Tag: โอวาเล่
-
เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย
เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย ไข้มาลาเรีย นั้นเกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม ซึ่งทำให้เกิดโรคได้คนได้มีอยู่ 4 ชนิดดังนี้คือ – ฟัลซิปารัม – ไวแวกซ์ – มาลาเรียอี – โอวาเล่ ซึ่งเชื้อมาลาเรียที่พบบ่อยในเมืองไทยได้แก่สองชนิดแรก เชื้อฟัลซิปารัมอาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วน ไวแวกซ์และโอวาเล่สามารถซ่อนตัวอยู่ในตับได้นาน และกลับออกมาสู่กระแสเลือดทำให้เป็นโรคได้อีก แห่งของเชื้อไข้มาลาเรียนี้จะอยู่ตามชายแดน ภูเขาสูง ป่าทึบ แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำธาร เพราะเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง พบมากในจังหวัด ตราด ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ชุมพร ซึ่งติดต่อได้ด้วยยุงก้นปล่องเป็นพาหะมากัดคน อาการของผู้ป่วยไข้มาลาเรียนั้นจะปรากฏออกมาหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-2 อาทิตย์ โดยจะมีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร หนาวสั่น ไข้สูงเหงื่อออก ซึ่งจะพบได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น การตรวจวินิจฉัยจะทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ ไข้มาลาเรียนี้เป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการรักษาที่รวดเร็วและรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพตรงตามเชื้อ การป้องกันตัวเองเมื่อต้องเข้าไปในแหล่งที่มีการระบาดของไข้มาลาเรียนั้นควรป้องกันตนเองมิให้ยุงมากัด ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่มิดชิดและควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ ทายากันยุง นอนในมุ้ง…
-
การป้องกันระวัง…ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า
การป้องกันระวัง…ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า แม้ในปัจจุบันนี้โรคไข้มาลาเรียจะพบเห็นได้น้อยลงแล้ว แต่หากเป็นในช่วงฤดูฝนที่ฝนตกชุกอยู่ก็อาจเพิ่มการระบาดของโรคนี้ขึ้นมาได้เหมือนกัน เพราะว่าพาหะของโรคนี้คือยุงก้นปล่องที่จะวางไข่เพาะพันธุ์อยู่ตามป่าเขา และลำธาร เมื่อมีผู้คนเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการเดินทางผ่านหรือการเข้าไปท่องเที่ยว แล้วหากถูกยุงกัดเข้าก็อาจได้รับเชื้อและกลายเป็นโรคไข้มาลาเรียขึ้นได้ ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่านี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวสี่ชนิดได้แก่ ฟัลซิปารั่ม, ไวแว็กซ์, โอวาเล่ และมาลาริอี เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 10-14 วัน แล้วจะมีอาการป่วยเกิดขึ้นคือมีไข้สูงและหนาวสั่น จึงทำให้ชาวบ้านเรียกโรคนี้ว่า ไข้จับสั่น นอกจากจะมีอาการจับไข้แล้ว จะมีภาวะแทรกซ้อนขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ ตัวเหลืองซีด ปัสสาวะดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำ แล้วก็อาจทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเสียชีวิตได้ด้วย ในส่วนของการรักษาโรคมาเลเรียนั้น ก็จะแตกต่างกันไปตามเชื้อแต่ละชนิด จึงจำเป็นต้องตรวจเลือดการเพื่อหาเชื้อแล้วจึงให้ยาทุกครั้ง หากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว การกินยาเพียงไม่กี่วันก็รักษาให้หายขาดได้แล้ว แต่หากรักษาช้าอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่อันตรายได้ ที่น่าเป็นห่วงมากก็คือปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมาเลเรียที่เชื้อดื้อยามากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีเชื้ออยู่แล้วเป็นพาหะไปติดคนอื่น ๆ ได้ เมื่อป่วยแล้วจึงรักษาด้วยยาเดิมไม่ได้ผล ดังนั้นหาเป็นมาลาเรียแล้วจึงไม่ควรหายามากินเอง แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังควรทานยาให้ครบห้ามหยุดก่อน มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาขึ้นได้อีกด้วย แม้จะมียาสำหรับป้องกันล่วงหน้าแต่ก็ไม่ควรกินอยู่ดี เนื่องจากยาไม่มีประสิทธิภาพมากพอแล้วยังอาจเป็นสาเหตุของเชื้อดื้อยาได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการป้องกันยุงกัดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญกว่าในยามที่จำเป็นต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการไปท่องเที่ยว การเก็บของป่า การเดินทางผ่าน ฯลฯ ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทายากันยุงและนอนในมุ้งที่ชุบสารเคมีจะดีที่สุดค่ะ