Tag: โรคไวรัสตับอักเสบ
-
ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี
ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่แล้วคนไทยมักจะคุ้นเคยกับโรคไวรัสตับอักเสบเอ และบี กันมากกว่า โรคไวรัสตับอักเสบซีนะคะ ความจริงแล้วโรคนี้เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบันเลยทีเดียว มีผู้ที่ติดเชื้อนี้ไปแล้วกว่า แปดแสนคน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดผ่านเข็มร่วมกับผู้อื่น เชื้อไวรัสตับอักเสบซีนี้จะอยู่ในเลือดและน้ำคัดหลั่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ติดต่อสู่ผู้อื่นคล้ายโรคไวรัสตับอักเสบบีและเอดส์ ผู้ที่มีกลุ่มเสี่ยงก็ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น การสักหรือการเจาะผิวหนัง การฝังเข็ม การใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ หรือติดต่อจากการทำฟัน รวมไปถึงเพศสัมพันธ์ และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกก็ด้วย ส่วนมากมักจะติดต่อกันทางเลือดมากกว่าทางเพศสัมพันธ์ อาการของไวรัสตับอักเสบซีนี้จะมีอาการ ตัวเหลือง ดีซ่าน ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย บวม มีน้ำในช่องท้อง การจะคัดแยกผู้ป่วยต้องผ่านทางห้องปฏิบัติการเท่านั้นจึงจะทราบ อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะแสดงออกมาหลังจาก 10 ปีผ่านไปแล้ว เข้าสู่ปีที่ 12 จะเริ่มแสดงอาการตับอักเสบเรื้อรังมากขึ้น และเมื่อผ่านไป 30 ปี ตับก็จะถูกทำลายจนมีอาการของตับแข็ง ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะเป็นมะเร็งตับ การดำเนินโรคของโรคนี้จะเป็นไปโดยช้า ๆ ผู้ป่วยไม่เคยรู้ตัวเลยว่ามีโรคนี้ซ่อนอยู่หากไม่ได้ตรวจเลือด มีผู้ติดเชื้ออยู่ประมาณร้อยละ 15-20 ที่หายได้เอง แต่ส่วนใหญ่แล้วหากไม่ได้รับการรักษาก็มักจะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับในที่สุด โรคไวรัสตับอักเสบซีนี้ยังไม่มีไวรัสป้องกันเหมือนไวรัสตับชนิดอื่น…
-
เรื่องควรรู้…ก่อนการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน
เรื่องควรรู้…ก่อนการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน การจะใช้ชีวิตคู่ให้ราบรื่นและมีความสุขนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็จำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจ รวมทั้งปรับตัวเข้าหากัน ดังนั้นทั้งคู่จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวและศึกษาซึ่งกันและกันก่อนแต่งงาน เพื่อให้ชีวิตคู่ที่ทั้งสองเลือกที่จะใช้ชีวิตด้วยกันมีความสุขอย่างยั่งยืนค่ะ อันดับแรกจึงควรศึกษากันและกันก่อนว่ามีความพร้อมมากน้อยขนาดในการอยู่ร่วมกัน ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม พิจารณาว่าการที่เลือกกันและกันนี้ไม่ใช่การเลือกด้วยอารมณ์เท่านั้นแต่เลือกด้วยความเหมาะสมด้วย ประกอบการมีชีวิตคู่จำเป็นต้องมีทุนทรัพย์ที่ใช้ในการสร้างครอบครัว และอันดับสุดท้ายที่ต้องคำนึงก็คือ ควรเข้าตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบความพร้อมในการมีครอบครัว และตรวจว่าทั้งสองฝ่ายมีโรคทางพันธุกรรมหรือโรคอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อชีวิตแต่งงานด้วยหรือไม่ ซึ่งการเข้าตรวจสุขภาพก่อนการมีครอบครัวนี้ก็เพื่อ 1. ตรวจให้แน่ใจว่ามีอาการหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ ที่จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในอนาคตหรือไม่ 2. เพื่อค้นหาความบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อการมีเพศสัมพันธ์และเป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์ 3. ตรวจเลือดเพื่อหาระดับน้ำตาลและความเข้มข้นของเม็ดเลือด ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี โรคเลือดธาลัสซีเมีย รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย 4. ตรวจปอดเพื่อหาความผิดปกติ 5. เพื่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ป้องกันโรคหัดเยอรมันและบาดทะยัก 6. เพื่อให้ทั้งคู่ได้รับคำแนะนำในเรื่องการวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดและความรู้เรื่องเพศ ฯลฯ ชีวิตคู่จริง ๆ ไม่ได้เหมือนในละครเสมอไป ที่พอจบเรื่องก็แฮปปี้เอนดิ้ง แต่จริง ๆ แล้วเป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตอีกแบบหนึ่งต่างหาก หากทั้งคู่พร้อมที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน พร้อมที่จะพบสุขพบทุกข์ด้วยกันและรับผิดชอบเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยกัน รวมทั้งร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ชุมชนและบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป ชีวิตคู่ก็จะมีความสุขร่วมกันไปได้ตลอดรอดฝั่งค่ะ
-
แพทย์เตือนภัยจากสงกรานต์ สาดน้ำเปียกเสี่ยง 5 โรค
แพทย์เตือนภัยจากสงกรานต์ สาดน้ำเปียกเสี่ยง 5 โรค เทศกาลสงกรานต์ นับเป็นเทศกาลแห่งความสุขของคนไทย ส่วนมากคนไทยมักจะกลับไปกราบไหว้ รดน้ำดำหัว ผู้ใหญ่ เพราะถือเป็นวันปีใหม่ของไทย และยังเป็นเทศกาลเล่นน้ำคลายร้อนอย่างสนุกสนาน แต่จะรู้หรือไม่ว่า มีอันตรายจากโรคต่างๆ ที่จะตามมาทีหลังได้จากการเล่นน้ำสงกรานต์ แล้วยิ่งเป็นน้ำที่ไม่สะอาดด้วยแล้วหละก็ ยิ่งไปตัวนำของโรคที่จะเข้าสูร่างกายเราได้ผ่าน ทาง ตา หู จมูก ปาก หรือแม้กระทั่งการสัมผัส ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสต่างๆ ยิ่งในช่วงอากาศร้อนอบอ้าวด้วยแล้ว ความเสี่ยงในการเกิดโรคก็ยิ่งมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น เรามาดูกันดีกว่าว่าโรคอะไรบ้างที่มากับอากาศร้อนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเตรียมตัวในการรับมือได้อย่างถูกวิธี 1.โรคอาหารเป็นพิษ โรคท้องร่วง โรคอหิวาตกโรค โรคไวรัสตับอักเสบเอ เนื่องจากในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงที่อากาศร้อนและแห้งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคโดยเฉพาะแบคทีเรียส่งผลให้อาหารที่ทำออกมารับประทานนั้นอาจบูดเสียได้ง่าย โดยเฉพาะพวกแกงที่มีส่วนผสมของกะทิหรือนมด้วยแล้ว รวมถึงการทานอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาดปนเปื้อนเชื้อโรค อาจทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แต่หากมีภาวะขาดน้ำรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะช็อค หมดสติ และเสียชีวิตได้ 2.โรคไข้หวัดและปอดอักเสบ เนื่องจากการเล่นน้ำสงกรานต์ทำให้ร่างกายเปียกชื้นเป็นเวลานาน ยิ่งในต่างจังหวัดมีการเล่นติดต่อกันตั้งแต่เช้าถึงเย็นด้วยแล้ว ควรต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำและในกลุ่มเด็ก ไม่ควรสาดแรงจนเกินไปอาจทำให้สำลักน้ำ จนกลายเป็นที่มาของโรคปอดอักเสบได้ หากรู้สึกมีไข้หรือไม่สบายควรงดเล่นน้ำทันที เพราะจะทำให้อาการยิ่งรุนแรงมากขึ้น 3.โรคตาแดง เป็นอีกโรคที่พบบ่อย เมื่อเราเล่นน้ำแล้วน้ำที่ไม่สะอาดที่มีเชื้อโรคปะปน เช่น น้ำในคลอง น้ำบาดาล หากน้ำกระเด็นเข้าตาและมือเราที่ไม่สะอาดอาจไปขยี้ตาก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบบวมแดงขึ้นมาได้ ถ้ามีอาการเคืองตา…