Tag: โรคไตเรื้อรัง
-
ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง
ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังก็คือ สภาวะของไตที่ถูกทำลาย ทำให้ไตทำงานได้ลดลง โดยสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรังก็ได้แก่โรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต ฯลฯ ซึ่งโรคไตจะมีอาการแย่ลงหรือทรุดลงทีละน้อยโดยผู้ป่วยไม่ค่อยรู้ตัว บางคนไม่เคยทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นจนอาการแย่แล้ว ดังนั้นควรได้รับการตรวจและรักษาแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้โรคไตเรื้อรังคงตัวและหายได้ แต่หากปล่อยไว้ไม่ตรวจหรือรักษาก็อาจนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป จำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดหรือผ่าตัดเปลี่ยนไต โรคไตเรื้อรังนี้มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พันธุกรรมของคนในครอบครัว อายุที่มากขึ้นทำให้ไตเสื่อมสภาพลง เป็นคนที่อ้วนหรือเป็นโรคอ้วน และสูบบุหรี่ หากท่านอยู่ในข่ายดังกล่าวนี้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อหาค่าครีเอตินิน เพื่อนำเอาผลมาประเมินค่าการทำงานของไต ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด หากได้ค่าการทำงานของไตต่ำก็อาจทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้ดังเดิม สูญเสียหน้าที่ในการกำจัดของเสียในร่างกายออกไป สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังนั้น เริ่มแรกอาการอาจไม่รุนแรง อาจมีอาการได้แก่ อ่อนแรง สมองตื้อ เบื่ออาหาร นอนไม่ค่อยหลับ ผิวคันและแห้ง เป็นตะคริวเวลากลางคืน เท้าและข้อเท้าบวม ตาบวมน้ำ โดยเฉพาะในตอนเช้า ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในเวลากลางคืน หากท่านพบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงและมีอาการของโรคดังกล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว ควรรีบไปขอรับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาและคงอาการไว้ก่อนที่โรคไตเรื้อรังจะดำเนินไปถึงระยะรุนแรง ที่อาจทำให้ไตสูญเสียสมรรถภาพการทำงานไปอย่างถาวรได้ค่ะ
-
6 สัญญาณเตือนโรคไต
6 สัญญาณเตือนโรคไต หากร่างกายของท่านส่งสัญญาณเตือนหกประการออกมาเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเป็นโรคไตได้ 1. ถ่ายปัสสาวะขัดหรือถ่ายปัสสาวะลำลาก ท่านมีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะและอาจเป็นโรคไตด้วยก็ได้ 2. ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะในตอนกลางคืน โดยปกติกระเพาะปัสสาวะคนเราจะสามารถเก็บกักไว้ได้ประมาณหนึ่งแก้ว จึงไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางดึก แต่คนที่เป็นโรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถดูดน้ำกลับเข้าร่างกายได้ตามปกติ กลางคืนจึงปวดปัสสาวะมาก ทำให้ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ แต่หากท่านดื่มน้ำเป็นปกติก่อนนอนครั้งละ 1-2 แก้วแล้ว การลุกขึ้นมาปัสสาวะอาจไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่หากมากกว่านี้หรือไม่เคยเป็นมาก่อนควรรีบปรึกษาแพทย์ค่ะ 3. ปัสสาวะสีเลือด หรือสีน้ำล้างเนื้อ หรือขุ่นผิดปกติ แสดงว่าอาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ อาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีนิ่ว ไตอักเสบหรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะเป็นต้น 4. บวมรอบดวงตา หน้า เท้า มักพบได้ในคนที่เป็นโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ส่วนอาการบวมที่พบได้ไตเรื้อรังคือบวมที่หลังเท้าและหน้าแข็ง ถ้าเป็นมากจะกดแล้วเป็นรอยบุ๋มลงไป 5. ปวดเอว ปวดหลัง มักมีสาเหตุมาจากมีนิ่วอยู่ในไต หรือในท่อไต อาการปวดเกิดจากการอุดตันของท่อไตหรือ ไตเป็นถุงน้ำพองออกมา จะปวดที่บริเวณบั้นเอวหรือชายโครงด้านหลัง มักปวดร้าวลงไปที่ท้องน้อย ขาอ่อน และอวัยวะเพศ และตามมาด้วยปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อหรือขุ่นขาว กะปริบกะปรอย หรือปวดหัวเหน่ารวมด้วย หากหมอเคาะที่หลังเบา ๆ จะปวดมากจนสะดุ้ง…
-
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย มีคนจำนวนไม่น้อยไม่ทราบว่าทำไมตนจึงเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายได้ แต่คนที่เป็นโรคที่อาจเกิดความเสี่ยงไตวายนั้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อรับยาเป็นประจำตามที่หมอพยาบาลแนะนะ ก็คงจะปลอดจากโรคไตได้ แต่ก็มีบางท่านที่สุขภาพแข็งแรงมาก ซ้ำยังเป็นนักกีฬา ไม่เคยเจ็บป่วยมาก่อน ฯลฯ ไม่ได้แปลว่าท่านจะไม่ได้ป่วย ท่านอาจมีโรคไตซ่อนอยู่ในตัวก็ได้ ทางที่ดีควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ดีกว่าค่ะ 1. ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ด้วยการตรวจหาระดับครีอะตินีนด้วย ซึ่งจะบอกได้ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ หากมีความผิดปกติก็แพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำและตรวจเพิ่มเติมส่วนอื่น ๆ ด้วย 2. ดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ 3. งดการสูบบุหรี่ และลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ หลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิดด้วย 4. หากร่างกายแสดงสัญญาณเตือน ก็ควรรีบไปหาหมอเพื่อการตรวจ 5. ระวังอย่าให้ท้องเสีย เพราะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการท้องเสียโดยเฉพาะถ่ายเป็นน้ำมาก ๆ จะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว จึงเกิดอาการไตวายเฉียบพลันต้องล้างไต แต่บ่อยครั้งที่ไตไม่ฟื้นอีกเลยผู้ป่วยต้องล้างไตไปตลอดชีวิต 6. อย่าซื้อยากินเอง 7. อย่ากินยาซ้ำซ้อน บางท่านไปหาหมอหลายคลินิกก็ได้ยาแก้ปวดคล้ายๆ กันมาหลายยี่ห้อ กินเข้าไปพร้อมกันจะเกิดผลเสียอย่างร้ายแรง และอย่าเก็บยาเก่าไว้กิน ยกเว้นได้นำไปให้หมอตรวจดูแล้วบอกว่ากินต่อไปได้เท่านั้น 8. อย่าหลงคำโฆษณาด้วยการกินอาหารเสริม บางอย่างมีเกลือผสมอยู่มากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ หากไม่ต้องการเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย…