเทียบการเสียชีวิตกับดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) ซึ่งวัดความอ้วนโดยใช้น้ำหนักตัวและความสูงหาค่าออกมา ค่าดัชนีสูงกว่า 18.5 แต่ไม่เกิน 25 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี เข้ามาตรฐาน แต่ผลการศึกษาล่าสุดนี้ พบว่า สำหรับคนที่มี BMI ระหว่าง 25 ถึง 30 โอกาสที่จะเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ต่ำกว่าคนที่มี BMI ได้มาตรฐานถึง 6% ในขณะที่ ผู้ที่มี BMI…
-
นักวิจัยพบว่า สารเคมีในเนื้อแดง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน
นักวิจัยพบว่า สารเคมีในเนื้อแดง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน นักวิจัยอเมริกัน ศึกษาเกี่ยวกับสารกระตุ้นที่ก้อให้เกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน พบว่า สารเคมีที่อยู่ในเนื้อแดงนั้น เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นอกจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลที่ไปอุดตันเส้นเลือดและก่อให้เกิดโรคหัวใจได้ ทีมแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยที่เกี่ยวกับโรคเหล่านี้ แนะนำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจควบคุมปริมาณเนื้อเเดงที่รับประทานให้น้อยลง รวมทั้งเนื้อสเต็กและเนื้อแกะ เนื่องจากไขมันและคอเลสเตอรอลในเนื้อแดงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เพราะในเนื้อแดงยังมี สารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารคาร์นิทีน (carnitine) เมื่อสารเคมีตัวนี้ถูกย่อยโดยเชื้อเเบคทีเรียในลำใส้ จะผลิตสารอีกชนิดหนึ่งออกมาเรียกว่า สาร TMOA เป็นสารที่พบในปริมาณสูงในกลุ่มคนที่นิยมรับประทานเนื้อแดงและเชื่อว่าเป็นสารเคมีที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ทีมนักวิจัยทดลองสารเคมีตัวนี้ในหนูทดลอง โดยการให้หนูทดลองกินอาหารที่มีสาร TMOA ผสมอยู่ในปริมาณสูงเริ่มมีอาการเส้นเลือดอุดตัน และเมื่อทีมนักวิจัยทดลองกำจัดแบคทีเรียในลำใส้ของหนูที่ทำหน้าที่ย่อยสารคาร์นิทีนให้เป็นสาร TMOA หนูทดลองเริ่มหายจากอาการเส้นเลือดอุดตัน สารคาร์นิทีนพบในปริมาณต่ำในเนื้อปลาและเนื้อไก่ และยังพบในผักบางชนิดและข้าวสาลี ตลอดจนในคนที่รับประทานเม็ดอาหารเสริม คุณไซเดซ กล่าวว่ายังเร็วเกินไปที่จะเเนะนำให้คนหลีกเลี่ยงอาหารอื่นๆที่มีสารคาร์นิทีนนอกเหนือไปจากเนื้อแดง