Tag: โรคไมเกรน

  • ความรู้เกี่ยวกับโรคไมเกรน หรือโรคลมตะกัง

    ความรู้เกี่ยวกับโรคไมเกรน หรือโรคลมตะกัง

    ความรู้เกี่ยวกับโรคไมเกรน หรือโรคลมตะกัง สาเหตุของโรคไมเกรน หรือโรคลมตะกัง นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ทุกครั้งที่อาการกำเริบจะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดและประสาทบนใบหน้า ทำให้หลอดเลือดภายในกะโหลกศรีษะหดตัว แต่หลอดเลือดภายนอกศีรษะ พองตัว ประสาทไวมากขึ้น จึงมีอาการปวดศรีษะและอาการอื่น ๆ ตามมา กว่าร้อยละ 70 นั้นโรคนี้จะถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย สาเหตุหรือปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบ มักจะมีอาการปวดหัวเป็นครั้งคราว และทุกครั้งจะมีการกระตุ้นล่วงหน้าเป็นชั่วโมงถึงสองวันเสมอ ผู้ป่วยควรสังเกตตัวเองว่ามีสาเหตุกระตุ้นอะไรบ้าง ซึ่งอาจมีมากกว่าแค่หนึ่งอย่าง ตัวกระตุ้นก็อาทิ แสงแดด แสงจ้า แสงระยิบระยับ หรือการใช้สายตานาน ๆ เสียงดัง เสียงจอแจต่าง ๆ , กลิ่นฉุน ควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอม , อาหารบางชนิด เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ช็อกโกแลต กล้วยหอม ชูรส น้ำตาลเทียม แอลกอฮอล์ กาแฟ ยาคุมกำเนิด ยานอนหลับ, อากาศที่ร้อนจัด เย็นจัด หิวจัด อิ่มจัด อดนอน หรือนอนมากเกินไป รวมไปถึงความเครียด…

  • ดูแล…อาการปวดศีรษะด้วยตัวคุณเอง

    ดูแล…อาการปวดศีรษะด้วยตัวคุณเอง

    ดูแล…อาการปวดศีรษะด้วยตัวคุณเอง การปวดศีรษะเป็นอาการป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พบเห็นได้บ่อย ๆ อยู่แล้ว ซึ่งสามารถก็ได้แก่ การใช้สายตานานและมากเกินไป นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดหรือมีปัญหาจากไมเกรน ซึ่งการดูแลอาการปวดศีรษะเหล่านี้แบบเบื้องต้นก็คือการให้ยาหม่องทาถูกนวดบริเวณจุดที่ปวด หากยังไม่หายดีก็ให้ทานยาพาราเซตามอลตามขนาด แล้วหากยังไม่หายขาดก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที แต่หากเป็นอาการปวดหัวที่เกิดจากความเครียดควรผ่อนคลายตัวเองลง แล้วหาทางพักผ่อน อาจเป็นการทำจิตใจให้ผ่อนคลาย นอนหลับให้เพียงพอ อาบน้ำสบาย ๆ แล้วพักผ่อนก็จะช่วยได้ด้วย หรือในบางกรณีอาจปรึกษานักจิตวิทยาเพื่อช่วยกันหาทางออกก็ได้ สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน ซึ่งก็ไม่มีอันตรายร้ายแรงมาก โรคปวดหัวไมเกรนนี้มักเกิดกับผู้ท่มีอายุตั้งแต่ 15-55 ปี โดยเริ่มปวดครั้งแรกเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยทำงาน โดยเริ่มจากตาพร่า เวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ แล้วจะจะปวดตุบ ๆ ตรงขมับข้างเดียวหรือสองข้าง และจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ระยะเวลาการปวดอาจนานเป็นชั่วโมงหรือนานถึง 1-2 วัน อาจเป็น ๆ หาย ๆ ตามสิ่งที่กระตุ้น ซึ่งหากท่านมีอาการไมเกรนควรดูแลตนเองดังต่อไปนี้ 1. เมื่อเริ่มปวดหัว ให้ทานยาพาราเซตามอลทันที 1-2 เม็ด เพราะหากปล่อยไว้เกินครั้งชั่วโมง ยาแก้ปวดจะใช้ไม่ได้ผล เมื่อทานยาแล้วควรทานพักในห้องเย็น ๆ…

  • ผู้ป่วย “ไมเกรน” ระวังอาหารดังต่อไปนี้

    ผู้ป่วย “ไมเกรน” ระวังอาหารดังต่อไปนี้

    ผู้ป่วย “ไมเกรน” ระวังอาหารดังต่อไปนี้ คนที่มีโรคประจำตัว อย่างโรคไมเกรนนี่ จำเป็นต้องระวังการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่าคนทั่วไป ยิ่งโดยเฉพาะอาหารแล้ว หากทานไม่ระวังอาจทำให้ร่างกายได้รับสารไทรามีน และ ไนไตรต์ เข้าไป เมื่อร่างกายได้รับปุ๊บก็จะทำให้ระบบประสาทและหลอดเลือดหดตัวทันที จึงปวดหัวจี๊ดขึ้นมาอย่างฉับพลัน ดังนั้นจึงควรระวังอาหาร 5 ชนิดนี้ไว้ค่ะ 1. กุนเชียงและเนื้อหรือหมูแดดเดียว เพราะสีแดง ๆ ของอาหารทั้งสองชนิดนี้จะเติมดินประสิวลงไปด้วย และในดินประสิวนี่แหล่ะมีสารไนไตรต์ผสมอยู่เยอะมาก ดังนั้นจึงทำให้คุณปวดหัวจี๊ดได้ทันที 2. ช็อกโกแลต คนเป็นไมเกรนทานแล้วปวดหัวทุกที แต่ทันทีสามารถทานช็อกโกแลตขาวได้ ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นนมมากกว่านั่นเอง 3. แอสปาแทม หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีผลการสำรวจมากว่าคนที่เป็นไมเกรนมักจะปวดหัวเมื่อกินสารชนิดนี้เข้าไป 4. ไวน์แดง มีไทรามีและไนไตรต์สูงมาก ดังนั้นหลีกเลี่ยงจะดีกว่า 5. ลูกชิ้นเด้งดึ๋ง ก็มีมากเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ทุกร้านที่เติมสารบอแร็กซ์ที่ทำให้ลูกชิ้นเด้งดึ๋ง นอกจากทำห้ปวดศีรษะแล้ว ยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วยค่ะ ระวังไว้ก่อนจะดีกว่านะคะ จะได้ไม่ปวดหัวจี๊ดค่ะ

  • อาการของโรคไมเกรน!

    อาการของโรคไมเกรน!

    อาการของโรคไมเกรน! ไมเกรนเป็นโรคปวดหัวอย่างหนึ่งทีเกิดจากระบบประสาทส่วนกลางที่ทำหน้าที่รับรู้ทำงานมากกว่าปกติ  ส่วนใหญ่อาการปวดหัวของคนที่เป็นโรคไมเกรนค่อนข้างจะจำเพาะ ปวดศีรษะข้างเดียว ปวดตุบ ๆ หรืออาจสลับไปมาระหว่างสองข้างได้ ระยะเวลาการปวดกินเวลาหลายชั่วโมงถึงเป็นวัน  สำหรับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคไมเกรนก่อนอื่นก็ต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์ก่อน ว่าอาการปวดหัวนั้นมีสาเหตุมาจากอย่างอื่นหรือเปล่า  ซึ่งหากสงสัยก็อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติม อาจจะเป็นการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถ้าไม่ได้เป็นโรคอื่นจริง ๆ และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไมเกรนจริงก็สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยา